• คลังความรู้
  • /
  • Way Forward
  • /
  • Way Forward 2020 ครั้งที่ 10 : เปิดโลกการศึกษาจีน #เรียนที่จีนอย่างไรให้ปั้ง (bang)

Way Forward 2020 ครั้งที่ 10 : เปิดโลกการศึกษาจีน #เรียนที่จีนอย่างไรให้ปั้ง (bang)

สรุปถอดความ Way Forward 2020 ครั้งที่ 10 เปิดโลกการศึกษาจีน  #เรียนที่จีนอย่างไรให้ปั้ง

เรียนที่จีนอย่างไรให้ปั้ง ( : ยอดเยี่ยม)

  1. สร้างเครื่องมือสื่อสาร การเรียนรู้ทักษะภาษาใหม่ ๆ ทำให้ได้สร้างโอกาสการเรียนรู้ที่มากขึ้น เช่น วิถีคิด วัฒนธรรม และมิตรภาพ
  2. การปรับตัวอย่างจีน  แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การกินอยู่ การสวมใส่ และการเป็นอยู่ เช่น คนจีนนิยมกินร้อน การเน้นรักษาดุลยภาพภายใน
  3. ยอมรับวัฒนธรรมต่าง ในแต่ละประเทศมีรากฐานประวัติศาสตร์ นโยบายการปกครอง รวมถึงสภาพภูมิอากาศที่ต่างกัน ไม่ควรตัดสินหรือวิพากษ์ความต่างของวัฒนธรรม
  4. ควรติดตามกระแสจีนกระแสของการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาที่ควรติดตาม

ศัพท์เก่าควรรู้

  • 211工程 (โครงการ 211) โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศ ริ่เริ่มเมื่อปี 1995 มีจำนวนทั้งหมด 112 มหาวิทยาลัย
  • 985工程 (โครงการ 985) โครงการที่ส่งเสริมมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศให้ก้าวไปสู่ระดับโลก ริ่เริ่มเมื่อปี 1998 มีจำนวนทั้งหมด 39 มหาวิทยาลัย

ศัพท์ใหม่ควรติดตาม

  • 双一流 (Double First-Class) โครงการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่งเสริมให้เป็นทั้ง “มหาวิทยาลัยชั้นนำ (First Class University)” และมี “หลักสูตรชั้นนำ (First Class Academic)” ริเริ่มเมื่อปี 2015 มีจำนวนทั้งหมด 42 มหาวิทยาลัย
  • 消灭水课,打造金课แนวคิดการพัฒนาการศึกษา “เฟ้นเอาแต่เนื้อ กรองน้ำทิ้ง”
  1. สร้างปณิธานและแรงจูงใจ การสร้างปณิธานให้สูง จะส่งผลให้แรงจูงใจสูงตาม เช่น การตั้งปณิธานว่า จะสร้างสรรค์งานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อสังคม จะนำความรู้กลับมาพัฒนาชาติ
  • เรียนที่จีนอย่างไรให้จบ1) กำหนดแผนการเรียน 2) ทำความเข้าใจและกำหนดแผนการส่งงานและบทความ 3) ใกล้ชิดอาจารย์ที่ปรึกษา 4) คบเพื่อนชาวจีนในสายและนอกสาย
  • เขียนวิทยานิพนธ์อย่างไรให้จบ1) อ่านงานวิชาการในสายให้มากที่สุด 2) เค้าโครงต้องชัดเจน 3) เขียนอ่านและแก้ต่อเนื่อง 4) หาไอดอลในดวงใจ

การศึกษาในจีนจากประสบการณ์นักเรียนไทย

  • มาตรฐานการศึกษา ปัจจุบันมาตรฐานการศึกษาของประเทศจีนอยู่ในระดับสากล เราควรเตรียมความพร้อมและศึกษาข้อกำหนดในแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) การสอบการสอบวัดคุณสมบัติระดับป.เอก (Qualifying Examination: QE) การตีพิมพ์บทความระหว่างการศึกษา
  • การส่งเสริมนโยบายของภาครัฐรัฐบาลจีนส่งเสริมนโยบายการศึกษา การทำวิจัย อย่างจริงจัง มีงบประมาณด้านการศึกษาที่สูง ทำให้นักศึกษามีเครื่องมือการศึกษาที่ครบครัน
  • เทคโนโลยีที่ทันสมัย นักศึกษาสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลงานวิจัยที่หลากหลาย ห้องแล็บที่ทันสมัย 
  • การไขว่คว้าเพิ่มนอกห้องเรียน ควรศึกษาศัพท์เทคนิคภาษาจีนในสายที่ตัวเองเรียน เพื่อให้เข้าใจการบรรยายในชั้นเรียนและคู่มือการใช้งานของเครื่องมือในห้องแล็บ
  • การช่วยเหลือจากคนรอบตัว ควรใกล้ชิดอาจารย์ที่ปรึกษาและเพื่อนร่วมชั้น เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ เช่น การแบ่งปันข้อมูลหรือเลคเชอร์ ปัญหาระหว่างการทำวิจัย

การปรับตัวของนักเรียนไทย

  • ทักษะภาษาจีน การศึกษาต่อในจีนต้องมีผลสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ระดับ 4 – 6 ถ้าไม่มีพื้นฐานจีนต้องไปเรียนปรับพื้นฐานภาษาจีนก่อนเข้ามหาวิทยาลัย 1 ปี และบางเมืองในจีนมีภาษาท้องถิ่นและสำเนียงที่แตกต่างกัน เราต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถสื่อสารกับคนท้องถิ่นได้
  • การเรียนในมหาวิทยาลัยนักเรียนส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1 เทอมในการปรับตัวให้คุ้นชินกับการเรียนการสอนในจีน
  • ด้านความเป็นอยู่ ปัจจุบันจีนมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีแอปพลิเคชันอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย ระบบคมนาคมที่สะดวกสบายและราคาถูก

โอกาสที่ไทยน่าเรียนรู้จากจีน
1) การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐ
2) ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยที่หลากหลาย
3) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการศึกษา
4) การฝึกฝน (อย่างหนัก) ตั้งแต่เกิด

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]