อาเซียน คู่ค้ารายใหญ่ของกว่างซี 20 ปีซ้อน

ไฮไลท์

  • ปี 2562 เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงยังคงรักษาเสถียรภาพด้านการค้าประเทศไว้ได้ดีอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวภาคการค้าต่างประเทศมีอัตราสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศถึงร้อยละ 11 จุด โดยการค้าต่างประเทศมีมูลค่ารวม 469,470 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 4% (YoY)
  • ในอาเซียน “ไทย” เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 รองจากเวียดนาม การค้าสองฝ่ายมีอัตราขยายตัวสูงถึง 249% โดยเฉพาะการนำเข้าจากไทยมีมูลค่าสูงถึง 28,693 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 5% โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากว่างซีสูงถึง 25,516 ล้านหยวน
  • การค้าต่างประเทศของกว่างซีเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นผลสำเร็จจากการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (Single window) ระบบไร้เอกสาร (Paperless) รวมทั้งการปฏิรูปกลไกการทำงาน เช่น ลดระเบียบขั้นตอนและเอกสาร การนัดหมายเคลียร์สินค้าล่วงหน้า และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินพิธีการศุลกากรและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้แก่ภาคธุรกิจ

สำนักงานศุลกากรหนานหนิง เปิดเผยว่า ในปี 2562 มูลค่าการค้าต่างประเทศของเขตฯ กว่างซีจ้วงรวมอยู่ที่ 469,470 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 14.4% (YoY) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศถึงร้อยละ 11 จุด แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 259,710 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 19.4% และมูลค่าการนำเข้า 209,760 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 8.7% โดยกว่างซีเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าต่างประเทศ 49,950 ล้านหยวน

ข้อสังเกตเกี่ยวกับ “การค้าต่างประเทศ” ของกว่างซีในปี 2562 มีดังนี้

  1. การค้ากับประเทศสมาชิกอาเซียน พบว่า “อาเซียน” เป็นคู่ค้ารายใหญ่ของกว่างซี 20 ปีติดต่อกัน
    • มูลค่าการค้ารวม 233,470 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 3% (YoY) คิดเป็น 49.7% ของมูลค่ารวม
    • “เวียดนาม” เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด มีมูลค่ารวม 175,390 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 3% คิดเป็น 37.4% ของมูลค่ารวม และคิดเป็น 75.1% ของมูลค่าการค้ากับอาเซียน เนื่อจากเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน
    • “ไทย” เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ในอาเซียน มีมูลค่า 31,870 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 5 เท่า แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกไปไทย 3,177 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 72.6% และมูลค่าการนำเข้าจากไทย 28,693 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 293.5% โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากว่างซี 25,516 ล้านหยวน
  1. เมืองสำคัญด้านการค้าต่างประเทศ
    • เมืองสมาชิกในกรอบ “เขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้” 6 เมือง (นครหนานหนิง เมืองฝางเฉิงก่าง เมืองชินโจว เมืองเป๋ยไห่ เมืองฉงจั่ว และเมืองยวี่หลิน) ยังคงเป็นตัวจักรสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการค้าต่างประเทศ มีมูลค่ารวม 398,460 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 3% คิดเป็น 84.9% ของทั้งมณฑล
    • “เมืองฉงจั่ว” เป็นเมืองที่มีมูลค่าการค้าต่างประเทศสูงที่สุดในมณฑล รวม 189,340 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 3% คิดเป็น 40.3% ของทั้งมณฑล ขณะที่เมืองชั้นรอง เช่น เมืองกุ้ยก่างและเมืองเฮ่อโจวมีอัตราการขยายตัวสูงถึงกว่า 40%
  1. รูปแบบการค้าของมณฑลมีแนวโน้มลดการพึ่งพาการค้าชายแดน กล่าวคือ
    • การค้าทั่วไป (ผ่านด่านสากล) มีมูลค่า 165,660 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 2% คิดเป็น 35.5% ของการค้ารวม อัตราขยายตัวโตขึ้นร้อยละ 1.7 จุดจากปีก่อน
    • การค้าชายแดน มีมูลค่า 148,610 ล้านหยวน ลดลง 1% คิดเป็น 31.7% ของการค้ารวม และอัตราขยายตัวหดตัวลงร้อยละ 7.8 จุดจากปีก่อน
    • การค้าผ่านเขตอารักขาศุลกากร (คลังสินค้าทัณฑ์บน) มีมูลค่า 72,030 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว
    • การแปรรูปเพื่อการส่งออกมีมูลค่า 81,270 ล้านหยวน ลดลง 3%
  1. สินค้านำเข้า-ส่งออกที่สำคัญ
    • “เครื่องจักรกลและเครื่องไฟฟ้า” (Mechanical and electrical products) เป็นกลุ่มสินค้าสำคัญในโครงสร้างการนำเข้าส่งออกของกว่างซี มีมูลค่า 199,480 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 7% คิดเป็น 42.5% ของการนำเข้าส่งออกทั้งหมด ส่งผลต่อการเติบโตภาคการต่างประเทศโดยรวมร้อยละ 15.9 จุด แบ่งเป็นการส่งออก 130,180 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 35.3% คิดเป็น 65.3% ของกลุ่มสินค้าดังกล่าว
    • สินค้าส่งออกในกลุ่มสินค้าที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้นมีมูลค่า 62,470 ล้านหยวน ลดลด8% และกลุ่มสินค้าเกษตรมีมูลค่า 13,020 ล้านหยวน ลดลง 6.7% ขณะที่การส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงมีมูลค่า 52,830 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 24.2%
    • สินค้านำเข้าสำคัญยังมีแนวโน้มขยายตัว อาทิ สินแร่เหล็ก สินแร่แมงกานีส สินแร่ทองแดง ขณะที่การนำเข้าถั่วเหลืองมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน

นอกจากความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งและความก้าวหน้าด้านระบบการขนส่งและโลจิสติกส์แล้ว การปฏิรูปการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ (ศุลกากร) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การค้าต่างประเทศของกว่างซีสามารถรักษาระดับการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา สำนักงานศุลกากรหนานหนิงได้เร่งผลักดันการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (Single window) ระบบไร้เอกสาร (Paperless) รวมทั้งการปฏิรูปกลไกการทำงาน เช่น ลดระเบียบขั้นตอนและเอกสาร การนัดหมายเคลียร์สินค้าล่วงหน้า และการนำเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินพิธีการศุลกากรและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้แก่ภาคธุรกิจ

จากข้อมูล พบว่า การดำเนินพิธีการศุลการขาเข้าของด่านในเขตฯ กว่างซีจ้วงใช้เวลาเฉลี่ย 13.08 ชั่วโมง สามารถย่นระยะเวลาลงจากปีก่อนหน้าได้ถึง 41.37% ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั้งประเทศใช้เวลานานถึง 41.4 ชั่วโมง การดำเนินพิธีการศุลกากรขาออกใช้เวลาเพียง 1.51 ชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศที่ใช้เวลา 3.99 ชั่วโมง

โดยเฉพาะที่ด่านทางบกโหย่วอี้กวาน (Youyiguan Border gate/友谊关口岸) ซึ่งเป็นด่านนำเข้าผลไม้หลักที่สำคัญ ได้นำระบบจัดการสารสนเทศอัจฉริยะ (Smart Information System) มาใช้ตรวจสอบรถบรรทุกสินค้าขาเข้าจากฝั่งเวียดนามเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่านด่านให้เหลือเพียงคันละ 30 วินาที จากเดิมที่ใช้เวลาคันละ 5-6 นาที และสามารถตรวจสอบรถสินค้าได้วันละ 1,200-1,633 คัน จากเดิมตรวจสอบได้วันละ 200-300 คัน ช่วยแก้ปัญหารถติดบริเวณด่าน แม้ว่าในช่วงแรกของการนำระบบใหม่มาใช้จะเกิดปัญหาติดขัดบ้างก็ตาม

นอกจากนี้ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานศุลกากร ได้ผลักดันให้เกิดโมเดลการขนส่งแบบต่อเนื่องหลากหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) โดยเฉพาะโมเดล “เรือ+รถไฟ” ที่ด่านท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้ (ท่าเรือชินโจว) ช่วยให้ภาคธุรกิจย่นระยะเวลาการขนส่ง รวมถึงลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมลงเฉลี่ยจาก 8,000 เหลือ 5,000 หยวนต่อตู้เท่านั้น

 

จัดทำโดย นายกฤษณะ สุกันตพงศ์ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
ที่มา เว็บไซต์ www.gx.xinhuanet.com (广西新华网) วันที่ 21มกราคม 2563
      เว็บไซต์ http://nanning.customs.gov.cn (南宁海关)
เครดิตภาพ www.morethanshipping.com

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]