กระทรวงศึกษาธิการ (MOE)

กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(Ministry of Education of the People’s Republic of China – MOE)

ที่อยู่: 37#Damucang Hutong, Xicheng District, Beijing, China, 100816

โทร: (86)-10-66096114, เว็บไซต์: http://www.moe.gov.cn

(1) โครงสร้างผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ

ฮวย จิ้นเผิง (怀进鹏)
– รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
ซุน หยาว (孙尧)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
เวิง เถี่ยฮุ่ย (翁铁慧)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
หวัง เจียอี้ (王嘉毅)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
เฉิน เจี๋ย (陈杰)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
หวัง เฉิงเหวิน (王承文)
– หัวหน้าคณะกรรมการกลางการตรวจสอบและกำกับดูแลวินัยแห่งชาติ ประจำกระทรวงฯ
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
หวู่ เหยียน (吴岩)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ

(2) โครงสร้างองค์กรของกระทรวงศึกษาธิการ

หน่วยงานภายใน

  1. สำนักงานกลาง (General Office)
  2. กรมนโยบายและกฎระเบียบ(Department of Policies and Regulations)
  3. กรมแผนงานพัฒนา (Department of Development Planning)
  4. กรมการปฏิรูป (Department of Comprehensive Reforms)
  5. กรมการบุคลากร (Department of Personnel)
  6. กรมการคลัง (Department of Finance)
  7. กรมตำราแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการตำราเรียนแห่งชาติ) (Department of National Textbook (National Textbook Committee Office)
  8. กรมการศึกษาสามัญ (Department of Basic Education)
  9. กรมการกำกับดูแลการศึกษาและฝึกอบรมนอกมหาวิทยาลัย (Off-campus education and training supervision agency)
  10. กรมอาชีวศึกษาและการศึกษาผู้ใหญ่ (Department of Vocational and Adult Education)
  11. กรมการอุดมศึกษา (Department of Higher Education)
  12. สำนักงานตรวจสอบการศึกษาแห่งชาติ (Office of National Education Inspection)
  13. กรมการศึกษาชนกลุ่มน้อย (Department of Minority Education)
  14. กรมการศึกษาครู (Department of Teacher Education)
  15. กรมการพลศึกษา สุขภาพและศิลปศึกษา (Department of Physical, Health and Arts Education)
  16. กรมการศึกษาแนวคิดการเมือง (Department of Moral Education)
  17. กรมภาควิชาสังคมศาสตร์ (Department of Social Sciences)
  18. กรมภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Department of Science and Technology)
  19. กรมกิจการนักศึกษาวิทยาลัย (Department of College Students Affairs)
  20. กรมการจัดการบัณฑิตศึกษา & การศึกษาหลังปริญญาบัณฑิต (สำนักงานคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาแห่งรัฐ) (Department of Degree Management & Postgraduate Education (Office of the State Council Academic Degrees Committee)
  21. กรมบริหารการประยุกต์ใช้ภาษา (Department of Language Application and Administration)
  22. กรมการจัดการข้อมูลภาษา (Department of Language Information Management)
  23. กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (สำนักงานฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน) (Department of International Cooperation and Exchanges (Office of Hong Kong, Macao and Taiwan Affairs)
  24. สำนักงานตรวจสอบ (Office of Inspections)
  25. คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำกระทรวงฯ (Department of Party Committee)
  26. สำนักงานบุคลากรผู้เกษียณอายุ (Bureau for Retired Personnel)
  27. สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติประจำองค์กรยูเนสโก (Secretariat of National Commission of the People’s Republic of China for UNESCO)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Affiliated Agencies)

  1. ศูนย์บริการกระทรวงศึกษาธิการ (Logistic Service Centre, Ministry of Education)
  2. สำนักงานการศึกษาบัณฑิตแห่งชาติ (National Academy of Education Administration)
  3. สถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Institute of Educational Sciences)
  4. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (National Center for Education Development Research, Ministry of Education)
  5. ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (Research Centre for Social Sciences Development in HEIs, Ministry of Education)
  6. สถาบันกลางเทคนิคและอาชีวศึกษา (Central Institute for Vocational and Technical Education, Ministry of Education)
  7. สำนักงานใหญ่สถาบันขงจื้อ ( Hanban ) (Confucius Institute Headquarters)
  8. ศูนย์พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ (Science and Technology Development Center, Ministry of Education)
  9. สถาบันภาษาศาสตร์ประยุกต์ กระทรวงศึกษาธิการ ( Institute of Applied Linguistics, Ministry of Education (Putonghua and Language Test Centre, National Language Commission)
  10. มหาวิทยาลัยเปิดแห่งชาติ (The Open University of China)
  11. ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาแห่งชาติ (National Centre for Educational Technology (National Resource Centre for Basic Education, Ministry of Education)
  12. สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ (China Education Television)
  13. ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์การศึกษา (Educational Equipment Research & Development Center, Ministry of Education)
  14. ศูนย์การจัดการข้อมูลการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (Education Management Information Centre, Ministry of Education)
  15. สถาบันพัฒนาหลักสูตรและตำรา (Institute for Curriculum and Textbook (National Center for School Curriculum and Textbook Development, Ministry of Education)
  16. สำนักงานเลขาธิการสภาทุนการศึกษารัฐบาลจีน (Secretariat for China Scholarship Council)
  17. ศูนย์กำกับและบริหารกองทุน กระทรวงศึกษาธิการ (Center for Funding Supervision and Management, Ministry of Education)
  18. ศูนย์การศึกษาและพัฒนาชนกลุ่มน้อย (Center for Minority Education and Development, Ministry of Education)
  19. สำนักข่าวการศึกษาจีน (China Education Press Agency)
  20. ศูนย์การสอบแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (National Education Examinations Authority, Ministry of Education)
  21. ศูนย์บริการทุนการศึกษาแลกเปลี่ยน กระทรวงศึกษาธิการ (Chinese Service Centre for Scholarly Exchange)
  22. ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางการเงินนักศึกษาแห่งชาติ (China National Center for Student Financial Aid)
  23. ศูนย์ข้อมูลนักศึกษาะะดับอุดมศึกษาและแนะแนวอาชีพแห่งชาติ (China Higher-education Student Information and Career Center)
  24. ศูนย์พัฒนาบัณฑิตศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (China Academic Degrees & Graduate Education Development Centre, Ministry of Education)
  25. ศูนย์ประเมินการศึกษาระดับอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (Higher Education Evaluation Centre, Ministry of Education)
  26. ศูนย์โครงการพัฒนาการศึกษาโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ (National Center for Schooling Development Program, Ministry of Education)
  27. ศูนย์การแลกเปลี่ยนนานาชาติระหว่างประชาชน (China Center for International People-to-People Exchange, Ministry of Education)
  28. กลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์การศึกษาจีน
  • สำนักพิมพ์การศึกษาเพื่อประชาชน (People’s Education Press)
  • สำนักพิมพ์อุดมศึกษา (Higher Education Press)
  • สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม (Language & Culture Press)
  1. สำนักงานเลขาธิการสมาคมการศึกษาจีนเพื่อการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (Secretariat of China Education Association for International Exchange)
  2. สำนักงานเลขาธิการร่วมของสมาคมกีฬานักเรียน (Joint Secretariat, National Students Sports)
  3. สำนักงานเลขาธิการสมาคมการศึกษาจีน (Secretariat of Chinese Society of Education)
  4. สำนักงานเลขาธิการสมาคมการอุดมศึกษาจีน (Secretariat of Chinese Association of Higher Education)
  5. สำนักงานเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาครูสาธารณรัฐประชาชนจีน (Secretariat of China Teacher Development Foundation)
  6. สำนักงานเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาการศึกษาสาธารณรัฐประชาชนจีน (Secretariat of China Education Development Foundation)

(3) แผนปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาระยะกลางยาวแห่งชาติ ปี 2553 – 2562

ส่วนที่ 1 กลยุทธ์โดยรวม

การปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาตามแผนปฏิรูป 2010 – 2020 สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ที่เป็นผลจากการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสม์จีนครั้งที่ 17 เรื่อง “การจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาและการสร้างประเทศด้วยทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ” ที่มุ่งเน้นส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับคุณภาพของประชาชน เร่งพัฒนาระบบสังคมนิยมให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น

ส่วนที่ 2 การพัฒนาแผนงาน

ด้านการพัฒนาแผนงานทางการศึกษาในแผนฉบับนี้ จำแนกออกเป็น 8 กลุ่มการศึกษา โดยแต่ละกลุ่มมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังต่อไปนี้

  1. การศึกษาระดับปฐมวัย : มุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาของเด็กก่อนวัยเรียนในชนบท
  2. การศึกษาภาคบังคับ : เพิ่มศักยภาพของการศึกษาในระดับการศึกษาภาคบังคับทั้งเก้าปี ส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาภาคบังคับให้มีความเสมอภาค และลดภาระการบ้าน ความเคร่งเครียดของนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น
  3. การศึกษาระดับมัธยมปลาย : เร่งเพิ่มสถานศึกษาช่วงการศึกษาระดับมัธยมปลาย ปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของนักเรียนมัธยมปลายอย่างรอบด้าน และส่งเสริมผลักดันให้โรงเรียนในระดับมัธยมปลายเกิดการพัฒนาที่หลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น
  4. การศึกษาในระบบอาชีวศึกษา : มุ่งเน้นการพัฒนาอาชีวศึกษาอย่างจริงจังเพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด ควบคู่ไปกับการกระตุ้นความกระตือรือร้นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วยนโยบายส่งเสริมผลักดันให้เกิดความร่วมมือในภาคผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการศึกษามากขึ้น นอกจากนี้ยังเร่งพัฒนาการศึกษาสายอาชีพสำหรับพื้นที่ชนบทและพื้นที่การเกษตรเพื่อสร้างและพัฒนาคนให้เข้าสู่ยุคเกษตรกรยุคใหม่ โดยการเพิ่มความน่าสนใจ ดึงดูดใจของการศึกษาระบบอาชีวศึกษา
  5. การศึกษาระดับอุดมศึกษา : พัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างครอบคลุม พัฒนาคุณภาพการฝึกอบรมบุคลากร พัฒนาศักยภาพระดับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพิ่มขีดความสามารถการบริการทางสังคม และปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับความต้องการของเศรษฐกิจและสังคม
  6. การศึกษาต่อเนื่อง : เร่งพัฒนาการศึกษาต่อเนื่องโดยการจัดตั้งและปรับปรุงกลไกของสถาบันเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง และสร้างระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นและเปิดกว้าง
  7. การศึกษาของกลุ่มชาติพันธุ์ : ให้ความสำคัญและสนับสนุนการศึกษาของกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนพัฒนาระดับการศึกษาในกลุ่มชนกลุ่มน้อยและเขตพื้นที่ชนกลุ่มน้อยอย่างครอบคลุม
  8. การศึกษาในกลุ่มเด็กพิเศษ : การดูแลและสนับสนุนการศึกษาในกลุ่มเด็กพิเศษโดยการปรับปรุงระบบการศึกษาในกลุ่มเด็กพิเศษ สร้างกลไกสวัสดิการการประกันการศึกษาในกลุ่มเด็กพิเศษ

ส่วนที่ 3 การปฏิรูประบบ

การปฏิรูปการศึกษาตามแผนปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาระยะกลางและระยะยาวแห่งชาติ 2010-2020 มีการปฏิรูปใน 6 ด้าน ประกอบด้วย

  1. การปฏิรูประบบการปลูกฝัง อบรมพรสวรรค์แก่เด็กผู้มีความสามารถพิเศษ โดยการปรับปรุง เปลี่ยนแนวคิดการฝึกอบรมผู้มีความสามารถพิเศษ พัฒนาเพื่อสร้างโมเดลการฝึกอบรม และปฏิรูประบบการประเมินคุณภาพการศึกษาและระบบการประเมินผู้มีความสามารถพิเศษ
  2. การปฏิรูประบบการสอบเข้า ส่งเสริมการปฏิรูประบบการสอบเข้าโดยปรับปรุงและพัฒนาระบบการสอบเข้าสำหรับโรงเรียนในระดับมัธยม ระดับอุดมศึกษา รณรงค์ให้มีการเปิดเผยข้อมูลและการสอดส่องกำกับดูแลทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
  3. การสร้างระบบโรงเรียนยุคใหม่ ส่งเสริมการแบ่งการบริหารจัดการระหว่างรัฐบาลกับสถานศึกษา เพิ่มความเป็นอิสระให้แก่โรงเรียน พัฒนาระบบมหาวิทยาลัยจีนให้ทันสมัย ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการของโรงเรียนในระดับประถมศึกษาและในระดับมัธยมศึกษา
  4. การปฏิรูประบบโรงเรียน ปฏิรูประบบโรงเรียนให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพิ่มการสนับสนุนสำหรับสถาบันการศึกษาเอกชน ผลักดันการบริหารจัดการสถานศึกษาเอกชนให้เป็นไปตามกฎหมายมากขึ้น
  5. การปฏิรูประบบการจัดการ พัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารจัดการศึกษา เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการงานด้านการศึกษาของรัฐบาลในระดับมณฑล และการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษา
  6. การเปิดกว้างทางการศึกษา เสริมสร้างความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ แนะแนวแหล่งข้อมูลการศึกษาที่มีคุณภาพ ตลอดจนยกระดับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน

ส่วนที่ 4 การประกันระดับมาตรฐาน คุ้มครองระบบการศึกษา

  1. สร้างคณะบุคลากรครูผู้สอนที่มีศักยภาพในการทำงานสูง สร้างทีมครูที่มีศักยภาพในการทำงาน เสริมสร้าง และยกระดับจรรยาบรรณวิชาชีพครู พัฒนาระดับความรู้ความสามารถของครูผู้สอน ยกระดับสวัสดิการครู ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการของครู
  2. การคุ้มครองเงินทุน เพิ่มการลงทุนด้านการศึกษา ปรับปรุงกลไกการลงทุน เสริมสร้างการบริหารจัดการกองทุน
  3. เร่งรัดกระบวนการการให้ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา เสริมสร้างการพัฒนาและการใช้ทรัพยากรการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการการศึกษาแห่งชาติ
  4. การส่งเสริมตามหลักกฎหมาย ปรับปรุงกฎหมายและข้อบังคับด้านการศึกษา ส่งเสริมการบริหารตามข้อกฎหมายอย่างครอบคลุม ผลักดันระบบการบริหารจัดการครู กฎระเบียบของสถาบันการศึกษาให้เป็นไปหลักกฎหมายอย่างจริงจัง ตลอดจนปรับปรุงระบบการควบคุมกลไกความรับผิดชอบ

ส่วนที่ 5 โครงการสำคัญ และประเด็นในการปฏิรูป

แผนปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาระยะกลางและระยะยาวแห่งชาติ 2010-2020 ได้ระบุถึงแผนการจัดการและดำเนินงานในโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา 985 และโครงการมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา 211 นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้มีการจัดสร้างองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการจุดประกายการปฏิรูป เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นผู้นำด้านการศึกษา การเสริมสร้างและปรับปรุงระบบการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างโครงสร้างทางวัฒนธรรมของโรงเรียนและปรับปรุงระบบการจัดการโรงเรียน

ส่วนที่ 6 การดำเนินการ

“แผนปฏิรูปและพัฒนาการศึกษา” เป็นโครงร่างการวางแผนการศึกษาระยะกลางและระยะยาวแห่งแรกสำหรับศตวรรษที่ 21 เนื่องด้วยช่วงระยะเวลาในการนำแผนไปปฏิบัติที่ยาวนานและภาระงานที่หนัก จึงต้องมีการปรับใช้อย่างระมัดระวังและดำเนินการอย่างรอบคอบ การตั้งเป้าหมาย การกำหนดภารกิจที่ชัดเจน และการแบ่งความรับผิดชอบ เพื่อให้มีการดำเนินการตามแผนปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาอย่างมีประสิทธิผล จึงเป็นหน้าที่สำคัญของคณะกรรมการพรรคและรัฐบาลในทุกระดับ รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นตลอดจนหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมดำเนินการตามภารกิจและข้อกำหนดของแผนปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาตามที่กำหนดไว้ทั้งการเสนอแผนการดำเนินงานและการกำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนแผนดังกล่าว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรเสนอแผนและมาตรการดำเนินการในภูมิภาคโดยสอดคล้องตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ หลักการปฏิรูประบบมาตรการสำคัญ และโครงการที่ระบุไว้ในแผนปฏิรูปและพัฒนาการศึกษา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ กำหนดนโยบายสนับสนุนการปฏิบัติและเร่งดำเนินการการปฏิบัติงาน โดยเน้นส่งเสริมการสำรวจและพัฒนานวัตกรรมรวมทั้งเสริมสร้างการกำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนปฏิรูปและพัฒนาการศึกษา เพิ่มการประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เผยแพร่นโยบายออกไปอย่างกว้างขวาง เร่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการศึกษาและการสร้างประเทศให้แข็งแกร่งด้วยการสร้างทรัพยากรมนุษย์

สถานะ : พฤษภาคม พ.ศ.2565

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]