“ฉางอันห้าว” ทุบสถิติขนส่งสู่เอเชีย-ยุโรปกว่า 3,800 เที่ยวในปี 2564

ปี 2564 เป็นปีครบรอบ 8 ปีการเปิดให้บริการของ “ฉางอันห้าว” หรือภายใต้ชื่อใหม่ China Railway Express, Chang’An Hao (中欧班列长安号)  ซึ่งตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2559 “ฉางอันห้าว” ได้กลายเป็นจักรกลสำคัญในการกระตุ้นการค้าระหว่างประเทศของมณฑลส่านซี

ย้อนกลับไปในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (แผนพัฒนาฯ) ฉบับที่ 13 (ปี 2559-2563)เส้นทางการขนส่งสินค้านานาติ “ฉางอันห้าว” มีเที่ยวการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 52 เท่า มีปริมาณสินค้าที่ขนส่งเพิ่มขึ้น 29 เท่าจากในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 มีเส้นทางขนส่งสินค้าหลักรวม 15 เส้นทาง (ไม่รวมเส้นทางย่อยและเส้นทางขนส่งเฉพาะกิจ) ทั้งยังมีความร่วมมือกับท่าเรือขนาดใหญ่ของจีนหลายแห่ง อาทิ ท่าเรือชิงต่าว หนิงโป และเหลียนหยุนก่าง เพื่อเป็นข้อต่อสำคัญของการขนส่งสินค้าไปยังเอเชียกลาง เอเชียใต้ และทวีปยุโรป

กว่า 8 ปีของการดำเนินงาน “ฉางอันห้าว” ได้กลายมาเป็นหนึ่งในเส้นทางหลักของ China Railway Express ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2565 “ฉางอันห้าว” ได้สรุปสถิติการขนส่งในปี 2564 ว่า ได้ทำการขนส่งกว่า 3,800 เที่ยว (11,300 ขบวนโบกี้) บรรทุกสินค้ารวม 2.848 ล้านตัน ขนส่งผ่าน 16 เส้นทางหลักและเส้นทางรองที่ครอบคลุมพื้นที่เอเชีย-ยุโรป “ฉางอันห้าว”นอกจากเป็นฟันเฟืองสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการค้าของมณฑลส่านซีแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางการขนส่งสินค้าทางด้านใต้จากเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียง (Pearl River Delta: PRD), ทางด้านตะวันออกจากเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River Delta Economic Region) และทางด้านเหนือจากเขตเศรษฐกิจจิง-จิน-จี้ (Beijing-Tianjin-Hebei Integration) สู่ยุโรปอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลสัดส่วนสินค้าส่งออกผ่าน “ฉางอันห้าว” ว่า เป็นสินค้าจากนอกมณฑลส่านซีกว่าร้อยละ 75 (จาก 29 มณฑลทั่วประเทศจีน)

การขนส่งสินค้าส่งออกด้วย “ฉางอันห้าว” ในปี 2563-2564

ในปี 2563  “ฉางอันห้าว” ขนส่งสินค้ากว่า 3,720 เที่ยว เพิ่มขึ้นจากปี 2562 กว่า 1.7 เท่า ทำสถิติสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของจีน ปัจจัยหลักที่ส่งเสริมให้ “ฉางอันห้าว เติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็นผลมาจากมาตรการปิดน่านฟ้าของประเทศต่าง ๆ ในช่วงแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีปริมาณการส่งออกสินค้าสูงกว่า 2.81 ล้านตัน สินค้าส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อฯ รวมไปถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง  ในปี 2563 “ฉางอันห้าว” ถือเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทสูงในการกระจายสินค้าส่งออกของจีนไปยังทวีปยุโรป ด้วยจุดเด่นในเรื่องเครือข่ายคลังจัดเก็บสินค้าในต่างประเทศ การเดินรถที่มีจำนวนมาก จึงเป็นข้อได้เปรียบในการเป็นข้อต่อการกระจายสินค้าให้กับเส้นทางขนส่งสินค้าของมณฑลอื่น ๆ ที่ต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศด้วย

ในปี 2564 “ฉางอันห้าว” ขนส่งสินค้ากว่า 3,800 เที่ยว เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 2.15 จำนวนโบกี้ต่อเที่ยวการขนส่ง (Freight Volume Per Train) เพิ่มขึ้นจากเที่ยวละ 41 โบกี้เป็น 50 โบกี้ หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 22 ปริมาณสินค้าที่ขนส่ง 2.848 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.35 โดยมี กลุ่มสินค้าส่งออกหลัก เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อฯ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เครื่องนุ่งห่มและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ลิฟต์บรรทุกผู้โดยสาร แผงโซลาร์เซลล์ รถยนต์ประกอบสำเร็จและชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ ส่วน สินค้านำเข้า เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก นมผงทารก รถยนต์ประกอบสำเร็จ และเนื้อสัตว์แปรรูปจากยุโรปมายังนครซีอาน เพื่อกระจายส่งต่อไปยังมณฑลอื่น ๆ

นอกจากนี้ ในปี 2564 “ฉางอันห้าว” ยังได้ต่อยอดการขนส่งทางรางไปสู่การขนส่งหลากหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) โดยผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่

ช่องทาง

การขนส่ง

รายละเอียดเส้นทาง

1. การขนส่งสินค้าทางราง ใน 3 เส้นทางหลัก  

 

1.  นครซีอาน ยุโรแต่ละเส้นทางสามารถเลือกผ่านด่านชายแดนจีนได้ 2 แห่ง คือ ด่านอาลาซาน หรือด่านฮั่วเอ่อร์กั่วซือ (Horgos Port) ได้ 2 แห่ง คือ ด่านอาลาซาน หรือด่านฮั่วเอ่อร์กั่วซือ (Horgos Port) เขตฯ ซินเจียงอุยกูร์ เพื่อเดินทางออกไปยังประเทศปลายทางในทวีปยุโรป)

“ ฉางอันห้าว” เส้นยุโรปข้างต้น ได้รับการยอมรับว่า เป็นกลไกส่งเสริมการขนส่งสินค้าสู่ยุโรปที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในจีน ด้วย “5 ของที่สุด ( 5 Most)” ได้แก่ 1. ขนส่งทางรางสู่ยุโรปเร็วที่สุด (the fastest time efficiency) 2. เครือข่ายทั่วถึงมากที่สุด (the widest route radiation)  3. ระบบติดตามการขนส่งอัจฉริยะฉลาดที่สุด (the highest degree of intelligence)  4. ต้นทุนค่าขนส่งย่อมเยาที่สุด (the lowest comprehensive cost) และ5. ฟังก์ชันรูปแบบการให้บริการครบครันที่สุด (the most complete service functions)

2.  นครซีอาน เอเชียกลาง/ตะวันตกและใต้

แต่ละเส้นทางสามารถเลือกผ่านด่านชายแดนได้ 3 แห่ง คือ ด่านอาลาซาน ด่านฮั่วเอ่อร์กั่วซือ (Horgos Port) เขตฯ ซินเจียงอุยกูร์ ไปยังประเทศปลายทางในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก หรือส่วนต่อขยายด่านชายแดนจี่หรง Gyirong เขตฯ ทิเบตไปยังประเทศปลายทางในเอเชียใต้ ได้แก่ เนปาลและอินเดีย

3.  นครซีอาน รัสเซีย/เบลารุส และยูเครน

จากนครซีอานสามารถขนส่งผ่านด่านชายแดน 2 แห่ง คือ ด่านมานโจวลี และด่านเอ้อเหลียน (Erenhot) ของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ไปบรรจบยังเมืองอูลัน-อูเด เมืองหลวงของรัฐ Buryatia ในรัสเซีย ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งกระจายสินค้าต่อไปยังประเทศปลายทาง

2. การขนส่งหลากหลายรูปแบบ (โดยใช้การขนส่งทางรางและทางทะเลเป็นหลัก)

 

มี 2 เส้นทางหลัก ได้แก่

1.  นครซีอานเมืองหนิงปัว มณฑลเจ้อเจียง

2. นครซีอานเมืองชิงต่าว มณฑลซานตง

ทั้งสองเส้นทางข้างต้น ทดลองเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ผ่านความร่วมมือกับท่าเรือพันธมิตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการส่งออกสินค้าจากพื้นที่ตอนในของประเทศจีน สู่ประเทศบนแถบเส้นทางสายไหมทางทะเล และเปิดใช้อย่างเป็นทางการอย่างต่อเนื่องในปี 2563

3. การขนส่งสินค้าทางรางจากเมืองรอง/ต่างเมือง ปัจจุบันการขนส่งสินค้าทางรางจากเมืองรอง/ต่างเมือง โดยใช้ “ฉางอันห้าว” เป็นข้อต่อสำคัญในการขนส่งไปยังเอเชียกลาง/ตะวันตก และยุโรป เปิดให้บริการ 15 เส้นทาง ได้แก่

1.  ยวีซีโอว (榆西欧) จากเมืองยวีหลิน มณฑลส่านซี

2.  ฮั่นซีโอว (汉西欧) เมืองฮั่นจง มณฑลส่านซี

3.  เว่ยซีโอว (渭西欧) เมืองเว่ยหนาน มณฑลส่านซี

4.  อันซีโอว (安西欧) เมืองอันคัง มณฑลส่านซี

5.  ถังซีโอว (唐西欧) เมืองถังซาน มณฑลเหอเป่ย

6.  หย่งซีโอว (永西欧) เมืองหย่งจี้ มณฑลชานซี

7.  สวีซีโอว (徐西欧) เมืองสวีโจว มณฑลเจียงซู

8.  ฉางซีโอว (常西欧) เมืองฉางโจว มณฑลเจียงซู

9.  เปิ้งซีโอว (蚌西欧) เมืองเปิ้งปู มณฑลอันฮุย

10.  อู๋ซีโอว (芜西欧) เมืองอู่หู มณฑลอันฮุย

11  เซี่ยซีโอว (厦西欧) เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน

12.  ล่างซีโอว (朗西欧) สถานีขนถ่ายสินค้าต้าล่าง นครกว่างโจว

13.  กุ้ยซีโอว (贵西欧) นครกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว

14.  ลั่วซีโอว (洛西欧) เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน

15.  หยวนซีโอว (宛西欧) เมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน

ทั้ง 15 เส้นทางข้างต้น สามารถขนส่งสินค้าผ่านไปยัง 5 ด่านชายแดนของจีน คือ ด่านอาลาซาน ด่านฮั่วเอ่อร์กั่วซือ (Horgos Port) และด่านคัชการ์ หรือเรียกอีกชื่อว่า ด่านคาสือ (Kashgar) เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ด่านชายแดนจี่หรง Gyirong เขตปกครองคนเองทิเบต และด่านมานโจวลี เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.caexp.net

นอกเหนือจากเส้นทางการขนส่งที่หลากหลายและครอบคลุมแล้ว “ฉางอันห้าว” ยังมาพร้อมกับช่องทางการให้บริการที่สามารถดำเนินการออนไลน์ได้ทั้งหมด โดยมีขั้นตอนพอสังเขป ดังนี้

“ฉางอันห้าว” กับเป้าหมายการพัฒนาในปี 2565

ในปี 2565  “ฉางอันห้าว” จะยังคงเร่งพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ถึงศักยภาพของระบบการขนส่งสินค้าในพื้นที่ไม่ติดทะเลที่สามารถนำเข้าและส่งออกสินค้าได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ นอกเหนือจากการให้บริการในเส้นทางขนส่งต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นแล้ว “ฉางอันห้าว” ยังให้บริการขนส่งเที่ยวพิเศษ (ไม่ประจำทาง/ไม่กำหนดความถี่ในการขนส่ง) เพื่อตอบโจทย์วิสาหกิจที่ต้องการส่งออกสินค้าเป็นครั้งคราวด้วย
การพัฒนาศักยภาพของ “ฉางอันห้าว” สอดคล้องกับการประกาศ “แผนบูรณาการปฏิบัติการอย่างลึกซึ้งในแผนการสร้างความรุ่งเรืองร่วมกันบนแถบเส้นทางสายไหม” ซึ่งตามแผนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของมณฑลส่านซีฉบับที่ 14 (2563 – 2568) มีเป้าหมายในการสร้างมณฑลส่านซีให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการขนส่ง รวมทั้งเป็นฐานการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมสำหรับเอเชียกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตก โดยมีนครซีอานเป็นจุดศูนย์กลาง ทั้งนี้ มณฑลส่านซีได้ตั้งเป้าว่าภายในปี 2568 จะดำเนินโครงการสำคัญต่าง ๆ แล้วเสร็จ อาทิ โครงการก่อสร้าง Xi’an Belt and Road Comprehensive Experimental Zone (西安一带一路综合实验区),  โครงการก่อสร้างช่องทางการค้าทางบก-น้ำ ที่สำคัญระหว่างเอเชีย-ยุโรป (亚欧陆海贸易大通道),  และโครงการก่อสร้าง China-Europe Railway Express Xi’an Assembly Center (中欧班列西安集结中心) เพื่อบูรณาการเครือข่ายทางทะเล ทางบก และทางอากาศที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งตั้งเป้าเพิ่มอัตราการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศของมณฑลส่านซีโตเฉลี่ยร้อยละ 15 ต่อปี และพัฒนาให้มณฑลส่านซีกลายเป็นศูนย์การเงินของเส้นทางสายไหม (โดยอุตสาหกรรมการเงินจะมีสัดส่วนไม่ต้ำกว่าร้อยละ 8 ของ GDP ของมณฑลฯ)

และเพื่อเป็นเน้นย้ำถึงพัฒนาการดังกล่าว ล่าสุด เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 “ฉางอันห้าว” ได้เปิดเส้นทางขนส่งสินค้าเส้นใหม่สู่เมืองมานน์ไฮม์ เยอรมนี ระยะทางรวม 12,808 กิโลเมตร (นครซีอาน – ด่านมานโจวลี เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน – นครเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก รัสเซีย – เมืองมานน์ไฮม์) รวมระยะทาง 12,808 กม.) โดยเป็นเที่ยวขนส่งแรกของปีและยังเป็นการขนส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อแบบ CBEC (Cross Border E Commerce) ซึ่งส่วนมากเป็นอุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ชิ้นส่วนรถยนต์ และเสื้อผ้าเครื่องนุ่งหุ่ม ซึ่งใช้เวลาขนส่งเพียง 16-18 วัน เส้นทางขนส่งใหม่นี้ เป็นการเดินรถที่เลี่ยงเส้นทางการขนส่งเดิมที่มักขนส่งด้วยระบบรางผ่านบางประเทศในยุโรปตะวันออกก่อนถึงเยอรมนีซึ่งบางครั้งเกิดปัญหาความแออัดของเส้นทางอันส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนของการเดินรถในบางช่วงเวลา โดยเส้นทางใหม่นี้ ได้ใช้แนวทางการบรรทุกด้วยตู้คอนเทนเนอร์เดียวตลอดเส้นทางด้วย (เปลี่ยนเฉพาะหัวลาก) เพื่อลดความเสี่ยงในการผิดพลาดและความเสียหายของสินค้า พร้อมนำมาตรการรักษาความปลอดภัยสินค้าอย่างสูงสุดมาใช้ท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในนครซีอาน โดยได้เพิ่มมาตรการการทำงานในระบบปิดของพนักงานทั้งหมด การพ่นฆ่าเชื้อด้วยระบบฉีดพ่น 360 องศา การควบคุมวงจรการทำงานระยะไกลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 100% ตลอดจนลดการเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างการขนส่งโดยไม่จำเป็น

ข้อมูลอ้างอิง

  1. https://m.thepaper.cn/baijiahao_16112581
  2. https://www.xiancn.com/content/2022-01/01/content_6448605.htm
  3. https://cj.sina.com.cn/articles/view/5115326071/130e5ae7702001k0qy
  4. https://baijiahao.baidu.com/s?id=1720804327728500935&wfr=spider&for=pc

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]