1. จีนยิงจรวดไคว่โจว-1เอ ส่ง ‘ดาวเทียมทดลอง’

25 ก.ย. 65 – วันอาทิตย์ ที่ 25 กันยายน 2565 จีนยิงจรวดขนส่งไคโจว-1เอ (Kuaizhou-A) เพื่อส่งดาวเทียม 2 ดวง ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ คือ ดาวเทียมซื่อเยี่ยน-14 (Shiyan-14) และดาวเทียมซื่อเยี่ยน-15 (Shiyan-15) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ จากศูนย์ปล่อยดาวเทียมไท่หยวน มณฑลซานซีทางตอนเหนือของจีน และเข้าสู่วงโคจรที่กําหนดสําเร็จ ดาวเทียมซื่อเยี่ยน-14 เป็นดาวเทียมที่ใช้ทดลองทางวิทยาศาสตร์และตรวจสอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ และ ดาวเทียมชื่อเยี่ยน-15 จะเป็นดาวเทียมเรื่องข้อมูลการสำรวจที่ดิน การวางผังเมือง และการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ การส่งดาวเทียมครั้งนี้นับเป็นภารกิจครั้งที่ 18 ของจรวดขนส่งไคว์โจว เอ

  1. ‘นครเซี่ยงไฮ้’ เมืองแห่งนวัตกรรมอันดับหนึ่งของจีน

26 ก.ย. 65 – ‘นครเซี่ยงไฮ้’ ถือเป็นเมืองแห่งนวัตกรรมอันดับหนึ่งของจีน เป็นเมืองนำร่องและเดินหน้าพัฒนาเป็น ‘ศูนย์กลางของโลกด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม’ภายในปีค.ศ. 2020 นครเซี่ยงไฮ้ จึงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการวางรากฐานสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครอบคลุมทุกด้าน นวัตกรรมที่สำคัญในนครเซี่ยงไฮ้ ได้แก่ เครื่องยิงเลเซอร์ฯ จะสามารถสร้างพัลส์เลเซอร์อิเล็กตรอนอิสระที่มีความเข้มสูง ซึ่งสว่างกว่าแหล่งกำเนิดแสงรังสีซินโครตรอนถึง 1,000 ล้านเท่า ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ของอะตอมและโมเลกุลในการปฏิบัติงานได้ ซึ่งเผยให้เห็นกระบวนการพื้นฐานต่างๆ ในวัสดุ เทคโนโลยี และสิ่งมีชีวิต เป็นต้น

  1. จีนสร้างกล้องโทรทรรศน์ X-ray เพื่อสำรวจจักรวาล

29 ก.ย. 65 – หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติจีน สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (CAS) รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จีนสร้างดาวเทียมดาราศาสตร์เอกซเรย์และกล้องโทรทรรศน์ X-ray ที่พัฒนาเองขึ้นมาใหม่ เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสังเกตวัตถุระยะไกลใน X-ray สเปกตรัม ที่อยู่เหนือชั้นบรรยากาศของโลกซึ่งทึบแสงต่อรังสีเอกซ์ โดยต้องติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ X-ray บนจรวดบอลลูนหรือดาวเทียมเทียมในระดับสูง เพื่อศึกษาการปล่อยรังสีเอกซ์จากวัตถุท้องฟ้า ดาวเทียมสามารถตรวจจับและส่งข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยรังสีเอกซ์ ถูกนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิทยาศาสตร์อวกาศหรือที่เรียกว่าดาราศาสตร์เอกซเรย์ อนึ่งการพัฒนากล้องโทรทรรศน์ X-ray ครั้งนี้มีประสิทธิภาพมากกว่ารุ่นเดิม คือ สามารถสังเกตการณ์ด้วยรังสีเอกซ์ด้วยมุมมองที่กว้างและสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของรังสีเอกซ์ของวัตถุท้องฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. นักวิทย์จีนพบฟอสซิลของปลาโบราณเผยวิวัฒนาการของมนุษย์

29 ก.ย. 65 – นักวิทยาศาสตร์จีนจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล (Institute of Vertebrate Paleontology and Paleoanthropology) สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (CAS) ค้นพบฟอสซิลที่เผยข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยพบหลักฐานชิ้นสำคัญจากฟอสซิลของปลาอายุกว่า 400 กว่าล้านปี ที่พิสูจน์ว่า หูชั้นกลางของมนุษย์วิวัฒนาการมาจากเหงือกปลา นักวิจัยกล่าวว่า“โครงสร้างที่สำคัญหลายอย่างของมนุษย์สามารถสืบย้อนไปถึงบรรพบุรุษปลาของเราได้ ไม่ว่าจะเป็น ฟัน กราม หูชั้นกลาง เป็นต้น ดังนั้น งานหลักของนักบรรพชีวินวิทยาคือค้นหาจุดเชื่อมโยงที่สำคัญที่ขาดหายไปในห่วงโซ่วิวัฒนาการจากปลาสู่มนุษย์” เมื่อประมาณ 450 ล้านปีก่อน

  1. ดัชนีนวัตกรรมโลกปี 2022: จีนขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 11

29 ก.ย. 65 – องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) รายงาน “การจัดอันดับดัชนีนวัตกรรมโลกปี 2022 (Global Innovation Index 2022; GII 2022)” ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดความสามารถทางด้านนวัตกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงผลผลิตด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาของแต่ละประเทศกว่า 132 ประเทศทั่วโลก รายงานแสดงอันดับดัชนีนวัตกรรมของจีนเพิ่มขึ้น จากอันดับที่ 12 ของโลกในปี ค.ศ. 2021 ขึ้นมาอยู่ที่อันดับที่ 11 ในปี ค.ศ.2022 โดยอันดับ 1 ได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ ตามด้วย สหรัฐอเมริกา สวีเดน สหราชอาณาจักร และเกาหลีใต้ จีนมีการพัฒนานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปีติดต่อกัน เพื่อสร้างแนวโน้มการเติบโตใหม่ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยตนเอง และเรียกร้องให้องค์กรต่างๆ เข้ามามีบทบาทสําคัญในด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี และให้มีการบ่มเพาะและใช้ทีมวิจัยวิทยาศาสตร์และผู้ที่มีความสามารถระดับโลก และรายงานนี้แสดงให้เห็นว่าวิสาหกิจด้านเทคโนโลยีชั้นสูงของจีนมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีงบประมาณการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาต่อ GDP สูงขึ้นเรื่อยๆ