1. สายเคเบิลป้องกันสิ่งแวดล้อมโพลีโพรพีลีนคาร์บอนต่ำ 35kV ใช้งานครั้งแรกในประเทศ

2 พ.ย. 65 – สายเคเบิลป้องกันสิ่งแวดล้อมโพลีโพรพีลีนคาร์บอนต่ำ 35kV (Polypropylene low-carbon 35kV) ที่พัฒนาอย่างอิสระในจีนถูกนำไปใช้งานกับเครือข่ายครั้งแรกในเทียนจิน หากเมื่อเทียบกับสายเคเบิล XLPE แบบดั้งเดิม สายเคเบิลป้องกันสิ่งแวดล้อมดังกล่าว มีข้อดีคือสามารถย่อยสลายได้ ทนต่ออุณหภูมิสูง ความจุกระแสไฟสูง และวงจรการผลิตสั้นเมื่อเทียบกับสายเคเบิลแบบเดิม สามารถรับกระแสไฟได้มากกว่า 1.2 เท่าที่ระดับแรงดันเดียวกัน ซึ่งสามารถช่วยประหยัดพื้นที่ท่อใต้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. จีนเผยแพร่ “แผนฯ 5 ปี ฉบับที่ 14 สำหรับนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยา”

2 พ.ย. 65 – กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอีก 3 แห่ง ได้ประกาศ “แผนฯ 5 ปี ฉบับที่ 14 สำหรับนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยา” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพของสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาและเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันและควบคุมมลพิษททางน้ำ อากาศ และในดิน เร่งการสร้างอารยธรรมนิเวศวิทยา และให้การสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการปรับปรุงความสามารถในการกำกับดูแลสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาในประเทศ เป็นต้น

3. จีนเปิดตัว “แผนความเป็นเลิศ” ในปี พ.ศ. 2566 เพื่อปลูกฝังความสามารถด้าน วทน. ของนักเรียนระดับมัธยมต้น

3 พ.ย. 65 – สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีนและกระทรวงศึกษาธิการจีน ได้เปิดตัว “แผนความเป็นเลิศ” อย่างเป็นทางการเมื่อเร็ว ๆ นี้ ภารกิจหลักคือคัดเลือกกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมต้นที่มีความเป็นเลิศทั้งในด้านอุปนิสัยและการเรียนรู้และมีศักยภาพเชิงนวัตกรรมในการเข้าสู่กระบวนการฝึกอบรม 1 ปีในมหาวิทยาลัย ซึ่งนักเรียนจะได้สัมผัสถึงอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสาขาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติขั้นพื้นฐานอื่น ๆ และได้เข้าร่วมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อกระตุ้นความสนใจ ปรับปรุงความสามารถ และสร้างแรงบันดาลใจทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม โครงการดังกล่าวขยายขอบเขตวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยฝึกอบรมเเป็น 58 แห่ง ครอบคลุม 25 เมืองและมีแผนจะฝึกอบรมโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมากกว่า 1,700 คน

4. พลังงานลมนอกชายฝั่งได้จุดประกายเส้นทางใหม่สำหรับ การพัฒนาพลังงานใหม่ในจีน

3 พ.ย. 65 – ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา พลังงานลมนอกชายฝั่งในประเทศจีนได้เติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ข้อมูลเมื่อปลายปี พ.ศ. 2564 กำลังการผลิตติดตั้งสะสมของพลังงานลมนอกชายฝั่ง คือ 26.38 GW คิดเป็น 48% ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมดของพลังงานลมนอกชายฝั่งอันดับแรก ในโลก ถือเป็นเส้นทางใหม่สำหรับการพัฒนาพลังงานใหม่สีเขียวและคาร์บอนต่ำของจีน ซึ่งแผนผังของพลังงานลมนอกชายฝั่งได้ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจากเขตน้ำขึ้นน้ำลง ทะเลตื้นไปจนถึงทะเลน้ำลึก พลังงานลมนอกชายฝั่งมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายสูงสุดด้านคาร์บอนและความเป็นกลางของคาร์บอนในจีน

5. สถานีไฟฟ้าพลังน้ำยักษ์ไป๋เฮ่อทาน เปิดใช้หน่วยผลิตใหม่เชิงพาณิชย์

4 พ.ย. 65 – ตามรายงานของบริษัทไชน่า ธรี กอร์เจส คอร์เปอเรชัน (China Three Gorges Corporation-CTG) สถานีไฟฟ้าพลังน้ำไป๋เฮ่อทาน หมายเลข 11 ผ่านการทดสอบการใช้งานระยะ 72 ชั่วโมงอย่างราบรื่น และเริ่มเปิดใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ หน่วยผลิตไฟฟ้าหมายเลข 11 ถือเป็นหน่วยผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 1 ล้านกิโลวัตต์ หน่วยที่ 14 ของสถานีฯ ที่ถูกเปิดใช้งาน ทําให้ปัจจุบันสถานีฯ ได้ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดสะสมมากกว่า 4.8 หมื่นล้านกิโลวัตต์ ชั่วโมง โครงการนี้ถือเป็นโครงการสําคัญของโครงการสายส่งไฟฟ้าตะวันตก-ตะวันออกของจีน และยังเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202211/c3eee07e9c39499f94e2e3029fc88873.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202211/23d7f687498a4e179f26e97e2cc5e1b0.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202210/064dcde5c50549f78140157ee6f652ec.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202211/bf961110c0f24cc7ab75b9e2c8e94bd6.shtml
  • http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202211/4f64204167eb4c18af95197511a1b690.shtml