นักวิจัยจีนค้นพบยีนต้านความเย็นในผลกีวี่ ช่วยลดความเสียหายของผลผลิต

28 ก.พ. 66 – ทีมวิจัยของนายจง ไฉ่หง (Zhong Caihong) จากสวนพฤกษศาสตร์หวู่ฮั่น สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Wuhan Botanical Garden, Chinese Academy of Sciences) ได้เปิดเผยกลไกระดับโมเลกุลของผลกีวีต้านความเย็น โดยการลบยีน AcePosF21 จะลดความเข้มข้นของวิตามินซีในผลกีวี ซึ่งจะเป็นการเพิ่มการสร้างแอคทีฟออกซิเจน (Active Oxygen) อีกทั้ง ยีน AcePosF21 ยังมีส่วนร่วมในการกระตุ้นการแสดงออกของยีน AceGGP3 และการแสดงออกที่สูงของยีน AceGGP3 สามารถส่งเสริมการสังเคราะห์วิตามินซีและกำจัดสายพันธุ์ออกซิเจนที่มีปฏิกิริยามากเกินไป ซึ่งช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากความเย็นได้ในที่สุด ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Plant Physiology (งานวิจัย : https://academic.oup.com/plphys/advance-article-abstract/doi/10.1093/plphys/kiad121/7055987?redirectedFrom=fulltext)

ที่มา : http://www.stdaily.com/index/kejixinwen/202302/201114df4b46435995cc6c6419515e5a.shtml

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]