• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • หิมะแรกของกรุงปักกิ่งปีนี้ 2563 วันที่ 21 พ.ย.63 ฤดูหนาวปีนี้นับว่าหิมะตกเร็วกว…

หิมะแรกของกรุงปักกิ่งปีนี้ 2563 วันที่ 21 พ.ย.63 ฤดูหนาวปีนี้นับว่าหิมะตกเร็วกว…


หิมะแรกของกรุงปักกิ่งปีนี้ 2563

วันที่ 21 พ.ย.63 ฤดูหนาวปีนี้นับว่าหิมะตกเร็วกว่าปกติ ซึ่งหากเทียบกับสถิติที่ผ่านมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 ถึงปัจจุบัน หิมะแรกของกรุงปักกิ่งจะตกอยู่ในช่วงระหว่าง เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ปีถัดไป

ที่ผ่านมาปีที่หิมะแรกตกเร็วที่สุด 3 อันดับ คือ
อันดับที่ 1 เมื่อปี 2530 หิมะแรกตกเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม อันดับที่ 2 เมื่อปี 2552 หิมะแรกตกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน
อันดับที่ 3 เมื่อปี 2532 หิมะแรกตกเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน

ส่วนปีที่ปักกิ่งมีหิมะตกช้าที่สุด 3 อันดับ คือ
อันดับที่ 1 เมื่อปี 2526 หิมะแรกไปตกข้ามปี ในวันที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์
อันดับที่ 2 เมื่อปี 2553 หิมะแรกไปตกข้ามปีในวันที่ 10 เดือนกุมภาพันธ์
อันดับที่ 3 เมื่อปี 2556 หิมะแรกไปตกข้ามปีในวันที่ 7 เดือนกุมภาพันธ์

จากสถิติที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2524 จะเห็นว่าหิมะแรกของปักกิ่งจะตกอยู่ในช่วงเดือน พฤศจิกายนถึงธันวาคม เป็นส่วนใหญ่

ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมาหิมะแรกของปักกิ่งมีแนวโน้มที่จะตกช้าขึ้นเรื่อยๆ และปักกิ่งมีหิมะแรกที่ไปตกข้ามปี (มาช้ามากกกก) เพียง 5 ครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ถึง 4 ครั้ง

แล้วแต่ละปีปักกิ่งจะมีหิมะตกกี่วัน?
จากสถิติที่ผ่านมาโดยรวมปักกิ่งจะมีหิมะตกอยู่ที่ประมาณ 10-12 วัน โดยพื้นที่เขตเมืองและที่ราบสูงจะมีหิมะตกเฉลี่ยประมาณ 10 วันต่อปี ส่วนพื้นที่ภูเขาจะมีหิมะตกเฉลี่ยประมาณ 12 วันต่อปี พื้นที่ที่มีหิมะตกเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ในเขตแหยนชิ่ง มีหิมะตกเฉลี่ย 16.4 วันต่อปี

ทั้งนี้ การที่จะเจ้าข่ายว่าเป็นหิมะแรกของปี ก็ต้องเข้าเงื่อนไขสำคัญข้อใดข้อ 1 ใน 3 ข้อนี้ คือ
1.สถานีตรวจสอบสภาพอากาศในปักกิ่งจับการตกของหิมะได้ 10 สถานีพร้อมกัน (ปักกิ่งมีสถานีตรวจสอบสภาพอากาศทั้งหมด 20 สถานี)
2.สถานีตรวจสอบสภาพอากาศในเขตเมืองที่สำคัญจับการตกของหิมะได้ 5 สถานีพร้อมกัน (5 สถานีสำคัญคือ สถานีกวนเซี่ยงถาย สถานีเฉาหยาง สถานีไห่เตี้ยน สถานีเฟิงถายและสถานีฉือจิ่งซาน)
หรือ 3. สถานีตรวจสอบสภาพอากาศสำคัญ มีการจับการตกของหิมะได้ 3 สถานีขึ้นไป และ 1ใน 3 สถานี มีการจับการตกของปริมาณหิมะได้มากกว่าหรือเท่ากับ 0.1mm

จะเห็นว่าด้วยสภาพอากาศทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อภูมิอากาศของปักกิ่งเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ปีนี้มีสถานการณ์โควิด ภาคอุตสาหกรรมต่างชะลอการผลิต ท้องฟ้าในปักกิ่งมีวันฟ้าใสเพิ่มขึ้น ทั่วจีนมีฝนตกมากในปีนี้ หลายพื้นที่ถึงกับมีน้ำท่วมหนัก ทั้งหมดนี้ต่างเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ

หลายๆเหตุการณ์เป็นสัญญาณที่มาบอกเตือนเราทุกคนว่าถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญและใส่ใจกับการรักษาสภาพแวดล้อม การประหยัดพลังงาน เมื่อเรารักและใส่ใจในธรรมชาติ ธรรมชาติก็จะรักเรา หรือหากละเลยแล้วธรรมชาติอาจให้บทเรียนราคาแพงแก่เราทุกคน

ที่มา: รายงงานสถิติจาก ศูนย์พยากรณ์อากาศเซี่ยงถาย กรุงปักกิ่ง
[fb_vid id=”202867808095754″]

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจ Beijing Story by Keng

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]