ว่าด้วยเรื่อง 6G และความมุ่งมั่นของจีนในการนำพาจีนเข้าสู่สังเวียน6G ที่ทั่วโลกตั้งเป้าไว้ว่าจะใช้งาน6Gเชิงพาณิชย์ภายในปี 2030 หรืออีก10ปีต่อจากนี้

.

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี2019ที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน ประกาศ “จีนเข้าสู่การพัฒนา6Gอย่างเป็นทางการ” พร้อมจัดตั้งสำนักงานเพื่อวิจัยและกำหนดนโยบายเกี่ยวกับ6Gโดยเฉพาะ โดยภาคเอกชนรายใหญ่ของจีน อาทิ China Telecom, China Unicom และHuawei ได้ร่วมวงวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี6Gด้วย

.

ความจริงแล้ว 2-3ปีที่ผ่านมา จีนได้ซุ่มวิจัย6Gไปพร้อมๆกับช่วงที่เร่งพัฒนา5Gจนตอนนี้5Gก็ใช้ได้จริงแล้วในจีน ดูได้จากบทสัมภาษณ์ของรมต.กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน ที่ให้สัมภ่ษณ์กับทางสถานีโทรทัศน์ CCTV เมื่อปี2018 โดยเผยว่า “จีนเริ่มลงทุนวิจัย 6G แล้ว แม้ 5G ยังไม่ได้ใช้อย่างเป็นทางการ(ณ ขณะนั้น ปี2018)”

.

มาอ่านคำสัมภาษณ์บางช่วงบางตอนของ “เหมียว เหวย” รมต.กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน เกี่ยวกับประเด็น 6G, อนาคตเทคโนโลยีจีน และ Lifestyle ในฐานะคนคุมเรื่องเทคโนโลยีของจีนกันเลยครับ แปลบทสัมภาษณ์จากคลิปของ CCTV โดยอ้ายจง

นักข่าว: ทุกวันนี้ ไม่ว่าจีนหรือประเทศไหนก็จะมี 5G เป็นประเด็นหลักในแผนพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศนั้น ท่านพอจะบอกเหตุผลได้ไหมคะว่าทำไม?

รมต. : G หมายถึง Generation หรือยุคของเทคโนโลยี อย่างตอยนี้เราคุ้นเคยกับ 4G แล้วพอผ่านจากยุคที่4 หรือ 4G ก็มาเป็น 5G ซึ่งตอนนี้ประเทศจีนได้เริ่มลงทุนลงมือวิจัย 6G แล้ว

นักข่าว: 5G ยังไม่ได้ใช้อย่างเป็นทางการ ทำไมถึงวิจัย 6G แล้วล่ะคะ?

รมต. :เพราะว่าความต้องการในการใช้งานมือถือและเทคโนโลยีเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงต้องมีการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของการเชื่อมต่อเครือข่าย ซึ่งจะเชื่อใต่อระหว่างคน กับ สิ่งของ/อุปกรณ์ และ อุปกรณ์ ต่อ อุปกรณ์ มากขึ้น โดยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอนาคตต่างต้องใช้เทคโนโลยีเครือข่ายขั้นต่ำอย่าง 5G เพื่อเป็นพื้นฐาน เช่น รถไร้คนขับ และ โดรน

ในยุคของ 5G ความเร็วในการเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น และความหน่วงเวลา ได้เปลี่ยนจากระดับ วินาที มาเป็นมิลลิวินาที ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ถึงความเร็วตรงนี้ได้ แต่ถ้าใช้ในอุปกรณ์/นวัตกรรม มีผลกระทบแน่นอน เช่น ในรถไร้คนขับ เวลาเพียงมิลลิวินาทีอาจมีผลต่อชีวิตได้ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น

นักข่าว: เราจะได้เห็น รถไร้คนขับ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในจีนกันเมื่อไหร่คะ?

รมต. : ผมเชื่อว่าต้องใช้เวลานานทีเดียว อย่างเช่นประมาณ 8-10 ปี

นักข่าว: การมาของรถไร้คนขับ จะทำให้ผู้ประกอบอาชีพขับรถ ตกงานหรือไม่?

รมต. : สิ่งสำคัญที่สุดของการพัฒนารถไร้คนขับ คือ ความปลอดภัย หากเทคโนโลยีรถไร้คนขับที่เราพัฒนาและนำมาใช้จริงแล้ว แต่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ก็ไม่ควรนำมาใช้ ไม่มีใครกล้าใช้ ดังนั้นเราต้องพัฒนาให้แน่ใจว่าปลอดภัยจริงๆ และเมื่อนำมาใช้จริงแล้วจนสามารถแทนที่ “คนขับ” ได้อย่างสมบูรณ์ คำถามข้างต้นก็เป็นคำถามที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งผมคิดว่า คนที่ทำอาชีพเกี่ยวกับขับรถต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง

นักข่าว: ท่านจะเลือกที่จะใช้รถไร้คนขับหรือไม่คะ?

รมต. : ผมชอบขับรถนะ ปกติแล้วถ้าผมไม่ยุ่ง ผมก็เลือกที่จะขับรถเอง แต่ถ้าผมเหนื่อยมาก ผมก็จะเลือกใช้รถไร้คนขับ อย่างที่ผมได้พูดไปแล้วผมเชื่อในความปลอดภัยของรถไร้คนขับมากกว่าคนขับเอง

นักข่าว: ตอนนี้ในด้าน AI ปัญญาประดิษฐ์ของประเทศเรา(จีน) อยู่ในระดับไหนคะ?

รมต. : ในเชิงเทคนิค ยังคงมีช่องว่างระหว่างเรากับประเทศพัฒนาแล้วฝั่งตะวันตกและอเมริกา แต่หลายเทคโนโลยีของเราอย่าง การรู้จำเสียง, การรู้จำรูปภาพ และการรู้จำใบหน้า ถือเป็นระดับแนวหน้าของโลกได้เลย แต่เราก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาพัฒนาต่อไป

นักข่าว: ในการสัมภาษณ์นี้ เราได้มีการพูดถึงเรื่องมือถือ ขอถามท่านว่าตอนนี้ท่านใช้มือถือแบรนด์ต่างประเทศหรือแบรนด์จีนคะ?

รมต. : ผมใช้มือถือต่างประเทศเป็นเวลาสั้นๆ จากนั้นผมก็ใช้แต่แบรนด์ของจีนเอง

นักข่าว: ในแต่ละวัน ท่านใช้เวลากับมือถือนานไหมคะ?

รมต. : ผมไม่ค่อยเล่นมือถือนานๆ แต่หากมีเวลา ก็จะมีบ้างที่เข้าเว็บไซต์เถาเป่า Taobao เพื่อดูสินค้าโน่นนี่ หรือเข้าอินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูลต่างๆ

นักข่าว: ในอนาคต ท่านจะซื้อหุ่นยนต์มาใช้บ้างไหมคะ?

รมต. : เป็นสิ่งที่ผมคิดมาตลอดนะว่าถ้าปลดเกษียณไปแล้วจะทำอะไร ? ผมก็รู้สึกนะว่าถ้าอยู่เฉยๆที่บ้านคงเหงาแย่ จะคุยกับใคร ดังนั้นถ้าหุ่นยนต์สามารถเป็นเพื่อนคุยได้ และอย่างยิ่งถ้ามีฟังก์ชันดีๆ ผมก็จะพิจารณาในการซื้อมาที่บ้านนะ

นักข่าว: ฉันคิดว่าฉันสามารถคุยกับท่านได้นะคะ ท่านไม่จำเป็นต้องซื้อหุ่นยนต์หรอกค่ะ จ้างฉันแทน

.

การพัฒนาด้านเทคโนโลยี เป็น1นโยบายหลักของจีน เพื่อให้จีนก้าวสู่ผู้ส่งออกเทคโนโลยีของโลก ตามที่ตั้ง เป้า Made in China 2025 เอาไว้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมจีนถึงพยายามอย่างหนักไม่ว่าจะ5Gหรือ6G

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน




ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง