• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • #insightการตลาดจีน #insightคนจีน เดี๋ยวนี้ผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์สินค้าในไทยจ…

#insightการตลาดจีน #insightคนจีน เดี๋ยวนี้ผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์สินค้าในไทยจ…

#insightการตลาดจีน #insightคนจีน เดี๋ยวนี้ผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์สินค้าในไทยจำนวนมาก มีกลยุทธ์มุ่งเน้นผลิตสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยวจีนที่มาไทยโดยเฉพาะ

โดยเรามักจะเข้าใจกันว่า หากจะทำสินค้าสำหรับคนจีน บนpackageของสินค้า จะต้องเป็นภาษาจีนล้วน เพราะเราจะทำให้คนจีนเข้าใจและอยากใช้สินค้าของเรามากที่สุด แต่รู้หรือไม่ครับ ว่านี่คือความเข้าใจที่ผิดอย่างมาก และมันอาจทำให้คนจีนรู้สึกว่า “สินค้าของเรา ไม่ใช่สินค้าไทยแท้ หรือไม่ก็เป็นสินค้าที่ต้องการทำมาเพื่อเอาเงินคนจีนเท่านั้น”

ที่อ้ายจงให้ข้อมูลแบบนี้ได้ เพราะผมทำงานสายการตลาดจีนมาตั้งแต่ไปอยู่จีนครั้งแรกเมื่อ 7ปีที่แล้ว โดยหลังๆมานี้ เพื่อนคนจีนมักเข้ามาถามตลอดว่า สินค้าชิ้นนี้เป็นของไทยจริงหรือไม่? ทำไมมีแต่ภาษาจีนเต็มไปหมด ทั้งที่ซื้อในไทย อย่างล่าสุดก็มีเพื่อนคนจีน ที่เขาซื้อสินค้าแบรนด์หนึ่งในไทย เข้ามาบ่นว่า “เริ่มรู้สึกไม่ดีต่อสินค้าแบรนด์นี้ ตกลงเป็นสินค้าไทยหรือไม่เนี่ย คือเขาทำมาแค่ขายคนจีนหรอ แม้แต่วันหมดอายุ ก็ยังเขียนสไตล์จีน คือถามจริงๆว่า ตกลงแบรนด์นี้เป็นแบรนด์ไทยที่คนไทยใช้หรือไม่? หรือแค่ขายคนจีน?”

จริงอยู่ครับว่าความคิดแบบข้างต้นที่ผมนำมาแชร์ อาจไม่ใช่ความคิดคนจีนทั้งหมด แต่ผมบอกได้ว่า จำนวนไม่น้อยเลยที่คนจีนรู้สึกไม่ดีนักต่อสินค้าที่ขายในไทยที่ทำออกมาให้ความรู้สึกว่า “จงใจขายคนจีน” เพราะเขาชอบในสินค้าไทย เขาอยากได้สินค้าที่ให้ความรู้สึกว่าซื้อจากไทยจริงๆ เป็นสินค้าที่คนไทยใช้กัน และส่วนหนึ่งก็มาจากข่าวหนาหูที่คนจีนเองมาตั้งฐานผลิตในไทยเพื่อให้ดูเป็นสินค้าไทย

เวลาผมให้คำปรึกษาการตลาดแก่เจ้าของแบรนด์ในไทย ผมจะบอกเลยว่า “คุณไม่จำเป็นต้องทำpackageภาษาจีนทั้งหมด ไม่ต้องจงใจขนาดนั้น เอาpackage ที่มีภาษาไทย สื่อว่าเป็นสินค้าไทยนั่นแหล่ะ มันจะสร้างความน่าเชื่อถือได้มากสุด แต่ถ้าวันใด มี Distributorที่จีน นำสินค้าเข้าไปขายในจีนโดยตรง ตอนนั้นก็ค่อยมีการทำpackage หรือแปะฉลากภาษาจีน เพื่อไปขายในจีนโดยเฉพาะ”

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]