• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • อ้ายจงเล่าเรื่องเมืองจีน ตอน งานหนักไม่เคยฆ่าคน(จีน) จริงหรือ? เมื่อสัปดาห์ที่ผ…

อ้ายจงเล่าเรื่องเมืองจีน ตอน งานหนักไม่เคยฆ่าคน(จีน) จริงหรือ? เมื่อสัปดาห์ที่ผ…

อ้ายจงเล่าเรื่องเมืองจีน ตอน งานหนักไม่เคยฆ่าคน(จีน) จริงหรือ?

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สื่อจีนรายงานว่า ในปัจจุบัน ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่ประชากรเสียชีวิตจากการทำงานหนักมากที่สุด ด้วยจำนวนกว่า 600,000คนต่อปี แซงหน้าประเทศญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ยังมีสถิติที่น่าสนใจ ดังนี้

– มากกว่า 50% ของคนจีน เวลางานจะไม่มีการขยับตัว รีแล็กซ์ใดๆ

– มากกว่า 67% ของคนจีน แต่ละสัปดาห์ จะทำงานล่วงเวลามากกว่ากว่า 5ชั่วโมง

– มากกว่า 57% ของคนจีน ทำงานล่วงเวลาและมีเวลานอนน้อยกว่า 7ชม.ต่อวัน

– มีเพียง 20% ที่พึงพอใจสภาพแวดล้อมการทำงานของตน

– คนทำงานสายไอที อิเล็กทรอนิกส์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง มีชั่วโมงทำงานเฉลี่ยสูงสุด คือ 9.3 ชม./วัน

– คนจีนที่เสียชีวิตจากการทำงานหนัก มีอายุเฉลี่ย 44ปี โดยกลุ่มคนทำงานสายไอที, แพทย์, สื่อมวลชน, โฆษณา เป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด

-โรคที่เป็นกันมากในหมู่คนจีนที่ทำงานหนัก ได้แก่ ท้องผูก, แขนขาไม่มีแรง, ปวดหลัง, โรคเครียด-ปัญหาทางจิตใจ, มึนหัว-ปวดหัว

เป็นที่ทราบกันดีครับว่าที่เมืองจีน ทำงานกันหนัก หามรุ่งหามค่ำจริงๆ ไม่เว้นแต่นักศึกษาจีน …อย่างที่แลปอ้ายจง เวลาเข้าแลปคือ 8.30-22.00น. โดยมีเวลาพักกลางวัน 3ชม. และตอนเย็น 1.30ชม. แต่คนในแลปส่วนใหญ่ก็จะอยู่แต่ในแลปตลอด บางคนนอนในแลปก็มี แม้วันหยุดก็ตาม

สาเหตุที่คนจีนทำงานหนัก คงหนีไม่พ้น แรงกดดัน การแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น …อ้ายจงเองเคยมีประสบการณ์ไปที่โรงพยาบาลจีน ทำให้รู้ว่ามีคนจีนเป็นโรคเครียด และมาพบจิตแพทย์จำนวนมาก โดย1ในสาเหตุของความเครียด มาจากการทำงาน

ร่างกายคนเรา ไม่มีอะไหล่เปลี่ยน ดังนั้นควรรักษาสุขภาพให้ดี…เงินทองก็สำคัญ แต่ถ้าสุขภาพไม่ดี เงินทองที่หามาได้ก็ต้องนำมาใช้จ่ายรักษาโรคจนหมด ดังนั้นทุ่มเททำงานได้ แต่อย่าลืมรักษาสุขภษัฑ ออกกำลังกายด้วยนะครับ (ย่อหน้านี้ อ้ายจงเขียนเตือนตัวอ้ายจงด้วย 😀 )

เรียบเรียงข้อมูลจาก Weibo: BeijingHour, 新浪陕西

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน



ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]