Humans of China #16 บทสัมภาษณ์ “หล่าวซือหง:คนจีนหัวใจไทย ผู้แปลและขับร้องเพลง…

Humans of China #16 บทสัมภาษณ์ “หล่าวซือหง:คนจีนหัวใจไทย ผู้แปลและขับร้องเพลงต้นไม้ของพ่อฉบับภาษาจีน เพื่อถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”

หล่าวซือหงเป็นคนจีนที่อยู่ในไทยมานานกว่า 20ปี ซึ่งหล่าวซือหงได้แปลและขับร้องเพลง “ต้นไม้ของพ่อ” ฉบับภาษาจีนได้ออกมาไพเราะจับใจอ้ายจงรวมถึงใครหลายคนที่ได้ฟังเพลงนี้…อ้ายจงจึงไม่พลาดที่จะนำบทสัมภาษณ์สั้นๆ เปิดใจหล่าวซือหง เจ้าของเพลงต้นไม้ของพ่อ ฉบับภาษาจีน มาฝากทุกคนกันครับ

อ้ายจง: สวัสดีครับหล่าวซือหง หล่าวซือช่วยแนะนำตัวสักเล็กน้อยได้ไหมครับ

หล่าวซือหง: สวัสดีครับ ผมหล่าวซือหงครับ เป็นคนจีน สัญชาติฝรั่งเศสครับ มาอยู่ที่เมืองไทย 23ปีแล้วครับ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536 โดยมาที่เมืองไทยเพื่อมาสอนภาษาจีน ตั้งใจไว้ว่าอยากถ่ายทอดความรู้ความวามารถของเราให้คนไทยได้รู้ภาษาจีนมากขึ้นครับ

————

อ้ายจง: “เยี่ยมเลยครับ” …ด้วยเหตุผลที่หล่าวซือหงสอนภาษาจีน การแปลเพลงไทยเป็นภาษาจีน ถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้และสอนภาษาจีนไปในตัวเลย ใช่หรือไม่ครับ

หล่าวซือหง: ใช่แล้วครับ นั่นคือจุดประสงค์เลยครับปกติหล่าวซือจะเป็นคนชอบร้องเพลงและชอบฟังเพลง โดยมักจะแปลเพลงไทยเป็นภาษาจีนเพื่อเผยแพร่ให้คนที่สนใจเรียนภาษาจีน รวมถึงคนจีนที่ชื่นชอบในเมืองไทยได้ฟัง อย่างเช่น เพลงธรรมะภาษาไทย หล่าวซือก็แปลออกมาเป็นภาษาจีนหลายเพลงแล้วครับ

————

อ้ายจง: หล่าวซือพอจะเล่าเหตุผลที่แปลเพลงต้นไม้ของพ่อเป็นภาษาจีน และขับร้องเองด้วย ได้ไหมครับ

หล่าวซือหง: เพลง”ต้นไม้ของพ่อ” หล่าวซือได้ยินมานานแล้ว เนื้อเพลงความหมายดี และพี่เบิร์ดก็ร้องได้ไพเราะ ซึ้งใจ

เมื่อเมืองไทยมีเหตุการณ์สะเทือนใจเกิดขึ้น หล่าวซือมีความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อแสดงออกถึงความซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาที่คุณ ทางโรงเรียนสอนภาษาจีนเพียรอักษรของหล่าวซือ จึงได้ร่วมปัจจัยในการแจกเสื้อ และอาหารที่สนามหลวง

“แต่หล่าวซือก็ทราบว่า ตัวเองสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้” จึงมีแนวคิดที่จะนำเพลงที่สามารถสื่อความรัก ความเมตตาของพระองค์ท่าน และเป็นเพลงที่ส่วนตัวหล่าวซือชอบด้วย มาทำเป็นเพลงจีน

————

อ้ายจง: หล่าวซือใช้เวลาแปลและฝึกร้องนานไหมครับ ?
หล่าวซือ: ในการแปลใช้เวลาไม่ค่อยนานครับ แต่แก้ไขอยู่นานพอสมควร เพราะ เขียนไปขับร้องไป ต้องคำนึงถึงทั้งความหมาย ความสละสลวยของภาษา สัมผัส อักขระ และต้องนำไปร้องได้จริงๆ โดยที่ฟังแล้ว ต้องไม่เป็นการฝืนร้องเพลงไทยเป็นจีน หมายถึงต้องออกมาแล้วเป็นเพลงจีนเพลงหนึ่งที่ธรรมชาติมากๆ สุดท้ายเป็นการปรับอารมณ์ให้เข้ากับเนื้อเพลง ทำนอง และสื่อเสียงเพลงออกจากใจ ซ้อมร้องอยู่ 10 กว่ารอบ ก็จับอารมณ์เพลงได้ครับ
————
อ้ายจง: ผมสัมผัสได้ถึงความตั้งใจและความรักที่อาจารย์มีแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เลยครับ
หล่าวซือหง: ใช่ครับ หล่าวซือตั้งใจมากๆ หล่าวซืออยากบอกคนไทยว่า “คนไทยโชคดีมากๆที่มีพระมหากษัตริย์ ที่รักและห่วงใยประชาชนเยี่ยงพระองค์ครับ” และหล่าวซือก็เป็นคนหนึ่งที่แม้จะไม่ใช่คนไทย แต่ก็รักพระองค์ท่านมากๆไม่น้อยไปกว่าคนไทยเลยครับ
————

อ้ายจง: ขอบคุณมากๆเลยครับหล่าวซือ ผมได้คุยกับหล่าวซือในครั้งนี้รู้สึกอิ่มใจอย่างบอกไม่ถูก ดีใจที่ทุกคนรักพ่อหลวงของเราครับ
หล่าวซือ: ขอบคุณอ้ายจงเช่นกันครับ หล่าวซือขอฝากถึงทุกคนด้วยว่า “หล่าวซือตั้งใจที่จะทำผลงานดีๆออกมาอีกครับ อย่าลืมติดตามผลงานชิ้นต่อๆไปนะครับ”

อ้ายจง: ได้เลยครับหล่าวซือ ^^

————————

จบลงไปแล้วนะครับสำหรับบทสัมภาษณ์ “หล่าวซือหง: คนจีนหัวใจไทย ผู้แปลและขับร้องเพลงต้นไม้ของพ่อฉบับภาษาจีน” ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมแชร์โพสต์นี้ได้เลยครับ ขอบคุณครับ

สำหรับหล่าวซือหง เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีนเพียรอักษร ด้วยสปิริทที่อยากให้คนไทยเก่งภาษาจีน ทั้งการฟัง การพูด การเขียน การอ่าน การแปล ด้วยหัวใจของครูที่ต้องการฟูมฟักลูกศิษย์ทุกๆคน ให้ประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาจีน ซึ่งคือความภาคภูมิใจของผู้ที่เป็นครู หากใครสนใจเรียนภาษาจีนกับหล่าวซือหง สามารถเข้าเยี่ยมชมในเว็บไซต์
www.honglaoshi.com หรือ Facebook Honglaoshi – โรงเรียนสอนภาษาจีน เพียรอักษร – หงหล่าวซือ

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #HumansOfChina #เพลง #ต้นไม้ของพ่อ #ภาษาจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]