• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • บันทึกการเป็นอาจารย์ในยุคโควิด-เรียนออนไลน์ :สอนและวัดผลอย่างไรให้ผู้เรียนนำไปใช…

บันทึกการเป็นอาจารย์ในยุคโควิด-เรียนออนไลน์ :สอนและวัดผลอย่างไรให้ผู้เรียนนำไปใช…

บันทึกการเป็นอาจารย์ในยุคโควิด-เรียนออนไลน์ :สอนและวัดผลอย่างไรให้ผู้เรียนนำไปใช้ได้จริงในโลกยุคปัจจุบัน+อนาคต

—–

วันนี้เป็นวันส่งเกรดผลการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่ผมได้เป็นอ.พิเศษเทอมนี้ ถือว่าปิดคอร์สอย่างเป็นทางการ
.

ผมเลยส่งข้อความ บทเรียนสุดท้ายไปยังนักศึกษาที่ลงเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ การเงิน การบัญชีเบื้องต้น (เน้นประยุกต์สำหรับธุรกิจ) กับผม เพื่อเป็นการ Feedback และแบ่งปันกับนศ.ก่อนจบคอร์สนี้
.
โดยการส่งข้อความ แชร์เรื่องราวต่างๆนอกเหนือจากเวลาเรียน คือสิ่งที่ผมทำมาโดยตลอด มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดพื้นที่การแบ่งปัน พื้นที่เรียนรู้ที่นศ.ไม่ต้องกลัวเวลาสงสัย เวลามีคำถาม
.
สำหรับผม การสอนไม่ใช่การสอน แต่เป็นการแชร์มุมมอง ประสบการณ์
.
ผมเลยอยากนำมาบันทึกและแชร์ไว้ที่นี่ เผื่อมีประโยชน์ต่อคนที่อ่าน
.
และก่อนอื่น ผมขอเล่าก่อนว่า วิชานี้ผมสอนอย่างไร ในยุค “เรียนออนไลน์”
.
ผมปรับให้วิชานี้ ไม่มีสอบข้อเขียน ทั้งกลางภาคและปลายภาค แต่เป็นการวัดผลแบบ Project based learning
.
แต่ละคาบ นศ.จะได้คิด ลงมือทำ เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในแต่ละหัวข้อ เช่น การทดลองคิดสินค้าและตั้งราคา ตามหลักเศรษฐศาสตร์และการตลาด
.
ส่วนคะแนนปลายปลายภาค มาจากสองส่วน

– งานกลุ่ม: คิดไอเดียทางธุรกิจ สร้าง Prototypeต้นแบบเพื่อนำเสนอไอเดียออกมา ทำต้นแบบรูปแบบใดก็ได้ จะแค่วาดรูปก็ได้ แต่ต้องอัดคลิปเพื่อ Pitching ให้อาจารย์ซื้อไอเดียให้ได้ เสมือนเป็นการจำลองเหตุการณ์ หากนศ
ต้องการทำธุรกิจจริงๆในอนาคต

– งานเดี่ยว: นศ. แต่ละคนต้องเลือก “หัวข้อ” ที่ได้เรียนในวิชานี้ หัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง อัดคลิปอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างให้อาจารย์เข้าใจอย่างถ่องแท้ในหัวข้อนั้น
เปลี่ยนบทบาทกันระหว่าง “อาจารย์-นักศึกษา”
.
และข้อความด้านล่างที่ทุกคนกำลังจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผมส่งให้นศ. ที่ไม่ใช่การสอน แต่เป็นการแบ่งปันมุมมอง ประสบการณ์จากคนรุ่นใหม่แบบกำลังจะเก่า สู่คนรุ่นใหม่(ถอดด้าม)
(มีการดัดแปลงคำและโทนการเขียนเล็กน้อย)

—–

1. นักศึกษาอย่ากลัวการทำอะไรที่อาจไม่ได้อยู่ในคำสั่งของอาจารย์ หรือในเนื้อหาตำรา หากคิดว่าเป็นไปได้ ให้ถาม หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเลย ซึ่งหลายคนทำดีอยู่แล้ว
.
เช่น การนำเสนองานในโปรเจค Final เราต้องลองคิดว่า จะทำอย่างไรให้คนรับสาร เห็นภาพและอินกับสิ่งที่เราส่งสาร ให้มากขึ้น มากกว่า การบอกเล่าด้วยคำพูดอย่างเดียว
.
แม้ไม่ได้อยู่ในโจทย์ในคำสั่งที่อ.กำหนด แต่เราสามารถทำได้ ตรงนี้ หลายคนก็ทำมา อย่าง การทำสไลด์นำเสนอ การส่งเนื้อหาแนบมา ตรงนี้มันสื่อถึงการวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งก็คือ.ผู้ให้คะแนน ก็เป็นไปตามหลักการวิเคราะห์ทางการตลาดและเศรษฐศาสตร์ตามที่อ.สอนมาในคอร์สนี้
.
จุดนี้ ผมต้องการชี้ให้นศ.เห็นถึงการคิดวิเคราะห์วิเคราะห์ มองความต้องการของอ.ให้ออกตามหลักเศรษฐศาสตร์และการตลาด
.
และปฏิเสธไม่ได้ว่า นศ.ไทยจำนวนไม่น้อย กลัวการออกนอกกรอบ ไม่กล้าถามเมื่อมีข้อสงสัย ความรู้จึงติดอยู่แต่ในตำราและขึ้นอยู่กับคนสอนเพียงอย่างเดียว
.
2. การลงมือทำจริง ให้คำตอบได้ดีกว่าในตำรา หรือแค่การอ่าน การเข้าอบรม การเรียนในชั้นเรียน
.
หลายคนน่าจะค้นพบข้อนี้ว่า

“ตอนคิดไอเดีย ยังไม่ค่อยแน่ใจว่ามันไปในแนวไหน แต่พอได้ลงมือทำเป็นคลิปถ่ายทอดออกมา มันชัดเจนขึ้น”
.
3. ทุกคนมีดี มีของในตัวเอง จงแสดงออกมาอย่างมั่นใจ การแสดงออกทางคำพูด น้ำเสียง ท่าทาง มักจะเป็น First impression โดยเฉพาะเวลาเราเรียนจบและไปทำงานจริง
.
แม้เราจะกลัว หรือไม่มั่นใจแค่ไหน แต่อย่าแสดงความประหม่าออกมา หรือแสดงให้น้อยที่สุด พยายามเก็บมันเอาไว้
.
แม้ว่าอาจผิดพลาดตรงไหนไป แต่ถ้าเราถ่ายทอดออกมาด้วยความมั่นใจ คนฟังอาจคล้อยตามเราได้ และเราจะเชื่อมั่นมากขึ้น หลังจากนั้นเราค่อยอธิบายอีกครั้งเมื่อรู้ตัวว่าพลาด
.

4. อีกข้อ เกรดที่ได้ ไม่ได้บ่งบอกว่าใครเก่งไม่เก่ง ใครฉลาดไม่ฉลาด
.

แต่บ่งบอกได้ว่า ณ ขณะนั้น เราทำแบบทดสอบได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ได้ชี้วัดถึงอนาคต วันนี้อาจยังไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่วันข้างหน้า อาจจะเข้าใจได้มากขึ้น
.
อย่างอาจารย์เอง เรียนปเอกจากจีนไม่จบ เลยกลับไทยมาทำธุรกิจและเรียนปเอกที่ไทย
.
หัวข้อวิจัยที่ได้ทำในจีนตอนนั้น เกี่ยวข้องกับเรื่อง Trust ความเชื่อมั่น ในระบบคอมพิวเตอร์ P2P มันก็คือ concept ของ Bitcoin และ Blockchain แต่ขณะนั้นผมไม่เข้าใจมันจริงๆ ทำไม่ได้ เลยขอลาออก
.
ต่อมา มีประสบการณ์มากขึ้น เรียนรู้มากขึ้น ก็ทำให้เข้าใจมันได้อีกครั้ง และถ่ายทอดเป็นเนื้อหาหนึ่งในคอร์สนี้ได้

ขอบคุณครับ

อ.ภากร กัทชลี (อ.ปอ)

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]