• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • #อ้ายจงเล่าการตลาด เปิดความลับ 4 ข้อ สร้าง Content ให้มีคนติดตาม แก้ปัญหา รู้สึก…

#อ้ายจงเล่าการตลาด เปิดความลับ 4 ข้อ สร้าง Content ให้มีคนติดตาม แก้ปัญหา รู้สึก…

#อ้ายจงเล่าการตลาด เปิดความลับ 4 ข้อ สร้าง Content ให้มีคนติดตาม แก้ปัญหา รู้สึกว่า “โดนปิดกั้นการมองเห็น” ในยุคที่ใครๆก็ทำเพจ แข่งขันสูง / เคล็ดไม่ลับที่ใช้ได้ทุกตลาดทั่วโลก
.
ตั้งแต่ต้นปี ที่ไทยเริ่มกลับมาเจอผู้ป่วยโควิดอีกรอบ มีคนที่หันมาทำธุรกิจออนไลน์จำนวนมาก แน่นอนว่าหนึ่งในสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนรู้จักธุรกิจของเรา คือการทำ Content อย่างบน Facebook Page มีคนจำนวนไม่น้อยทั้งรู้จักผมเป็นการส่วนตัว และรู้จักในฐานะอ้ายจง คนทำสื่อออนไลน์ ทักเข้ามาถามว่า
.
“ควรงัดกลยุทธ์ Content Marketing อะไร? มาใช้ในยุคโควิด ซึ่งกำลังโดนกระหน่ำจากการเปลี่ยนอัลกอริทึมแสดงเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม Facebook ที่หลายคนเริ่มพบยอด reach ยอด engagement น้อยลง อย่างน่าใจหาย”
.
จากประสบการณ์ในการทำเพจและการตลาดออนไลน์ทั้งไทยจีน ผมขอสรุประมาณ

#1 Content is King but Context is God” เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้ทุกสถานการณ์
.
ตัวแปรสำคัญ ได้แก่ Context
.
เราต้องหาให้เจอว่าในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ กลุ่มผู้รับสารที่เรากำลังจะทำ Content ไปเสิร์ฟเขา คือใคร เขากำลังอยู่ในอารมณ์ไหน สถานการณ์แบบไหน สนใจอะไร เกี่ยวโยงอย่างไรกับเราทั้งทางตรง ทางอ้อม อ้อมมาก อ้อมน้อย ก็ว่าไป
.

#2 ทำ Content ให้ตรงตาม Context บนพื้นฐาน “ทำ Content ใส่ใจคนทำไปถึงใจคนรับ”
.
ไม่ใช่เน้นขาย เน้นโปรโมทในมุมของคนส่งสารอย่างเดียว แต่ต้องสื่อสารให้คนอ่าน รู้สึกถึงการเอาใจใส่ การเปิดพื้นที่ให้ผู้รับสารได้ตัดสินใจเกี่ยวกับสารที่เราส่งไป ไม่ใช่เป็นความรู้สึกว่า ถูกยัดเยียด ให้เขารับสารนั้น
.
#3 การทำ Content ในยุคการปรับอัลกอริทึมของแพลตฟอร์มใหญ่อย่าง Facebook ที่หลายคนเชื่อว่า “กำลังถูกปิดกั้นการมองเห็น” ต้องแก้เกมด้วย “ทำ Content แบบใส่ใจ บนพื้นฐานการเล่าเรื่อง Storytelling”
.
มีนักการตลาดและคนทำเพจน้อยใหญ่ กำลังพูดถึงประเด็น

“Facebook กำลังให้ความสำคัญกับ Facebook account แบบตัวบุคคล มากกว่าเพจ” เป็นที่มาของการโพสต์อะไรในโพสต์ คนก็เห็นน้อยลง
.
ข้อนี้ ผมมองว่า เป็นเรื่องของการแข่งขันที่สูงขึ้นด้วย ใครๆก็ทำเพจ เพจใหม่เกิดขึ้นเยอะมาก ประกอบกับตัว Facebook เอง และตัวผู้ใช้งาน Facebook ต่างต้องการ Content ที่หลากหลาย ไม่มีใครอยากดูโฆษณาตลอดเวลา (และถ้าจะให้โฆษณา ก็ต้องจ่ายเงินให้กับ Facebook สิ นี่คือแนวคิดของเจ้าของ Platform หากยอดเข้าถึงน้อย Boost Post สิ ? )
.
บอกเลยว่า ไม่ใช่แค่ Facebook แต่โซเชียลมีเดียอื่น ก็เป็น
.
ขอยกตัวอย่าง Weibo ของจีน

ถ้าเราเอาแต่เขียน content ที่มีเนื้อหาโปรโมทผลิตภัณฑ์หรือบริการแบบเยอะเกินไป อ่านแล้วรู้เลยว่าขายของ ประชาสัมพันธ์ Weibo จะปิดกั้นโพสต์นั้น ไม่ให้คนอื่นเห็นเลย แม้แต่คนที่กด Follow ก็ตาม
.
โดย Weibo จะมีการตรวจสอบคำ “Sensitive” ที่เกี่ยวกับการขาย การโฆษณา โดยอัตโนมัติ ผสมกับการตรวจเช็คในฐานข้อมูลว่า “สินค้าหรือบริการที่เอ่ยถึงในบทความ มีการลงทะเบียนในฐานข้อมูลแล้วหรือยัง”
.
ทางออกของการทำตลาดด้วยการโพสต์ Content บน Weiboในจีน จึงออกมาในรูปแบบของการเล่าเรื่องให้เกี่ยวเนื่องกับความสนใจ ชีวิตประจำวัน หรือเรื่องทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่การขายของแบบโต้งๆ
.
กลับมาที่การทำ Content เพื่อผลทางการตลาด บน Facebook และตลาดออนไลน์บ้านเรา ควรเป็นไปในทางเดียวกันกับเคสจีน
.
เราต้องทำการตลาดผ่านเนื้อหาแบบใส่ใจ ใส่ใจรายละเอียด สนใจในบริบทของเป้าหมายมากขึ้น
.
#4 ทำ Content แบบเล่าเรื่อง Storytelling
.
แม้เป็นเพจ เป็นแบรนด์ แต่เล่าออกมาเสมือนเป็นคนคนหนึ่ง มีการสร้างตัวละคร เหมือนคนเล่าให้คนฟัง ไม่ใช่แบบทางการ การเข้าถึงและมีส่วนร่วมบน Facebook ไม่ลดน้อยลงไปกว่าเดิม ในทางกลับกัน กลับดีขึ้นด้วยซ้ำในหลายเนื้อหา”
.
ลองนึกถึงเคส เพจ KFC ประเทศไทย ที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องการตอบ การโพสต์เนื้อหาของแอดมิน ที่เรา connect ด้วยแล้วรู้สึกเหมือนคุยกับคนรู้จัก เพื่อนสนิท
.
หรือเคสของเพจวง Potato ที่เราเห็นเพจนี้ไปปรากฎแทบทุกที่บน Facebook มีการโต้ตอบ โพสต์แบบเป็นกันเอง ให้ความรู้สึกใกล้ชิดกับศิลปินจริงๆ ไม่ใช่แค่เป็นเพจทางการ นำเสนอแต่ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์วงเท่านั้น
.
หวังว่าโพสต์นี้พอจะจุดประกายไอเดียในการทำการตลาดเชิงเนื้อหายุควิกฤติแก่ทุกท่านได้ หากมีคำถามหรือต้องการแชร์ไอเดีย ร่วมแสดงความคิดเห็นและโพสต์ได้เลยครับ ^^

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #การตลาดออนไลน์ #ไทย #จีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]