‘จู้หรง’ ยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคาร เดินทางถึงพื้นที่ซับซ้อน | XinhuaThai

(แฟ้มภาพซินหัว : จู้หรง ยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารลำแรกของจีน ถ่ายภาพเซลฟีกับแพลตฟอร์มลงจอดบนดาวอังคาร ภาพจากองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน วันที่ 11 มิ.ย. 2021)

ปักกิ่ง, 30 ก.ค. (ซินหัว) — ศูนย์สำรวจดวงจันทร์และโครงการอวกาศ สังกัดองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน เปิดเผยว่าหลังจากเสร็จสิ้นการสำรวจเนินทรายแห่งที่ 2 จู้หรง (Zhurong) ยานสำรวจพื้นผิวดาวอังคารของจีน ได้เดินทางไปทางทิศใต้และมาถึงภูมิประเทศซับซ้อนซึ่งเต็มไปด้วยหิน หลุมอุกกาบาต และเนินทราย

ศูนย์ควบคุมภาคพื้นโลกจะทำการวางตำแหน่งภาพและวางแผนเส้นทางตามภาพภูมิประเทศที่ถ่ายโดยจู้หรงในทุกๆ วัน  เพื่อควบคุมจู้หรงให้สำรวจพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย โดยเมื่อจู้หรงเดินทางถึงพื้นที่ซึ่งอาจมีความสำคัญต่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เครื่องตรวจจับองค์ประกอบบนพื้นผิวและกล้องบันทึกภาพมัลติสเปกตรัมก็จะทำการตรวจจับพื้นที่ดังกล่าว

นอกจากนั้น จู้หรงจะเปิดเรดาร์ใต้พื้นดิน เครื่องมือตรวจวัดทางอุตุนิยมวิทยา และเครื่องตรวจจับสนามแม่เหล็กพื้นผิว เพื่อทำการตรวจจับระหว่างการสำรวจ

หากนับจนถึงวันที่ 30 ก.ค. 2021 จู้หรงทำงานบนพื้นผิวดาวอังคารนาน 75 วันของดาวอังคารแล้ว ขณะที่ยานโคจรทำการโคจรรอบดาวอังคารเป็นเวลา 372 วัน ซึ่งทั้งจู้หรงและยานโคจรอยู่ในสภาพดีและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่

อนึ่ง หนึ่งวันบนดาวอังคารยาวนานกว่าหนึ่งวันบนโลกราว 40 นาที

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :

Xinhua

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]