• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • ชีวิตในจีน (มุมบวก): “คนจีนขี้บ่น เพราะหวังดี แม้ไม่รู้จักกันมาก่อน” และเรื่องรา…

ชีวิตในจีน (มุมบวก): “คนจีนขี้บ่น เพราะหวังดี แม้ไม่รู้จักกันมาก่อน” และเรื่องรา…

ชีวิตในจีน (มุมบวก): “คนจีนขี้บ่น เพราะหวังดี แม้ไม่รู้จักกันมาก่อน” และเรื่องราวของคนจีนหลากหลายมุมที่เราอาจไม่เคยสังเกตมาก่อน

—–

มีคนเคยถามอ้ายจงอยู่บ่อยๆว่า “มุมมองจองอ้ายจงที่มีต่อคนจีน เป็นอย่างไร?” วันนี้เลยขอเล่เรื่องราวเล็กๆประสบการณ์ตรงของตนเองในเมืองจีน มาบอกเล่า ที่ทุกคนน่าจะได้ข้อคิดและเรียนรู้นิสัยคนจีนจากเรื่องเหล่านี้
.
1. เรื่องแรก เป็นเรื่องที่ทุกคนที่เคยรู้จักคนจีนหรือเคยอยู่จีน คงเคยเจอ คือ เป็นที่รู้กันในหมู่คนที่รู้จักคนจีน จะทราบว่า คนจีนมักมีนิสัยอย่างหนึ่งที่เราพบได้บ่อย “คนจีนมักจะชอบแสดงความคิดเห็น แม้ว่าจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อนก็ตาม”
.
อ้ายจงยอมรับว่า เคยรู้สึกว่า “เอ๊ะ ทำไมเขาถึงแบบยุ่งอะไรกับเรา บางคนไม่รู้จักด้วยซ้ำ แต่ก็บอกให้ทำนู่นนี่” แต่ถ้าเราลองหยุดคิด เราจะพบว่า หลายต่อหลายครั้งสิ่งที่เขาบอก ที่แสดงความคิดเห็น ที่เสนอแนะ คือบอกจากใจจริง หวังดี และมีน้ำใจมากทีเดียว
.
อย่างเช่น ช่วงปลายเดือนตุลาคมของทุกปี อากาศที่ซีอานเริ่มหนาว แต่ปกติ เวลาอ้ายจงออกจากคอนโด ก็จะชินใส่กางเกงขาสั้น เพราะแค่เดินออกมาซื้อของใต้ตึก ก็มักจะมีคนในลิฟต์ บอกว่า “ทำไมใส่ขาสั้นล่ะ ไม่โอเคเลย ไม่หนาวหรือไง ไปๆไปเปลี่ยนมา” คือพูดและทำสีหน้าจริงจัง เมื่อเดินออกจากลิฟต์ก็ยังแอบบ่นงึมงัมต่อ 55
.
ตอนอยู่ที่ซีอาน มีอยู่วันหนึ่ง อ้ายจงนัดกับเจ้าของห้องที่อ้ายจงเช่าคอนโดนี่แหล่ะ ไปทำธุระข้างนอกด้วยกัน อ้ายจงก็ใส่เสื้อแขนยาวตัวเดียว เจ้าของห้องวัยประมาณ 40 กว่าๆ ทำหน้าดุใส่และพูดจริงจังว่า “รอชั้นล่างนะ ขึ้นไปใส่เสื้อผ้าหนาๆมา เดี๋ยวรอตรงนี้” คือบอกว่า ไม่เป็นไร สบายๆ ก็ไม่ยอม แล้วก็บ่นๆ ต่อ ตามสไตล์พี่จีน 55
.
หลายคนเจอเหตุการณ์แบบนี้ อาจจะคิดว่า ยุ่งไรด้วย อย่างที่เขียนไปข้างบน ตัวอ้ายจงเองก็เคยคิดแบบนั้น แต่เราก็ต้องมองหลายๆมุมเนอะ ว่าที่เขาพูด คือแง่ไหน
.
2. เรื่องที่สอง ความตรงไปตรงมาของคนจีน
.
ขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่อ้ายจงออกไปทำธุระนอกบ้านขณะฝนตก พอเข้าไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ก็เอาร่มวางไว้ตรงที่เก็บร่ม ขากลับ อ้ายจงหยิบร่ม และก็เดินออกมาตามปกติ แต่ผ่านไปสักไม่ถึงนาที มีผู้หญิงคนหนึ่งวิ่งตามมา และบอกว่า
.
“ร่มนี้ของคุณ ร่มของเราสีเหมือนกัน แบบเดียวกัน แต่ไม่ใหม่แบบนี้ ของฉันเก่าแล้ว” คือ อ้ายจงหยิบร่มผิดมา และนี่คือความตรงไปตรงมาของคนจีน แม้จะได้ร่มคันใหม่กว่าเดิม แต่ก็รีบเอามาคืน
.
3. ความเอาใจใส่ในหน้าที่ที่ตนได้รับ
.
ตอนอยู่ที่ซีอาน อ้ายจงมักจะไปกินสเต็กที่ร้านหนึ่งอยู่เป็นประจำ ปกติแล้วเวลาไปกินสเต็กร้านนี้ เราจะต้องเอากระดาษทิชชูที่ทางร้านเตรียมไว้ มากางออก เพื่อป้องกันสเต็กในกะทะร้อนกระเด็นมาโดนตัวเรา
.
“ตามกฎของร้านนี้ถ้าเราไม่ทำแบบนี้ เขาจะไม่ยอมเสิร์ฟให้เรา”
.
เรื่องของเรื่องคือวันนั้น คนที่ไปกับอ้ายจง เขาลุกไปข้างนอก เมื่อพนักงานมาเสิร์ฟจึงไม่มีคนกางกระดาษทิชชูแบบในรูปที่ 2 และ 3
.
พออ้ายจงจะไปทำแทน แต่พนักงานบอกว่าไม่เป็นไร มันร้อน เดี๋ยวกระเด็นโดนตัวอ้ายจง แล้วพนักงานก็มาจัดการให้เองแบบที่เห็น และถืออยู่นานพอควรจนมั่นใจว่าในกะทะสเต็กร้อนๆ จะไม่มีอะไรกระเด็นออกมาโดนของที่วางไว้บนเก้าอี้
.
ถือเป็นเรื่องราวเล็กๆที่สื่อถึง “ความเอาใจใส่ในหน้าที่ของตนเอง” ที่น่าประทับใจครับ
.
เมื่ออ่านจนถึงตรงนี้ ผมอยากจะบอกว่า ที่เขียนมา คือเล่าประสบการณ์มุมบวก คือเอาจริงๆ เราจะมองว่า มันเป็นการยุ่งจนเกินไปก็ได้เหมือนกัน อย่างที่เขามายุ่งมาอะไรกับเรา ซึ่งบางคนถ้ามีมากไป ก็เลี่ยงๆ หรือไม่ต้องไปสนใจก็สามารถทำได้ครับ แต่ถ้ามองในมุมของคนที่พอรู้จักกัน หรือคุ้นเคยกันแล้ว หรือเป็นการยุ่ง แต่ก่อให้เกิดเชิงบวกกับตัวเรา มันก็น่าจะโอเค อันนี้ในมุมผมนะ
.
และทุกที่ ทุกประเทศ ก็ย่อมมีเรื่องราวทั้งดีไม่ดี มีคนดีไม่ดี ปะปนกันไปเสมอ อย่างเรื่องไม่ดี ก็พบเจอเช่นกัน จนบางครั้งทำให้มองเชิงลบไปชั่วขณะด้วยซ้ำ แต่อย่างที่ย้ำเสมอทุกสิ่งไม่ได้มีแค่มุมเดียว หากเรามองหลายๆมุม เราก็จะได้เรียนรู้จากสิ่งที่เกิด ทั้งดีและไม่ดี ใจเราก็ไม่ขุ่นมัวด้วย เพราะชีวิตเราไม่แน่นอน อย่าไปเสียเวลาทำให้ใจขุ่นมัวกับบางเรื่อง
.
เดี๋ยววันหลังจะมาเล่าในมุมเชิง Negative หรือเรื่องที่ไม่ค่อยน่าประทับใจนักที่เคยได้เจอมา เล่าเป็นอุทาหรณ์ รวมถึงจะเล่าในมุมถ้าหากทำงานหรือทำธุรกิจกับจีน มีอะไรที่เคยได้เจอมาบ้าง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนที่ต้องทำงานหรือทำธุรกิจกับจีนครับ
.
สำหรับโพสต์นี้ หวังว่า ทุกคนที่อ่านจนจบ จะได้อะไรกลับไปบ้างไม่มากก็น้อย ร่วมแชร์ประสบการณ์ในจีน หรือที่มีต่อคนจีนได้นะครับ

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน



ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]