กว่างซีเคาะ “ค่าแรงขั้นต่ำ” ใหม่ ขยับขึ้นเฉลี่ย 9% ดีเดย์ 1 มี.ค. ศกนี้

ไฮไลท์

  • ประเทศจีนในวันนี้กำลังจะสิ้นสุดยุคสินค้าและค่าแรงถูกแล้ว อุตสาหกรรมการผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ยุคสมัยที่การผลิตมุ่งเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยุคสมัยที่ธุรกิจ(ต่างชาติ)ต้องหันมามองจีนในฐานะ “ตลาดผู้บริโภค” ขนาดใหญ่มากกว่าการมองว่าจีนเป็น “โรงงานโลก” อย่างเช่นในอดีต
  • รัฐบาลกว่างซีมีมติให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกพื้นที่ในมณฑล เฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 9% โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยการปรับขึ้นครั้งนี้ใช้เกณฑ์การพิจารณาจากอัตราค่าครองชีพ โดยเฉพาะรายจ่ายในการดำรงชีพของประชาชนเขตเมือง สัดส่วนการนำส่งเงินประกันสังคมของพนักงาน เงินกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัย เงินเดือนเฉลี่ยของพนักงาน และระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสอดคล้องกับ “แผนการเพิ่มรายได้เฉลี่ยที่ใช้จ่ายได้เป็นเท่าตัวของประชากรเขตเมือง” ที่ระบุถึงการปรับเกณฑ์ค่าแรงขั้นต่ำอย่างน้อยทุก 2 ปี เพื่อสร้างหลักประกันการดำรงชีวิตของผู้ที่มีรายได้ต่ำให้เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

 

รัฐบาลกว่างซีมีมติให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกพื้นที่ในมณฑล เฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 9% โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป

ค่าแรงขั้นต่ำเป็นเงินรายได้ขั้นต่ำสุดที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้กับลูกจ้าง ซึ่งไม่ครอบคลุมเงินค่าล่วงเวลาและค่าสวัสดิการอื่นๆ อาทิ เงินประกันสังคม (ในส่วนของนายจ้าง) เงินอุดหนุน เงินรางวัล และรายรับที่มิใช่เงินตรา (เสื้อผ้าและอาหาร)

นับตั้งแต่ปี 2538 กว่างซีได้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมาแล้ว 13 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดปรับขึ้นเมื่อปี 2561 สำหรับการปรับขึ้นในครั้งนี้ รัฐบาลกว่างซีใช้เกณฑ์การพิจารณาจาก (1) อัตราค่าครองชีพ โดยเฉพาะรายจ่ายในการดำรงชีพของประชาชนเขตเมือง (2) สัดส่วนการนำส่งเงินประกันสังคมของพนักงาน (3) เงินกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัย (4) เงินเดือนเฉลี่ยของพนักงาน และ (5) ระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสอดคล้องกับ “แผนการเพิ่มรายได้เฉลี่ยที่ใช้จ่ายได้เป็นเท่าตัวของประชากรเขตเมือง” ที่ระบุถึงการปรับเกณฑ์ค่าแรงขั้นต่ำอย่างน้อยทุก 2 ปี เพื่อสร้างหลักประกันการดำรงชีวิตของผู้ที่มีรายได้ต่ำให้เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าครั้งนี้จะมีการปรับขึ้นต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15

การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นสัญญาณที่สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศจีนในวันนี้กำลังจะสิ้นสุดยุคสินค้าและค่าแรงถูกแล้ว อุตสาหกรรมการผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ยุคสมัยที่การผลิตมุ่งเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยุคสมัยที่ธุรกิจ(ต่างชาติ)ต้องหันมามองจีนในฐานะ “ตลาดผู้บริโภค” ขนาดใหญ่มากกว่าการมองว่าจีนเป็น “โรงงานโลก” อย่างเช่นในอดีต ตลาดผู้บริโภคที่มีความหลากหลายและศักยภาพในการจับจ่ายใช้สอยมหาศาล

 

 

จัดทำโดย : นายกฤษณะ สุกันตพงศ์ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
แหล่งที่มา : เว็บไซต์ www.gx.xinhuanet.com (广西新华网) ประจำวันที่ 20 มกราคม 2563
ภาพประกอบ: www.pixabay.com

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]