องค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (CNSA)

องค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(China National Space Administration – CNSA)

ที่อยู่: No.8 Fucheng Road, Haidian District, Beijing, 100048

เว็บไซต์: http://www.cnsa.gov.cn/

(1) โครงสร้างผู้บริหารองค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

จาง เคอเจี้ยน (张克俭)
– ผู้อำนวยการองค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
อู๋ เยี่ยนหวา (吴艳华)
– รองผู้อำนวยการองค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ฉวี หงเลี่ยง (许洪亮)
– หัวหน้าเลขานุการองค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(2) โครงสร้างองค์กรขององค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

หน่วยงานภายใน

  1. สำนักงานกลาง (Department of General Administration)
  2. สำนักงานการพัฒนาและวางแผน (Department of Development and Planning)
  3. สำนักงานวิศวกรรมระบบ (Department of System Engineering)
  4. สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการควบคุมคุณภาพ (Department of Science, Technology and Quality Control)
  5. สำนักงานกิจการต่างประเทศ (Department of Foreign Affairs)
  6. สำนักงานประสานงาน (Department of Coordination)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. ศูนย์การสำรวจดวงจันทร์และวิศวกรรมอวกาศ (Lunar Exploration and Space Program Center)
  2. ศูนย์ข้อมูลและหอสังเกตการณ์โลก (Earth Observation System and Data Center)
  3. ศูนย์สาธิตการรับรู้ระยะไกลในอวกาศ (Space Remote Sensing Demonstration Center)
  4. ศูนย์ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร (News promotion center)
  5. ศูนย์ตรวจสอบและการประยุกต์ใช้เศษซากอวกาศ (Space Debris Monitoring and Application Center)
  6. ศูนย์ทดสอบการประกอบดาวเทียม (Satellite Assembly Integration Testing Center)
  7. ศูนย์กฎหมายอวกาศ (Space law center)
  8. สมาคมอวกาศจีน (Chinese Society of Astronautics)
  9. สมาคมการประยุกต์ใช้การรับรู้ระยะไกลจีน (China Association of Remote Sensing Application)
  10. สมาคมกฎหมายอวกาศจีน (China Institute of Space Law)
  11. มูลนิธิอวกาศจีน (China Space Foundation)

(3) แผนพัฒนาองค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13

องค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบด้านการจัดการอากาศยานพลเรือนและความร่วมมือด้านอวกาศระหว่างประเทศ ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดการที่สอดคล้องกันกับนโยบายของรัฐบาล มุ่งมั่นพัฒนา ประสานงาน บริหารจัดการให้อุตสาหกรรมกิจการการบินและอวกาศมั่นคง เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการจัดกิจกรรมหรือเป็นผู้นำการแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านการบินและอวกาศระหว่างประเทศ

1) ภารกิจระยะ 5 ปี

ในอีกห้าปีข้างหน้าจีนพัฒนาประเทศด้วยการเร่งพัฒนาอุตสหกรรมอวกาศ โดยจะเพิ่มขีดศักยภาพความสามารถพื้นฐานของอุตสาหกรรมอวกาศอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการวิจัยเทคโนโลยีที่สำคัญและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย โครงการที่สำคัญ ๆ เช่น การสำรวจดวงจันทร์ ระบบนำทางดาวเทียม Beidou ระบบสังเกตการณ์โลกความละเอียดสูง โครงการยานนำส่งรุ่นใหม่ เปิดตัวและเริ่มดำเนินการโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญๆ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศอย่างรอบด้าน

2) นโยบายและมาตรการในการพัฒนา

รัฐบาลจีนได้กำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อมุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ สนับสนุนในส่วนของนโยบาย สร้างสภาพแวดล้อมการพัฒนาที่ดี เพื่อผลักดันและพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและอวกาศอย่างยั่งยืน

องค์การอวกาศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบด้านการจัดการอากาศยานพลเรือนและความร่วมมือด้านอวกาศระหว่างประเทศ ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดการที่สอดคล้องกันกับนโยบายของรัฐบาล มุ่งมั่นพัฒนา ประสานงาน บริหารจัดการให้อุตสหกรรมกิจกรรมการบินและอวกาศมั่นคง เป็นระเบียบเรียบร้อย และเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการจัดกิจกรรมหรือเป็นผู้นำการแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านการบินและอวกาศระหว่างประเทศที่รับผิดชอบการจัดการพื้นที่พลเรือนและความร่วมมือระหว่างประเทศในพื้นที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่การจัดการที่สอดคล้องกับรัฐบาล

  1. ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างและการประยุกต์ใช้โครงสร้างพื้นฐานอวกาศสนับสนุนการสำรวจอวกาศและวิทยาศาสตร์อวกาศ
  2. เพิ่มขีดศักยภาพของนวัตกรรมการบินและอวกาศ
  3. ส่งเสริม และเพิ่มขีดศักยภาพของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศอย่างรอบด้าน
  4. เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมการประยุกต์ใช้ดาวเทียม
  5. มุ่งเน้นเสริมสร้างโครงสร้างของกฎหมายและข้อบังคับ
  6. พัฒนาระบบและกระจายการลงทุนด้านการบินและอวกาศ ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับทุนทางสังคม พัฒนาและแก้ไขระบบการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการด้านการบินและอวกาศ
  7. เร่งสร้างทีมงานบุคลากรการบินและอวกาศที่มีความรู้ความสามารถระดับสูง
  8. พัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์การบินและอวกาศอย่างจริงจัง

3) การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศ

ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา จีนได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านอวกาศทั้งสิ้น จำนวน 43 ฉบับ หรือบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) กับอีก 29 ประเทศและหน่วยงาน องค์กรอวกาศระหว่างประเทศ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการโดยสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจด้านอวกาศระหว่างประเทศ

4) ขอบเขตความร่วมมือหลักในอีก 5 ปีข้างหน้า

ในอีกห้าปีข้างหน้าจีนจะเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างขึ้นโดยจะดำเนินการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างประเทศในประเด็นหลักๆสำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. การก่อสร้าง “One Belt, One Road” ทางเดินข้อมูลเชิงพื้นที่รวมถึงการสังเกตการณ์ดาวเทียม การแพร่ภาพผ่านดาวเทียม การพัฒนาการนำทางและการบอกพิกัดตำแหน่ง และการพัฒนาการประยุกต์ใช้ ฯลฯ
  2. การสร้างดาวเทียมสำรวจระยะไกลกลุ่มประเทศ BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน แอฟริกาใต้ )
  3. องค์การความร่วมมือด้านอวกาศแห่งเอเชียแปซิฟิก ภารกิจกลุ่มดาวเทียมขนาดเล็กและการสร้างดาวเทียมขนาดเล็กสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย
  4. ความร่วมมือทางเทคโนโลยี โครงการสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคาร
  5. การก่อสร้างห้องปฏิบัติการอวกาศ สถานีอวกาศ
  6. การพัฒนาดาวเทียมวิทยาศาสตร์อวกาศ ดาวเทียมสำรวจระยะไกล และมีศักยภาพในด้านการบรรทุกลำเลียง
  7. การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภาคพื้นดิน เช่น สถานีรับข้อมูลและเกตเวย์การสื่อสาร
  8. การประยุกต์ใช้ดาวเทียมในการสังเกต การกระจายสัญญาณ การสื่อสาร การนำทางและการระบุพิกัดตำแหน่ง
  9. การวิจัยการสำรวจอวกาศ
  10. การปล่อยยานอวกาศและรวมไปถึงการบรรทุกลำเลียง
  11. สนับสนุนมาตรฐานการควบคุมการบิน
  12. การตรวจสอบขยะอวกาศ การแจ้งเตือน การบรรเทา รวมไปถึงการป้องกัน
  13. ความร่วมมือในด้านสภาพอากาศในอวกาศ
  14. นำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์และความร่วมมือทางเทคโนโลยี เช่น ตัวดาวเทียม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบย่อยการปล่อยตัวจรวดและการขนส่งลำเลียงดาวเทียม อุปกรณ์อำนวยความสะดวกภาคพื้นดิน ฯลฯ
  15. การวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายอวกาศ นโยบายอวกาศ และมาตรฐานการบินและอวกาศ
  16. การแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมบุคลากรในสาขาการบินและอวกาศ
อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]