กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

(Ministry of Natural Resources of the People’s Republic of China – MNR)

ที่อยู่: 64 Funei Street, Xicheng District, Beijing, China, 100804

โทร: (86)-10-63882118, เว็บไซต์: http://www.mnr.gov.cn/

(1) โครงสร้างผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

陆昊 (ลู่ ห้าว)
– รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
凌月明 (หลิง เยว่หมิง)
– รัฐมนตรีช่วยฯ
王宏 (หวัง หง)
– รัฐมนตรีช่วยฯ
– ผู้อำนวยการสำนักงานแห่งรัฐเพื่อการบริหารมหาสมุทร
王广华 (หวัง กวางฮวา)
– รัฐมนตรีช่วยฯ
陈尘肇 (เฉิน เฉินจ้าว)
– รองผู้ตรวจการทรัพยากรธรรมชาติแห่งชาติ
罗志军 (หลัว จื่อจุน)
– หัวหน้าทีมตรวจสอบและกำกับดูแลวินัย
庄少勤 (จวง เส่าฉิ่น)
– รัฐมนตรีช่วยฯ
钟自然 (จง จื้อหราน)
– ผู้อำนวยการสำนักงานการสำรวจทางภูมิศาสตร์แห่งชาติ
– คณบดีสถาบันธรณีวิทยาแห่งชาติ
关志鸥 (กวน จื้อโอ่ว)
– ผู้อำนวยการสำนักงานป่าไม้และทุ่งหญ้าแห่งชาติ (องค์การบริหารอุทยานแห่งชาติ)

(2) โครงสร้างองค์กรของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

หน่วยงานภายใน

  1. สำนักงานป่าไม้และทุ่งหญ้าแห่งชาติ (State Forestry and Grassland Administration)
  2. สำนักงานการสำรวจทางภูมิศาสตร์แห่งชาติ (China Geological Survey)
  3. สำนักงานกลาง (General Office)
  4. กรมการพัฒนาและการวางแผน (Department of Development and Planning)
  5. กรมการกฎหมายและกฎระเบียบ (Department of Laws and Regulations)
  6. กรมการสำรวจและตรวจสอบทรัพยากรธรรมชาติ (Department of Natural Resources Survey and Monitoring)
  7. สำนักงานทะเบียนสิทธิทรัพยากรธรรมชาติ (Bureau of Resources Right Confirmation Registry)
  8. กรมการสิทธิและผลประโยชน์ทรัพยกรธรรมชาติ (Department of Natural Resources Owners’ Rights and Interests)
  9. กรมการพัฒนาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (Department of Natural Resources Development and Utilization)
  10. สำนักงานแผนการใช้ที่ดินและพื้นที่(Bureau of Land and Space Planning)
  11. กรมการควบคุมการใช้ที่ดินและพื้นที่ (Department of Land and Space Use Control)
  12. กรมการฟื้นฟูพื้นที่ระบบนิเวศน์ (Department of Land Spatial Ecological Restoration)
  13. กรมการปกป้องและตรวจสอบการใช้ที่ดินเพื่อการเพาปลูก (Department of Cultivated Land Protection and Supervision)
  14. กรมการจัดการการสืบค้นทางภูมิศาสตร์ (Department of Geological Exploration Management)
  15. กรมการจัดการกรรมสิทธิ์เหมืองแร่ (Department of Mining Rights Management)
  16. กรมการปกป้องและตรวจสอบการใช้ทรัพยากรแร่ (Department of Mineral Resources Protection and Supervision)
  17. กรมแผนงานยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจทางมหาสมุทร (Department of Marine Strategic Planning and Economics)
  18. กรมการจัดการเกาะและมหาสมุทร (Department of Marine Island Management)
  19. กรมการตรวจสอบและเตือนภัยล่วงหน้าทางมหาสมุทร (Department of Marine Early Warning and Monitoring)
  20. กรมการแผนที่และสำรวจที่ดิน (Department of Land Surveying and Mapping)
  21. กรมการจัดการข้อมูลภูมิศาสตร์ (Department of Geographic Information Management)
  22. สำนักงานกลางตรวจสอบการทรัพยากรธรรมชาติ (Office of the State Inspector General of Natural Resources)
  23. สำนักงานการบังคับใช้กฎหมาย (Bureau of Law Enforcement)
  24. กรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Department of Science and Technology Development)
  25. กรมการความร่วมมือระหว่างประเทศ (Department for International Cooperation (Department for Marine Rights)
  26. กรมการคลังและการใช้ทรัพย์สิน (Department of Finance and Capital Use)
  27. กรมการบุคลากร (Department of Personnel)
  28. คณะกรรมการพรรคฯ (Party Committee)
  29. สำนักงานบุคลากรผู้เกษียณอายุ (Bureau of Retired Cadre)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. ศูนย์บริการ (Logistics Service Bureau)
  2. ศูนย์ที่ปรึกษาด้านงานวิจัย (Consulting and research center)
  3. ศูนย์ข้อมูล (Information Center)
  4. ศูนย์ข้อมูลมหาสมุทรแห่งชาติ (National Marine Data & Information Service)
  5. ศูนย์บริการทางการเงิน (Financial service center)
  6. ศูนย์ประชาสัมพันธ์การศึกษา (Publicity and education center)
  7. ศูนย์ประเมินผลการสำรองทรัพยากรแร่ (Mineral Resources Reserve Evaluation Center)
  8. ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development Center)
  9. ศูนย์บริหารจัดการเครืองประดับ (Natural Gems & Jewelry Technology Administrative Center)
  10. ศูนย์ฟื้นฟูที่ดิน (Land Consolidation and Rehabilitation Center)
  11. สถาบันเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ (Chinese Academy of National Resources Economics)
  12. สถาบันสำรวจและวางแผนที่ดินแห่งชาติ (Chinese land surveying and Planning Institute)
  13. สำนักพิมพ์ทางธรณีวิทยา (China Land Press)
  14. สำนักข่าวทรัพยากรธรรมชาติ (China Natural Resources News)
  15. พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาสาธารณรัฐประชาชนจีน (Geological Museum of China)
  16. ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์น้ำมันและก๊าซกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ (Strategic Research Center Of Oil And Gas Resources)
  17. ศูนย์จดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (Center Of Real Estate Registration in China)
  18. ศูนย์การจัดการกองทุนกลางธรณีวิทยา (The Administration of the Central Geological Exploration Fund (Working Capital)
  19. ศูนย์สำรวจตรวจสอบและจัดทำแผนที่เซ็นเซอร์ (Map Censor Center of State Bureau of Surveying and Mapping)
  20. ศูนย์วิจัยการสำรวจและจัดทำแผนที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ (Surveying and Mapping Development)
  21. สถาบันสำรวจและจัดทำแผนที่แห่งชาติ (Chinese Academy of Surveying and Mapping)
  22. ศูนย์ข้อมูลพื้นฐานทางภูมิศาสตร์แห่งชาติ (National Geomatics Center of China)
  23. ศูนย์การสำรวจที่ดินระยะไกลผ่านดาวเทียม (Land Satellite Remote Sensing Application Center)
  24. ศูนย์แนะแนวและทดสอบฝีมือแรงงาน (Guidance center of Vocational Qualification and Certification)
  25. ศูนย์ตรวจสอบและทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สำรวจและจัดทำแผนที่แห่งชาติ (National Quality Inspection and Testing Center for Surveying and Mapping Products)
  26. สถาบันการสำรวจและจัดทำแผนที่มหานครฉงชิ่ง (Chongqing Geomatics Institute)
  27. ศูนย์ฝึกอบรมการสำรวจและทำแผนที่เมืองซานย่า (Sanya Surveying and Mapping Technology Development Service Training Center)
  28. ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป่ยไต้เหอ (Beidaihe Nursing Home)
  29. สำนักพิมพ์แผนที่จีน (SinoMaps Press)
  30. สำนักงานสำรวจขั้วโลก (Chinese Arctic and Antarctic Administration)
  31. สมาคมวิจัยและพัฒนาทรัพยากรแร่ธาตุมหาสมุทรจีน (China Ocean Mineral Resources R & D Association)
  32. ศูนย์เทคโนโลยีทางทะเลแห่งชาติ (National Ocean Technology Center)
  33. ศูนย์พยากรณ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลแห่งชาติ (National Marine Environment Forecasting Center)
  34. ศูนย์วิจัยขั้วโลกสาธารณรัฐประชาชนจีน (Polar Research Institute of China)
  35. ศูนย์ตรวจวัดมาตรฐานทางทะเลแห่งชาติ (National Center of Ocean Standard and Metrology)
  36. ศูนย์การจัดการมหาสมุทรโดยการประยุกต์ใช้ดาวเทียมแห่งชาติ (National Satellite Ocean Application Center)
  37. ศูนย์ลดภัยพิบัติทางทะเล (National Marine Hazard Mitigation Service)
  38. ศูนย์ให้คำปรึกษาทางทะเล (Ocean Advisory Center)
  39. ศูนย์การจัดการฐานทะเลลึกแห่งชาติ (National Deep Sea Base Management Center)
  40. ศูนย์วิจัยเกาะ (Island Research Center)
  41. สถาบันสมุทรศาสตร์ที่ 1 (State Oceanic Administration No.1 Ocean Institute)
  42. สถาบันสมุทรศาสตร์ที่ 2 (State Oceanic Administration No.2 Ocean Institute)
  43. สถาบันสมุทรศาสตร์ที่ 3 (State Oceanic Administration No.3 Ocean Institute)
  44. สถาบันสมุทรศาสตร์ที่ 4 (ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลแห่งชาติจีน – อาเซียน) (State Oceanic Administration No.4 Ocean Institute (China-ASEAN National Marine Science and Technology Joint R&D Center)
  45. สถาบันกลั่นน้ำทะเลและการประยุกต์ใช้ประโยชน์อย่างรอบด้านเมืองเทียนจิน (Tianjin Institute of Sea Water Desalination and Multipurpose Utilization)
  46. สถาบันยุทธศาสตร์การพัฒนามหาสมุทร (Institute for Ocean Development Strategy)
  47. ฐานฝึกอบรมการสำรวจขั้วโลกแห่งชาติ (National Antarctic Investigation and Training Base)
  48. สำนักพิมพ์มหาสมุทธ (China Ocean Press)
  49. สำนักข่าวมหาสมุทรสาธารณรัฐประชาชนจีน (China Ocean News)
  50. ศูนย์การจัดการผังเมืองและชนบท (Urban and Rural Planning Management Center) (General Office)

(3) ภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติมีภารกิจตามแนวทางแผนงานตามหลักยุทธศาสตร์ที่กำหนดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของประเทศจีน ดังต่อไปนี้

  1. ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ประโยชน์จากที่ดิน เหมืองแร่ ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทรัพยากรธรรมชาติทางน้ำ ทะเลและมหาสมุทร และพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ จัดทำแผนงานและสำรวจพื้นที่ทรัพยากรและที่ดินทั้งประเทศ ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับขั้วโลกและทะเลน้ำลึก และจัดทำกฎกระทรวงเพื่อใช้ในการกำกับดูแล ตรวจสอบการดำเนินการต่างๆของกระทรวง
  2. รับผิดชอบด้านการสำรวจ ตรวจสอบ และตรวจประเมินทรัพยากรธรรมชาติ จัดทำดัชนีชี้วัดทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบและมาตรฐานเชิงสถิติ จัดตั้งระบบการสำรวจ ตรวจสอบและตรวจประเมินที่มีกฎเกณฑ์เป็นหนึ่งเดียวของประเทศ ดำเนินการสำรวจและตรวจสอบในระดับพื้นฐาน ระดับเฉพาะกิจ รับผิดชอบนำผลงานที่สำรวจ ตรวจสอบ และตรวจประเมินที่กำกับดูแลมาประชาสัมพันธ์ สื่อสาร ชี้แนะการทำงานด้านการสำรวจ ตรวจสอบ และตรวจประเมินทรัพยากรธรรมชาติให้กับหน่วยงานในภูมิภาค
  3. รับผิดชอบส่วนงานการลงทะเบียนยืนยันสิทธิแบบศูนย์รวมของทรัพยากรธรรมชาติ ทำการกำหนดกฎเกณฑ์ มาตรฐาน ระบบการประยุกต์ผล การไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง การจัดทำแผนที่อสังหาริมทรัพย์ การตรวจสอบสิทธิของทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท และการลงทะเบียนยืนยันสิทธิแบบศูนย์รวม การสร้างแพลตฟอร์มที่มีพื้นฐานข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติทั้งประเทศและการจัดการข้อมูลการลงทะเบียนของอสังหาริมทรัพย์ มีหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลการลงทะเบียน การจัดระเบียบข้อมูล การแชร์ข้อมูลร่วมกัน การจัดการแลกเปลี่ยนข้อมูลของทรัพยากรธรรมชาติและอสังหาริมทรัพย์
  4. รับผิดชอบด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นการใช้สินทรัพย์แบบต้องเสียค่าใช้จ่าย การสร้างระบบสถิติสินทรัพย์ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ภาครัฐเป็นเจ้าของ จัดทำบัญชีสินทรัพย์ จัดทำบัญชีงบดุลหนี้สิน และกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน การกำหนดนโยบายสินทรัพย์ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ภาครัฐเป็นเจ้าของเกี่ยวกับการโอน การขาย การทำสัญญาเช่า การสมทบทุน และการธนาคารที่ดิน การจัดสินทรัพย์อย่างเหมาะสมและรับผิดชอบการบริหารจัดการประเมินราคาสินทรัพย์ อีกทั้งจัดเก็บผลประโยชน์จากสินทรัพย์ตามที่กฎหมายกำหนด
  5. รับผิดชอบการพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม จัดให้มีการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ จัดทำมาตรฐานการพัฒนาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และดำเนินการตามแผนงาน จัดทำระบบประชาสัมพันธ์มูลค่าทรัพยากรธรรมชาติแสดงต่อสาธารณะ จัดให้มีการประเมินมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติแบ่งแยกตามคุณภาพ ทำการประเมินผลการใช้ประโยชน์ เพื่อใช้เป็นคู่มือสำหรับแนวทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเข้มงวด รับผิดชอบกำกับดูแลตลาดการค้าทรัพยากรธรรมชาติ จัดทำงานวิจัยการบริหารในระดับมหภาค การประสานงานระดับภูมิภาค และมาตรการเชิงนโยบายการวางผังเมืองชนบท
  6. จัดทำระบบการวางแผนเชิงพื้นที่และกำกับการดำเนินการ ผลักดันกลยุทธ์และระบบงานในหน้าที่หลัก จัดทำและกำกับให้ดำเนินงานการวางแผนพื้นที่และที่ดิน และการวางแผนงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประเมินความเหมาะสมในการพัฒนาพื้นที่และที่ดิน การจัดตั้งระบบการตรวจสอบ การประเมิน และการเตือนภัย จัดทำระเบียบเส้นแบ่งอันตราย เพื่อป้องกันระบบนิเวศและพื้นที่การเกษตรพื้นฐานอย่างถาวร เส้นควบคุมการแบ่งเขตพัฒนาเมือง สร้างผังการผลิต การใช้ชีวิต พื้นที่เชิงนิเวศน์เพื่อประหยัดทรัพยากรและปกป้องสิ่งแวดล้อม จัดทำระบบควบคุมการใช้สอยพื้นที่และที่ดินระดับชาติ วิจัยเพื่อกำหนดนโยบายการวางผังเมืองและชนบท พร้อมกำกับให้ดำเนินการตามนโยบาย จัดระเบียบแผนการทำงานประจำปีและดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ที่ดินและทรัพยากรทางทะเล รับผิดชอบงานการโอนเพื่อทำประโยชน์จากพื้นที่เกี่ยวข้องกับที่ดินบริเวณทะเล พื้นที่เกาะ รับผิดชอบงานที่ควบคุมการเวนคืนที่ดิน
  7. รับผิดชอบการประสานงาน การฟื้นฟูระบบนิเวศ พื้นที่ และที่ดินของชาติ จัดทำแผนงานการฟื้นฟูระบบนิเวศ และดำเนินงานสร้างความสำคัญในการฟื้นฟูระบบนิเวศ รับผิดชอบงานในการแก้ปัญหาการบุกรุกภูเขาอย่างรอบด้าน การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรณีวิทยาในเหมือง ระบบนิเวศทางทะเล การฟื้นฟูแนวชายฝั่งทะเลและบริเวณเกาะ จัดระบบการชดเชยค่าเสียหายเพื่อปกป้องระบบนิเวศ จัดทำมาตรการและนโยบายการใช้เงินทุนภาคสังคมเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศที่เหมาะสม และนำเสนอโครงการ
  8. รับผิดชอบการจัดทำระบบการปกป้องที่ดินสำหรับการเพาะปลูกอย่างเข้มงวด กำหนดนโยบายการปกป้องที่ดินสำหรับการเพาะปลูกและดำเนินการตามนโยบาย รับผิดชอบปริมาณและคุณภาพที่ดินสำหรับการเพาะปลูกและการปกป้องระบบนิเวศ จัดทำเกณฑ์และเป้าหมายการประเมินความรับผิดชอบต่อหน้าที่การปกป้อง อีกทั้งให้ความคุ้มครองพิเศษอย่างถาวรต่อพื้นที่เพาะปลูกขั้นพื้นฐาน ทำระบบที่สมบูรณ์แบบสำหรับการปรับความสมดุลของเงินอุดหนุนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและกำกับดูแลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับระบบ
  9. รับผิดชอบงานควบคุมธุรกิจด้านการสำรวจทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์แห่งชาติ เตรียมพร้อมการวางแผนสำรวจและกำกับตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน ควบคุมโครงการสำรวจทางภูมิศาสตร์ของส่วนกลาง จัดทำโครงการเฉพาะกิจในการสำรวจแร่ธาตุทางภูมิศาสตร์ที่มีความสำคัญระดับชาติ รับผิดชอบการป้องกันภัยพิบัติทางธรณีวิทยา กำกับดูแลการขุดเจาะน้ำบาดาลที่มากเกินไปจนสร้างปัญหาทำให้แผ่นดินทรุด รับผิดชอบกำกับดูแลซากฟอสซิลจากสิ่งมีชีวิตยุคดึกดำบรรพ์
  10. รับผิดชอบนำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไปดำเนินการ เตรียมการด้านการวางแผน การทำมาตรฐานป้องกันภัยและคู่มือการดำเนินงาน จัดทำแนวทางการประสานงานและการกำกับตรวจสอบภัยพิบัติทางธรณีวิทยาและอันตรายแอบแฝงอย่างละเอียดและทั่วถึง จัดทำแนวทางให้ทีมตรวจสอบและป้องกันภัยให้มวลชนโดยผู้เชี่ยวชาญการตรวจสอบการพยากรณ์และการเตือนภัย แนวทางการจัดการภัยพิบัติทางธรณีวิทยาเชิงวิศวกรรม และสนับสนุนด้านเทคนิคต่อการกู้ภัยฉุกเฉินสำหรับภัยพิบัติด้านธรณีวิทยา
  11. รับผิดชอบการควบคุมดูแลทรัพยากรแร่ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสำรองทรัพยากรแร่ และควบคุมการอนุมัติที่ทับซ้อนกันควบคุมสิทธิในการทำเหมืองแร่ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ป้องกันการขุดแร่ที่ถูกควบคุมคุ้มครอง ควบคุมแร่ธาตุที่มีศักยภาพสูง กำกับและแนะนำเพื่อคุ้มครองทรัพยากรแร่ให้ใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม
  12. กำกับให้มีการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ทางทะเลและมหาสมุทรเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ วิจัยและเสนอแนะยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างประเทศเป็นมหาอำนาจทางทะเลและมหาสมุทร จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาทางทะเลและมหาสมุทร ทะเลน้ำลึก ขั้วโลก และกำกับการดำเนินงานตามแผน ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำแผนงานนโยบายการพัฒนาทางทะเลและมหาสมุทร แผนอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเลและกำกับให้ดำเนินการตามนโยบาย รับผิดชอบงานด้านการติดตามและประเมินผลปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจทางทะเล
  13. กำกับดูแลการคุ้มครองและพัฒนาการใช้ประโยชน์ทางทะเล ควบคุมการใช้พื้นที่ทางทะเลและการอนุรักษ์เกาะกลางทะเล จัดทำแผนการใช้ประโยชน์และกำกับดูแลให้ดำเนินการตามแผน ทำหน้าที่ควบคุมเกาะที่ไร้คนอาศัย พื้นที่ทางทะเล ทำแผนที่และชื่อของพื้นที่ใต้ทะเล จัดทำวิธีการควบคุมเกาะพิเศษเป็นดินแดนในการตั้งฐานทางทะเลและกำกับให้ดำเนินการดังกล่าว ทำหน้าที่สังเกตการณ์ทางทะเลเพื่อพยากรณ์สภาพ ตรวจสอบเตือนภัยล่วงหน้า และบรรเทาภัย มีส่วนในการขจัดภัยพิบัติทางทะเล
  14. ทำหน้าที่บริหารข้อมูลการสำรวจภูมิศาสตร์สำหรับจัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์ ควบคุมธุรกิจสำรวจและงานสำรวจขั้นพื้นฐาน ควบคุมวุฒิการศึกษาและความน่าเชื่อถือในการสำรวจ กำกับดูแลความปลอดภัยด้านข้อมูลภูมิศาสตร์ของชาติและความมีระเบียบของตลาดการค้าด้านแผนที่ ควบคุมงานบริการข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์สู่สาธารณชน ทำหน้าที่คุ้มครองเครื่องหมายสัญลักษณ์ทางภูมิศาสตร์
  15. ผลักดันการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาทรัพยากรธรรมชาติ กำหนดกลยุทธ์แผนงานและโครงการเพื่อการฝึกอบรมบุคลากรและพัฒนานวัตกรรมใหม่ในสาขาทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินการตามแผนงาน จัดระเบียบมาตรฐานทางเทคนิคและหลักปฏิบัติ รวมทั้งดำเนินการให้เป็นจริง ดำเนินงานโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ และเสริมสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรมใหม่ ผลักดันเทคโนโลยีสารสนเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและนำข้อมูลดังกล่าวให้บริการต่อสาธารณะ
  16. ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านทรัพยากรธรรมชาติ จัดให้มีการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศในสาขาทรัพยากรธรรมชาติ ปฏิบัติตามอนุสัญญาและสัญญาระหว่างประเทศ ประสานความร่วมมือเพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ทางทะเลของชาติ มีส่วนร่วมในการเจราและการให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับขั้วโลก ทะเลสากล และพื้นที่ใต้ทะเลระหว่างประเทศ
  17. ได้รับมอบอำนาจหน้าที่จากรัฐบาลกลาง ถ่ายทอดนโยบายที่สำคัญจากคณะกรรมการกลางพรรคเกี่ยวกับการวางแผนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพื้นที่ที่ดินของชาติให้รัฐบาลส่วนท้องถิ่นนำไปดำเนินการตรวจสอบ การตัดสินใจและการบังคับใช้กฎหมาย ดำเนินการสอบสวนและจัดการกรณีที่ทำผิดกฎหมายร้ายแรงเกี่ยวกับการพัฒนาใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติ และแผนงานใช้พื้นที่ที่ดิน อีกทั้งการทำแผนที่ที่ดิน สั่งการให้ท้องถิ่นดำเนินการบังคับใช้กฎหมายปกครองทำหน้าที่ตามกฎหมาย
  18. บริหารจัดการกรมป่าไม้และทุ่งหญ้าแห่งชาติ
  19. บริหารจัดการสำนักงานการสำรวจทางภูมิศาสตร์แห่งชาติ
  20. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการพรรคมอบหมายเพิ่มเติม
  21. การเปลี่ยนแปลงด้านภารกิจ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการพรรคจากรัฐบาลกลาง มอบหมายภารกิจหลักในการมีสิทธิครอบครองสินทรัพย์ด้านทรัพยากรธรรมชาติแบบศูนย์รวมซึ่งเป็นสมบัติของรัฐ การควบคุมแบบศูนย์รวมด้านประโยชน์ใช้สอยพื้นที่ดินของชาติทั้งหมด และมีหน้าที่ด้านการฟื้นฟูรักษาระบบนิเวศ ปรับปรุงการออกแบบชั้นนำ มีบทบาทในการวางแผนและควบคุมพื้นที่ดินของชาติ ให้คำแนะนำเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในลำดับต่อไป สร้างความสมบูรณ์ของกลไกแบบในการทำงานอนุรักษ์ด้วยการฟื้นฟูตั้งแต่ต้นทางและฟื้นฟูตลอดจนถึงปลายทาง บรรลุการป้องกันโดยรวมในการฟื้นฟูระบบนิเวศที่มีการกำกับดูแลอย่างครอบคลุม มาตรการที่เป็นระบบนวัตกรรมใหม่ ซึ่งเป็นทั้งแรงจูงใจและมีข้อจำกัดจะช่วยผลักดันการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเข้มงวดและประหยัดในลำดับต่อไป จะมีการกระจายอำนาจการตรวจสอบ อนุมัติ และการบริหารที่เกี่ยวข้องไปสู่ท้องถิ่น เสริมสร้างความเข้มแข็งในการกำกับดูแลให้การตลาดมีบทบาทชี้ขาดในการจัดสรรทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการทำให้บทบาทภาครัฐดียิ่งขึ้น โดยเน้นการเสริมสร้างกฎระเบียบการจัดการให้มีมาตรฐานในการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ระบบมีผลผูกพันความรับผิดชอบ จะช่วยผลักดันการรับรองสิทธิและการประเมินทรัพยากรธรรมชาติให้มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูง