กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท (MOA)

กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท

(Ministry of Agricultural and Rural Affairs – MOA)

ที่อยู่: No.11 Nongzhanguan Nanli, Chaoyang District, Beijing China, 100125

โทร: (86)-01-59193366, เว็บไซต์: http://www.moa.gov.cn/

(1) โครงสร้างผู้บริหารกระทรวงเกษตรและกิจการชนบท

唐仁健 (ถัง เหรินเจี้ยน)
– รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและกิจการชนบท
张桃林 (จาง เถาหลิน)
– รัฐมนตรีช่วยฯ
邓小刚 (เติ้ง เสี่ยวกัง)
– รัฐมนตรีช่วยฯ
吴清海 (อู๋ ชิงไห่)
– หัวหน้าทีมตรวจสอบและกำกับดูแล
刘焕鑫 (หลิว ฮ่วนซิน)
– รัฐมนตรีช่วยฯ
马有祥 (หม่า โหย่วเซียง)
– รัฐมนตรีช่วยฯ
吴宏耀 (อู๋ หงเหยา)
– ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการสำนักงานเกษตรกลาง
吴孔明 (อู๋ ข่งหมิง)
– คณบดีสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศจีน
廖西元 (เหลียว ซีหยวน)
– ผู้อำนวยการกรมบุคลากร
李金祥 (หลี่ จินเซียง)
– หัวหน้าสัตวแพทย์แห่งชาติ
魏百刚 (เว่ย ไป่กัง)
– หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์
– ผู้อำนวยการสำนักงาน (สำนักงานกิจการการเกษตรไต้หวัน)
曾衍德 (เฉ๋อ เหยีอนเต๋อ)
– หัวหน้านักปฐพีวิทยา
– ผู้อำนวยการกรมวางแผนพัฒนา
张天佐 (จาง เทียนจั่ว)
– หัวหน้าบาทหลวงปศุสัตว์
– ผู้อำนวยการกรมแนะแนวเศรษฐกิจสหกรณ์ชนบท

(2) โครงสร้างองค์กรของกระทรวงเกษตรและกิจการชนบท

หน่วยงานภายใน

  1. สำนักงานกลาง (General Office)
  2. กรมบุคลากร (Department of Personnel)
  3. กรมนโยบายและการปฏิรูป (Department of Policy and Reform Division)
  4. กรมกฎหมายและกฎระเบียบ (Department of Laws and Regulations)
  5. กรมการตลาดและสารสนเทศ (Department of Market and Informatization)
  6. กรมการวางแผนพัฒนา (Department of Development Planning)
  7. กรมการคลัง (Department of Finance)
  8. กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (Department of International Cooperation)
  9. กรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการศึกษา (Department of Science, Technology and Education)
  10. กรมการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท (Department of Rural Industrial Development)
  11. กรมการส่งเสริมสังคมชนบท (Department of Promotion of Rural Social Undertakings)
  12. กรมส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลเกษตร (Department of Farm Mechanization)
  13. กรมแนะแนวเศรษฐกิจสหกรณ์ชนบท (Department of Rural Cooperative Economy Guidance Department)
  14. สำนักงานสัตวแพทย์ (Veterinary Bureau)
  15. สำนักงานฟาร์มและที่ดิน (Bureau of State Farms and Land Reclamation)
  16. สำนักงานการผลิต (Bureau of Produce Processing)
  17. สำนักงานประมง (Bureau of Fisheries)
  18. สำนักคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เกษตรนิเทศ (Bureau of Quality and Safety Supervision for Agro-products)
  19. คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำกระทรวงฯ (CPC Committee of MOA)
  20. สำนักงานบุคลากรผู้เกษียณอายุ (Bureau of Retired Cadres)
  21. สำนักงานประมงและการบริหารจัดการในลุ่มน้ำแยงซี (Yangtze River Fisheries Administration, Ministry of Agriculture)
  22. กรมการจัดการการก่อสร้างฟาร์ม (Department of Agricultural Construction Management)
  23. กรมการจัดการพันธุ์พืช (Department of Seed Industry Management Division)
  24. คณะผู้แทนถาวรจีนประจำยูเอ็นด้านอาหารและการเกษตร (Permanent Representation of the PR. China to the UN Agency for Food and Agriculture)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Affiliated Agencies)

  1. ศูนย์ให้บริการ (Service center of the Ministry of Agriculture and Rural Affairs)
  2. สถาบันบัณฑิตวิทยาศาตร์การเกษตร (Chinese Academy of Agriculture Science-CAAS)
  3. สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์การประมง (Chinese Academy of Fishery Science)
  4. สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์การเกษตรเขตร้อน (Chinese Academy of Tropical Agricultural Sciences)
  5. ศูนย์นิทรรศการการเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Exhibition Center)
  6. ศูนย์ภาพยนตร์และโทรทัศน์การเกษตร (China Agriculture Film and Television Center)
  7. สำนักข่าวเกษตรกร (Farmer’s Daily)
  8. สำนักพิมพ์การเกษตร (China Agriculture Press)
  9. นิตยสารการเกษตร (China Agriculture Magazine)
  10. ศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการเกษตร (Agricultural Cadre Education Training Center)
  11. ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (สมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรจีน) (Human Resources Development Center, MOA)
  12. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจชนบท (Research Center for Rural Economy, MOA)
  13. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center, MOA)
  14. ศูนย์ความปลอดภัยคุณภาพสินค้าเกษตร (Center for Quality and Safety of Agricultural Products, MARA)
  15. ศูนย์พัฒนาอาหารสีเขียว (China Green Food Development Center)
  16. สถาบันวิจัยการวางแผนและการออกแบบทางวิศวกรรมเกษตร (Chinese Academy of Agricultural Engineering Planning & Design)
  17. ศูนย์บริการวิศวกรรมก่อสร้าง (Construction Service Center, MOA)
  18. ศูนย์บริการการเงิน (Financial Accounting Service Center, MOA)
  19. ศูนย์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (Foreign Economic Cooperation Center, MOA)
  20. ศูนย์ส่งเสริมการค้าเกษตรระหว่างประเทศ (Agricultural Trade Promotion Center, MOA)
  21. ศูนย์บริการการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (Center of International Cooperation Service, MOA)
  22. โรงเรียนวิทยุและโทรทัศน์เกษตรจีน (China Rural Distance Education Network)
  23. ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์การเกษตร (Development Center for Science and Technology, MOA)
  24. ศูนย์การคุ้มครองระบบนิเวศและทรัพยากร (Rural Energy and Environment Agency, MOA)
  25. ศูนย์การเผยแพร่เทคนิคการเกษตร (National Agro Technical Extension and Service Center)
  26. เครือข่ายข้อมูลสารเคมีจีน (China Pesticide Information Network)
  27. ศูนย์การตรวจสอบและคุ้มครองคุณภาพที่ดินเพาะปลูก (Center for Monitoring and Protecting Cultivated Land Quality)
  28. ศูนย์การทดลองเครื่องจักรการเกษตร (Agriculture Mechanization Information Network of China)
  29. ศูนย์ส่งเสริมเทคนิคเครื่องจักรการเกษตร (Center of Agriculture Machinery Extension & Supervision, MARA)
  30. สถานีปศุสัตว์แห่งชาติ (National Animal Husbandry General Station)
  31. ศูนย์ควบคุมโรคในสัตว์แห่งชาติ (China Animal Disease Control Center)
  32. ศูนย์ตรวจสอบคุณภาพยาทางสัตวแพทย์ (China Institute of Veterinary Drug Control)
  33. ศูนย์ศึกษาสุขภาพสัตว์และระบาดวิทยา (China Animal Health and Epidemiology Center)
  34. ศูนย์การพัฒนาเศรษฐกิจฟาร์ม (China State Farms & Tropical Agriculture)
  35. ศูนย์พัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน (China Leisure Agriculture and Rural Tourism)
  36. ศูนย์การพัฒนาเทคนิคด้านผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ & สมาคมการผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (National Fisheries Technology Extension Center & China Society of Fisheries)

(3) แผนงานกระทรวงเกษตรและกิจการชนบท ปี 2562

ส่วนที่ 1 ดำเนินการแก้ปัญหาและภารกิจสำคัญให้สำเร็จลุล่วง

  1. การแก้ไขงานการขจัดความยากจน ในพื้นที่ตะวันตกของประเทศ โดยร่วมมือกับบริษัทชั้นนําในพื้นที่เพื่อลงทุนและพัฒนานวัตกรรม และเสริมสร้างการบริการบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาอุตสาหกรรมในเขตยากจน จัดระเบียบการผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
  2. ปรับปรุงแก้ไขปัญหาเรื่องอาหารของเขตยากจน สร้างเสถียรภาพการผลิตข้าวโพด ข้าวและข้าวสาลีพันธุ์หลัก ปรับปรุงนโยบายราคาขั้นต่ำและเงินอุดหนุน สำหรับข้าวและข้าวสาลี สำหรับผู้ผลิตข้าวโพด ปรับปรุงกลไกการชดเชยผลประโยชน์ในพื้นที่การผลิตอาหารหลัก และเสริมสร้างการเฝ้าระวังภัยพิบัติและเตือนภัยศัตรูพืช
  3. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของชนบทตามแผนงานสามปี (ปี 2561-2563) ส่งเสริมการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในชนบทจากการสาธิตทั่วไปเพื่อนำมาใช้อย่างจริงจัง และส่งเสริมการปฏิรูปห้องน้ำในชนบท มุ่งเน้นไปที่การกำจัดของเสียจากชีวิตในชนบท การล้างท่อระบายน้ำในบ่อหมู่บ้านและกำจัดของเสียจากการผลิตทางการเกษตร เปลี่ยนนิสัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะและค่อยๆปรับปรุงลักษณะของหมู่บ้าน ส่งเสริมการจัดตั้งท้องถิ่นเป็นหลัก ให้รางวัลเงินอุดหนุนจากรัฐบาลสำหรับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในชนบทที่ดี
  4. การแก้ปัญหาการสร้างโรงเรือนเพาะปลูกที่ผิดกฎหมาย ตรวจสอบปัญหาโรงเรือนเพาะปลูกที่ผิดกฎหมายและแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ และข้อบังคับของการก่อสร้างที่ไม่ใช่การเกษตรของที่ดินเพาะปลูก ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของการคุ้มครองที่ดินเพาะปลูกอย่างเคร่งครัด
  5. การป้องกันและรักษาควบคุมโรคระบาดสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพเช่น โรคอหิวาต์สุกร ASF (African swine fever) จัดตั้งระบบการป้องกันและควบคุมในระดับภูมิภาค และสร้างระบบการประชุมและกลไกการประสานงานร่วมกันระหว่างจังหวัด ใช้มาตรการห้ามเลี้ยงสุกรโดยใช้ของกินที่เหลืออย่างเคร่งครัด ส่งเสริมมาตรฐานการฆ่าสุกร ปรับปรุงระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาดสัตว์

ส่วนที่ 2 ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูงของการเกษตร ปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของภาคการผลิต

  1. พัฒนาการเกษตรให้มีคุณภาพสูง และปรับปรุงโครงสร้างการเกษตร ส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างด้านอุปทานการเกษตรและเพิ่มอุปทานของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพสูง
  2. เสริมสร้างสถานที่การผลิตนมให้มีคุณภาพและแปลงฟาร์มโคนม เสริมสร้างการสร้างฐานแหล่งผลิตของนมคุณภาพสูงและปรับปรุงฟาร์มโคนมขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาฟาร์มโคนมในครัวเรือนเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือขององค์กร สนับสนุนและแนะนำเกษตรกรที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นมแปรรูป
  3. ผลักดันการก่อสร้างฟาร์มมาตรฐานสูง เสริมสร้างการบูรณาการกองทุน สร้างสรรค์รูปแบบการลงทุนและการจัดหาเงินทุน เพื่อสร้างระบบการจัดการการก่อสร้างของพื้นที่การเกษตรในรูปแบบการวางแผนรวม
  4. การพัฒนาการเกษตรสีเขียว ควบคุมมลพิษจากแหล่งเกษตร ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เสริมสร้างการควบคุมและปรับปรุงดินปนเปื้อนในที่ดินเพาะปลูก ควบคุมมลพิษที่ดินเพาะปลูกและการใช้ที่ดินที่ปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตภัณฑ์เกษตร ปรับปรุงระบบการผลิตมาตรฐาน ดำเนินการโครงการประกันคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปรับปรุงระบบการดูแลและระบบการตรวจสอบย้อนกลับ
  6. การพัฒนาและส่งเสริมด้านเทคนิคทางการเกษตร ดำเนินการฟื้นฟูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชนบท สนับสนุนการเสริมสร้างระบบเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตรที่ทันสมัยแห่งชาติและศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ ส่งเสริมการสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์การเกษตรเขตร้อนแห่งชาติ มุ่งมั่นที่จะเพิ่มความเร็วในการวิจัยและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลักที่สำคัญและการสร้างอุปกรณ์ในด้านต่างๆ เช่น ชีววิทยาเมล็ดพันธุ์ เครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับการเกษตรอัจฉริยะ
  7. การพัฒนาการจัดการเครื่องจักรกลการเกษตรในชุมชน ดำเนินการตามนโยบาย “คำแนะนำในการเร่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและอุปกรณ์การเกษตร” เพื่อพัฒนาการการผลิตพืชโดยใช้เครื่องจักร ดำเนินนโยบายเงินอุดหนุนสำหรับการซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ปรับปรุงวิธีการประเมินและทดสอบเครื่องจักรกลการเกษตร
  8. พัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ และปกป้องทรัพยากรทางด้านการเกษตรและปศุสัตว์และสัตว์ปีก เสริมสร้างการคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมพืช สัตว์ปีกและสัตว์น้ำพันธุกรรม และปรับปรุงระบบการจัดการและการตรวจสอบทรัพยากรพันธุกรรมพืช เพื่อเพิ่มความเร็วในการปลูกพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงและมีเสถียรภาพ
  9. การพัฒนาและส่งเสริมด้านดิจิทัลในชนบท เสริมสร้างเครือข่ายบรอดแบนด์ในชนบทและการสร้างระบบทรัพยากรข้อมูลพื้นฐานในชนบท เพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเกษตรในชนบทและอินเทอร์เน็ต สร้างข้อมูลพืชผ่านทางอินเทอร์เน็ตและปรับปรุงกลไกการดำเนินงานให้ตลาดเป็นตัวชี้นำ
  10. การพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการเกษตร เพิ่มเขตสาธิตความร่วมมือด้านการเกษตรและเขตทดสอบความร่วมมือด้านการเกษตรต่างประเทศ จูงใจบริษัทให้สร้างฐานการผลิต แปรรูป คลังสินค้า และโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตามพื้นที่แนวหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ขยายการนำเข้าสินค้าเกษตรและขยายช่องทางการนำเข้าที่หลากหลายและสนับสนุนการพัฒนาของกลุ่มองค์กรเกษตรข้ามชาติ

ส่วนที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างอุตสาหกรรมในชนบทและขยายช่องทางการเพิ่มรายได้ของเกษตรกร

  1. การพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร สนับสนุนเกษตรกรและสหกรณ์ชาวนาเพื่อสร้างเครื่องจักรแปรรูป เช่น การเก็บ รักษาความสด การอบแห้ง การเลือกเกรดและบรรจุภัณฑ์ พัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเบื้องต้น และสร้างฐานสาธิตการแปรรูปขั้นสูงของผลิตภัณฑ์การเกษตร
  2. การพัฒนาอุตสาหกรรมตามเอกลักษณ์ท้องถิ่นของชนบทและอุตสาหกรรมบริการใหม่ เพิ่มการสร้างเขตอุตสาหกรรมการเกษตรในชุมชน พัฒนาและนวัตกรรมอุตสาหกรรมในชนบทที่มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น แลรพัฒนาการเกษตรที่มีลักษณะความหลากหลายตามสภาพท้องถิ่น
  3. การพัฒนาอุตสาหกรรมบริการการผลิตสินค้าเกษตร เพิ่มระดับการให้บริการในพื้นที่ที่สำคัญปรับปรุงมาตรฐานการบริการ
  4. การสร้างโครงการแบรนด์การเกษตร ส่งเสริมการสร้างแบรนด์การเกษตร ปรับปรุงบนโยบายและระบบการจัดการที่สนับสนุนแบรนด์การเกษตร และสร้างมาตรฐานการประเมินแบรนด์การเกษตรของจีน เสริมสร้างการดูแลแบรนด์ทางการเกษตร เน้นคุณภาพและความปลอดภัยการเกษตร
  5. ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและอาชีพในชนบท ปรับปรุงระบบสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมในชนบท และช่วยแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ เช่น เงินกู้ เทคโนโลยี การใช้พื้นที่ การใช้ไฟฟ้า เสริมสร้างเขตนวัตกรรมและอาชีพในชนบทเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถในแต่ละด้านกลับไปชนบททำกิจกรรม

ส่วนที่ 4 เร่งแก้ไขข้อบกพร่องการพัฒนาชนบท เร่งพัฒนาการก่อสร้างและการปกครองในชนบท

  1. ส่งเสริมการวางแผนและการจัดการระบบในชุมชน กำกับดูแลและชี้นำ การวางแผนการก่อสร้างในเขตชนบทให้เป็นระเบียบ
  2. ส่งเสริมการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในชนบทและบริการสาธารณะ ส่งเสริมการดำเนินการตามโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้าน ยกระดับความปลอดภัยของน้ำดื่มในชุมชน ส่งเสริมการสร้างถนนในชนบทและถนนหมู่บ้าน สนับสนุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การเก็บรักษา และบรรจุภัณฑ์ และส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน
  3. เสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนในชนบท ร่วมกับองค์กรและหน่วยงานอื่นๆ ดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนในชนบท ให้ผู้นำชุมชนทำหน้าที่ชี้แนะแนวทางแก่สมาชิกในชุมชน ส่งเสริมการลงทุนทางการเงินที่มั่นคง และเพิ่มขีดความสามารถของผู้นำชุมชนในชนบทเพื่อให้บริการแก่เกษตรกร
  4. ส่งเสริมการสร้างอารยธรรมชนบท ส่งเสริมการสร้างชนบทที่มีอารยธรรม โดยร่วมกันสร้างเขตสาธิตกิจกรรมหมู่บ้านอารยธรรม ชี้นำเกษตรกรให้ปฏิบัติตามค่านิยมตามหลักสังคมนิยม
  5. ส่งเสริมการกำกับดูแลการปกครองในเขตชนบท ส่งเสริมและชี้แนะนโยบายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาการปกครองในชนบท

ส่วนที่ 5 การปฏิรูปชนบทอย่างจริงจัง และกระตุ้นการพัฒนาการเกษตรและชนบท

  1. การปฏิรูปสัญญาที่ดินในชนบท โดยการขยายระยะเวลาของสัญญาออกไปอีก 30 ปี ปรับปรุงระบบนโยบายสำหรับการดำเนินการเป็นเจ้าของ รักษาสิทธิสัญญาที่ดินทำกินของเกษตรกร
  2. ส่งเสริมการจัดการสินทรัพย์ส่วนรวมในชนบทอย่างรอบด้าน เร่งสร้างแพลตฟอร์มการกำกับดูแล จัดการ และพัฒนาระบบการจัดการสินทรัพย์ ชี้แนะแนวทางและปรับปรุงตลาดในชนบท และผลักดันนโยบายสิทธิพิเศษทางภาษีที่เหมาะสมกับองค์กรเศรษฐกิจส่วนรวมในชนบท
  3. ส่งเสริมการปฏิรูประบบที่อยู่อาศัยในชนบท สำรวจสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่ดินเพื่อที่พักอาศัย รับประกันสิทธิในที่อยู่อาศัยและความเป็นเจ้าของบ้านของเกษตรกร สร้างระบบการทำงานและกลไกการทำงานที่สอดคล้องกัน สร้างมาตรฐานการจัดการที่ดินเพื่อที่พักอาศัย และเร่งลงทะเบียนสิทธิการใช้สิทธิ์ในการใช้ที่อยู่อาศัย
  4. สร้างหน่วยธุรกิจรูปแบบใหม่ โดยยึดฟาร์มในครอบครัว สหกรณ์เกษตรกรเป็นหลัก ชี้แนะและสนันสนุนเกษตรกรในการจัดตั้งฟาร์มครอบครัว ศึกษาและกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานของสหกรณ์
  5. ฝึกฝนเกษตรกรมืออาชีพยุคใหม่อย่างจริงจัง สนับสนุนองค์กรธุรกิจใหม่ๆ ดำเนินการฝึกอบรมปลูกฝังเกษตรกรอาชีพยุคใหม่มากกว่า 1 ล้านคน ส่งเสริมวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเพื่อเสริมสร้างอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
  6. การปฏิรูปการพัฒนาบุกเบิกที่ดิน ส่งเสริมการรวมกลุ่มของพื้นที่เกษตรกรรม ปฏิรูปอุตสาหกรรมการเกษตร ปรับปรุงระบบการจัดการด้านการเกษตร รวบรวมผลการลงทะเบียนและการรับรองสิทธิการใช้ที่ดินของรัฐในพื้นที่เกษตรกรรมและตรวจสอบให้แน่ชัดถึงความเหมาะสมในการออกใบรับรอง
  7. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการลงทุนด้านการเกษตร เร่งกระจายอำนาจและลดขั้นตอนการลงทุนด้านการเกษตรในชนบทให้ง่ายขึ้น กำหนดนโยบายการวางแผนงานมาตรฐานและการประเมินผลการปฏิบัติงานรวมการดำเนินงานในท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการลงทุนทางการเกษต
  8. พัฒนาระบบนโยบายการป้องกันและการสนับสนุนทางการเกษตร พัฒนาระบบนโยบายเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกร กำหนดนโยบายคุ้มครองการสนับสนุนทางการเกษตรและชี้แนะแนวทางแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูชนบท
  9. ยกระดับการก่อสร้างสวนอุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่และเขตสาธิตต่างๆ กำหนดและออกมาตรการเฉพาะเพื่อเสริมสร้างการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรที่มีลักษณะเฉพาะ พร้อมสร้างระบบนโยบายสนับสนุนการสร้างพื้นที่เกษตรกรรมสีเขียว ผลักดันโครงการพื้นที่นำร่องปฏิรูปชนบท

ส่วนที่ 6 ดำเนินการตามหลักนโยบายการพัฒนาการเกษตรและชนบท ส่งเสริมการพัฒนาระบบการฟื้นฟูชนบท

  1. ส่งเสริมและเพิ่มการลงทุนในการฟื้นฟูชนบทจากหลายช่องทาง หลายรูปแบบ เพิ่มสัดส่วนการลงทุนทางการเกษตรและชนบท มุ่งเน้นสนับสนุนการตั้งถิ่นฐานในชนบท สร้างโครงสร้างพื้นฐานในชนบทและสร้างพื้นที่การเกษตรที่ได้มาตรฐาน ดำเนินการตามนโยบายการฟื้นฟูชนบทด้วยหลักการบริการทางการเงิน ส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันทางการเงินในระดับอำเภอ ส่งเสริมการใช้กองทุนพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นสำหรับการเกษตรและชนบท ส่งเสริมระบบการค้ำประกันสินเชื่อการเกษตร การประกันภัยภัยพิบัติทางการเกษตร
  2. สร้างกระบวนการทางกฎหมายการฟื้นฟูชนบท เร่งส่งเสริมกระบวนการทางกฎหมายและข้อบังคับเช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฟื้นฟูชนบท ส่งเสริมการปรับปรุงกฎหมายคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร กฎหมายการประมง กฎหมายป้องกันการแพร่ระบาดของสัตว์ กฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดการการปศุสัตว์ กฎระเบียบในการป้องกันและควบคุมศัตรูพืชและโรคพืช สร้างระบบบังคับใช้กฎหมายเกษตรแบบบูรณาการ บังคับใช้กฎหมายการเกษตรให้เข้มงวดมากขึ้น เผยแพร่กฎหมายและกฎระเบียบด้านการเกษตรและชนบทรวมถึงการจัดตั้งและปรับปรุงระบบบริการสาธารณะทางกฎหมาย
อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]