กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

(Ministry of Science and Technology of the People’s Republic of China – MOST)

ที่อยู่: 15B Fuxing Road, Beijing, China, 100862

โทร: (86)-10-58881800, โทรสาร: (86)-10-59300001, เว็บไซต์: http://www.most.gov.cn

(1) โครงสร้างผู้บริหารกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หวัง จี้อกัง (王志刚)
– รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
จาง หยวี่ตง (张雨东)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลี่ เหมิง (李萌)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
– ผู้อำนวยการสำนักการบริหารงานผู้เชี่ยวชาญการต่างประเทศแห่งรัฐ
– เลขาธิการคณะกรรมการพรรคองค์กรในเครือโดยตรง
อู๋ จาวฮุย (吴朝晖)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
จาง กว่างจวิน (张广军)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
เซียง ลี่บิ่น (相里斌)
– รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
เกา ปัว (高波)
– หัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบและกำกับดูแลวินัยของคณะกรรมการกลางว่าด้วยการตรวจวินัยและกำกับดูแลของรัฐ ประจำกระทรวงฯ
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
โต่ว เซียนคัง (窦贤康)
– เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำมูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
จาง ปี้หย่ง (张碧涌)
– หัวหน้าสำนักข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
– สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
หลิน ซิน (林新)
– หัวหน้าเลขาธิการและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ประจำกระทรวงฯ
เฮ่อ เต๋อฟาง (贺德方)
– รองหัวหน้าเลขานุการ

(2) โครงสร้างองค์กรของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หน่วยงานภายใน

  1. สำนักงานกลาง (General Office)
  2. กรมการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Department of Strategic Planning)
  3. กรมนโยบาย ระบบระเบียบ และนวัตกรรม (Department of Policy, Regulation and Innovation System)
  4. กรมการจัดสรรและจัดการทรัพยากร (Department of Resource Allocation and Management)
  5. กรมการกำกับดูแลและจริยธรรมทางวิทยาศาสตร์ (Department of Supervision and Scientific Integrity)
  6. กรมการดูแลโครงการสำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Department of Major Science and Technology Project)
  7. กรมการวิจัยพื้นฐาน (Department of Basic Research)
  8. กรมการเทคโนโลยีใหม่ระดับสูง (Department of High and New Technology )
  9. กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชนบท (Department of Science and Technology for Rural Development )
  10. กรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสังคม (Department of Science and Technology for Social Development)
  11. กรมการใช้ผลงานวิจัยเชิงพาณิชย์และนวัตกรรมภูมิภาค (Department of Research Commercialization and Regional Innovation)
  12. กรมบริการผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ (Department of Foreign Expert Services)
  13. กรมการจัดการทรัพยากรอัจฉริยะจากต่างประเทศ (Department of Overseas Intellectual Resources Cooperation)
  14. กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ( สำนักงานฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน) (Department of International Cooperation (Office of Hong Kong, Macao and Taiwan Affairs)
  15. กรมการบุคลากร (Department of Personnel)
  16. คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำกระทรวงฯ (CPC Committee of MOST)
  17. สำนักงานบุคลากรผู้เกษียณอายุ (Bureau of Retired Staff)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Affiliated Agencies)

  1. ศูนย์บริการของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Center of Logistics, MOST)
  2. สำนักงานรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Office for National Science and Technology Awards)
  3. สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (Institute of Scientific and Technical Information of China)
  4. สถาบันยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน (Chinese Academy of Science and Technology for Development)
  5. ศูนย์การแลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน – ศูนย์แลกเปลี่ยนข้ามช่องแคบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / ศูนย์ความร่วมมือทางเทคนิคระหว่างจีนและญี่ปุ่น (China Science and Technology Exchange Center – Cross-Straits Science and Technology Exchange Center Sino-Japanese Technology Cooperation Center)
  6. ศูนย์การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชนบท (China Rural Technology Development Center)
  7. ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมทอร์ชไฮเทค – ศูนย์ส่งเสริมการจัดการตลาดเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน/ศูนย์บริหารจัดการกองทุนนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Torch High Technology Industry Development Center, MOST – China Technology Market Management and Promotion Center, Management Center for Innofund, MOST)
  8. ศูนย์การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศจีน (China National Center for Biotechnology Development)
  9. ศูนย์บริหารการจัดการวาระการประชุมแห่งศตวรรษ 21 (Administrative Center for China’s Agenda 21)
  10. ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงกระทรวงวิทยาศาสตร์ – ศูนย์บริหารงานวิจัยพื้นฐาน (High Tech Research and Development Center, MOST – Administrative Center for Basic Research, MOST)
  11. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center, MOST)
  12. ศูนย์การใช้ข้อมูลดาวเทียม (National Center for Remote Sensing)
  13. ศูนย์ประเมินเทคโนโลยีกระทรวงวิทยาศาสตร์ (National Center for Science and Technology Evaluation, MOST)
  14. ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติ (National Science and Technology Infrastructure Center)
  15. ศูนย์บริการดูแลค่าใช้จ่ายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Supervision Service Center for Science and Technology Funds, MOST)
  16. ศูนย์ปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชั่นระหว่างประเทศแห่งชาติ (China International Nuclear Fusion Energy Program Execution Center – ITER China)
  17. ศูนย์พัฒนากองทุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Venture Capital Development Center)
  18. ศูนย์บริการการแลกเปลี่ยนและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Center for Science and Technology Personnel Exchange and Development Service, MOST)
  19. ศูนย์ฝึกอบรมเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Training Center, MOST)
  20. สมาคมแลกเปลี่ยนบุคลากรนานาชาติแห่งชาติ (China Association for International Exchange of Personnel)
  21. มูลินิธิแลกเปลี่ยนบุคลากรผู้มีความสามารถแห่งชาติ (China International Talent Exchange Foundation)
  22. ศูนย์การวิจัยทางผู้มีความสามารถนานาชาติ (Foreign Talent Research Center, MOST)

หน่วยงานตัวแทนด้านการจัดการ

  1. มูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ (National Natural Science Foundation of China)
  2. สำนักข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Daily)

(3) แผนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระยะกลางยาวแห่งชาติ (ปี 2549 – 2563)

  1. แผนงานด้านพลังงาน

มุ่งเน้นด้านการประหยัดพลังงานในอุตสาหกรรม การแปรรูปพลังงานถ่านหินที่สะอาดและมีประสิทธิภาพ การสำรวจและการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรน้ำมันและก๊าซในทางธรณีวิทยา การพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนต้นทุนต่ำ การส่งและการกระจายไฟฟ้าขนาดใหญ่ และการรักษาความปลอดภัยของโครงข่ายกระแสไฟฟ้า

  1. แผนงานด้านทรัพยากรน้ำและทรัพยากรแร่

มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรน้ำและการพัฒนาที่ครอบคลุมและการใช้ การประหยัดน้ำแบบบูรณาการ การแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืด (Desalination) รวมไปถึงการสำรวจและการจัดการทรัพยากรน้ำ สำหรับด้านทรัพยากรแร่ ให้ความการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่ ทรัพยากรทางทะเล อย่างมีประสิทธิภาพสูงและครอบคลุม

  1. แผนงานด้านสิ่งแวดล้อม

ให้ความสำคัญกับการควบคุมมลพิษ และการรีไซเคิลของเสีย ตลอดจนการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ในพื้นที่เปราะบาง ควบคู่ไปกับการคุ้มครองระบบนิเวศน์ทางทะเล พร้อมติดตามและแก้ใขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโลก

  1. แผนงานด้านเกษตรกรรม

มุ่งเน้นการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผลผลิตชนิดใหม่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สัตว์ปีกและการป้องกันและควบคุมโรคระบาด การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรระดับสูง การเก็บรักษา และการขนส่งที่ทันสมัย การพัฒนาด้านชีวมวล ความปลอดภัยทางนิเวศวิทยาการเกษตรและป่าไม้ที่ทันสมัย ปุ๋ยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สารกำจัดศัตรูพืชและการเกษตรเชิงนิเวศน์ การพัฒนาอุปกรณ์ทางการเกษตรและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเกษตร การจัดทำฐานข้อมูลทางการเกษตรที่มีมาตรฐาน และอุตสาหกรรมสมัยใหม่

  1. แผนงานด้านอุตสาหกรรมการผลิต

ให้ความสำคัญในด้านการผลิตส่วนประกอบพื้นฐานและส่วนประกอบทั่วไป การพัฒนาระบบดิจิทัลและการออกแบบการผลิต AI อุตสาหกรรมการผลิตต่อเนื่อง การผลิตอัตโนมัติ และอุปกรณ์การผลิต เทคโนโลยีการรี-ไซเคิลเหล็กและอุปกรณ์สำหรับวิศวกรรมเหล็ก นอกจากนี้ ยังรวมถึงเทคโนโลยีและอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมทางทะเลขนาดใหญ่และวัตถุดิบพื้นฐาน การพัฒนาวัสดุและอุปกรณ์สำหรับงานประเภทข้อมูล ตลอดจนวิศวกรรมทางยุทโธปกรณ์

  1. แผนงานด้านอุตสาหกรรมการขนส่ง

มุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์สำหรับการก่อสร้างด้านคมนาคมและการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง รถยนต์ประหยัดพลังงานและรถยนต์พลังงานใหม่ เทคโนโลยีการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและอุปกรณ์ ระบบการจัดการจราจรด้วย AI รวมทั้งความปลอดภัยในการขนส่งและการรักษาความปลอดภัยฉุกเฉิน

  1. แผนงานด้านอุตสาหกรรมสารสนเทศและอุตสาหกรรมบริการสมัยใหม่

ส่งเสริมการพัฒนาระบบข้อมูลสนับสนุนเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมบริการที่ทันสมัย รวมทั้งเทคโนโลยีที่สำคัญและการให้บริการเครือข่าย การผลิตคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ เครือข่ายเซ็นเซอร์และการประมวลผลข้อมูล AI แพลตฟอร์มเนื้อหาสื่อดิจิตอล การพัฒนาจอแสดงผลความละเอียดสูงบนหน้าจอขนาดใหญ่ การรักษาความปลอดภัยข้อมูล

  1. แผนงานด้านประชากรและสุขภาพ

การสร้างสังคมที่มีคุณภาพจำเป็นจะต้องมีการควบคุมอัตราการเกิด การเพิ่มคุณภาพของการเพิ่มขึ้นของประชากร และการป้องกันโรค การควบคุมจำนวนประชากร การพัฒนาคุณภาพของประชากรและระบบสุขภาพมีจำเป็นต้องใช้ความรู้และพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน จึงมุ่งให้ความสำคัญไปที่การควบคุมจำนวนประชากร การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และเนื้องอก การป้องกันและควบคุมโรคที่พบบ่อยในเขตชานเมือง การสืบทอดและการพัฒนานวัตกรรมของการแพทย์แผนจีนโบราณ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ขั้นสูงและวัสดุทางการแพทย์ชีวภาพ

  1. แผนงานด้านการสร้างความเป็นเมืองและการพัฒนาเมือง

ประเทศจีนได้เข้าสู่ช่วงของการเกิดขึ้นของเมืองอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การพัฒนาเมืองเป็นไปอย่างมีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการสร้างความเป็นเมืองดังกล่าว แผนงานนี้จึงมุ่งพัฒนาด้านการวางผังเมืองและการติดตามพลวัตรของเมือง การปรับปรุงฟังก์ชั่นของเมือง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานพื้นที่อย่างคุ้มค่า การก่อสร้างอาคารประหยัดพลังงานและอาคารสีเขียว การรับประกันคุณภาพสภาพแวดล้อมทางนิเวศน์วิทยาของที่อยู่อาศัย และการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลของเมือง

  1. แผนงานด้านความปลอดภัยสาธารณะ

ความปลอดภัยสาธารณะเป็นรากฐานที่สำคัญของความมั่นคงของชาติและความมั่นคงทางสังคม ในปัจจุบัน ความมั่นคงสาธารณะของจีนกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างรุนแรง แผนฉบับนี้จึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลฉุกเฉินด้านความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ ระบบเตือนภัยล่วงหน้าและระบบช่วยเหลือในระบบการผลิต ความปลอดภัยของอาหารและการตรวจสอบและกักกันโรค การป้องกันและการจัดการอย่างรวดเร็วในสภาวะฉุกเฉิน ความปลอดภัยทางชีวภาพ และการตรวจสอบและการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สำคัญ

  1. แผนงานด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย

เทคโนโลยีที่ทันสมัย หมายถึง เทคโนโลยีที่สำคัญที่พิจารณามาจากการวิเคราะห์สถานการณ์และการสำรวจเทคโนโลยีชั้นสูงที่เป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต หลักการสำคัญของการเลือกเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประการแรก เป็นเทคโนโลยีที่แสดงให้เห็นถึงทิศทางการพัฒนาขั้นสูงในระดับสากล ประการที่สอง เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทนำต่อการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมใหม่และการพัฒนาของประเทศในอนาคต ประการที่สาม เอื้อต่อการยกระดับเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และประการสุดท้าย มีทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมและพื้นฐานทางด้านการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยดังกล่าว จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาการวิจัยและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล เทคโนโลยีที่ทันสมัยประกอบไปด้วยแผนงานสาขาดังต่อไปนี้ (1) เทคโนโลยีชีวภาพ (2) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) เทคโนโลยีวัสดุใหม่ (4) เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง (5) เทคโนโลยีพลังงานขั้นสูง (6) เทคโนโลยีทางทะเล (7) เทคโนโลยีเลเซอร์ (8) เทคโนโลยีอวกาศ และ (9) การสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี