วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน กรกฎาคม 2565

วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน ฉบับเดือนกรกฎาคม 2565
“การพัฒนาความร่วมมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการแก้ปัญหาความยากจนไทย – จีน ในพื้นที่กว่างซี-จ้วง”

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมกับ กลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้านสังคมสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง จัดการประชุมหารือการพัฒนาความร่วมมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการแก้ปัญหา ความยากจนไทย – จีน ในพื้นที่กว่างซี-จ้วง ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนจากมหาวิทยาลัยกวางสี ฝ่ายการแลกเปลี่ยนและการฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาโครงการลงทุนจากต่างประเทศ ด้านการพัฒนาชนบทกว่างซี กรมพัฒนาชนบท เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่เข้าร่วม

การประชุมนี้ นับเป็นการริเริ่มความร่วมมือระดับพื้นที่ในเรื่องการแก้ปัญหาความยากจนระหว่างไทยกับเขตปกครองตนเองกว่างซี-จ้วง ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษามายาวนาน และจะเป็นอีกก้าวสำคัญ ที่จะสนับสนุนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมระหว่างไทย-จีน ในอนาคต

“วิทย์ไมตรี ไทย-จีน” ฉบับเดือนกรกฎาคม 2565 นี้ ได้นำสาระของการประชุมดังกล่าว มาถ่ายทอดให้ผู้อ่านได้เรียนรู้การแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่กว่างซี-จ้วง และการแก้ปัญหาความยากจนเบ็ดเสร็จแม่นยำของไทยไปด้วยกันค่ะ

เนื้อหาประกอบด้วย

  • ที่มาของการประชุม
  • วัตถุประสงค์ของการจัดประชุม
  • กล่าวต้อนรับ
    • รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ (รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
    • นางสาวเบญจมาศ ตันเวทยานนท์ (กงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง)
    • นายหลี่ ซิงฟา (รองอธิบดีกรมพัฒนาชนบทเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง)
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการแก้ปัญหาความยากจนไทย – จีน ในพื้นที่กว่างซี-จ้วง
    • การแก้ปัญหาความยากจนเบ็ดเสร็จแม่นยำของไทย
      • บริบทการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศไทย และกลไกการดำเนินการของ ศจพ.
      • ระบบบริหารจัดการข้อมูลคนจนแบบชี้เป้า
      • แผนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ
      • ผลการขับเคลื่อน ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2564
      • แผนงานการดําเนินการในระยะถัดไป (ปี พ.ศ. 2565-2570)
    • ภาพรวมของนโยบายการแก้ปัญหาความยากจนของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
      • บริบทของนโยบายบรรเทาความยากจนของกว่างซีระดับมหภาค
      • นโยบายหลักและมาตรการบรรเทาความยากจนในกว่างซี
    • ประสบการณ์ของโครงการบรรเทาความยากจนในพื้นที่กว่างซีจ้วงของธนาคารโลก
      • ความสำเร็จในการบรรเทาความยากจนของจีน
      • โครงการบรรเทาความยากจนของธนาคารโลกในกว่างซีในช่วงระยะเวลาการขจัดความยากจน
      • ประสบการณ์โครงการบรรเทาความยากจนกว่างซีของธนาคารโลก
    • แนะนำประสบการณ์โครงการความร่วมมือในการแก้ปัญหาความยากจนจีน-ลาว
      • สำรวจปัญหาความยากจนในประเทศลาว พร้อมระบุเป้าหมายกลุ่มคนที่จะช่วยเหลือและสนับสนุน
      • ประสานความร่วมมือและสร้างทีมงานที่มีคุณภาพในการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่
      • การปรับปรุงมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
    • บทบาทวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและงานบริการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาความยากจน
      • การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกว่างซี
      • บทบาทวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและงานบริการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในกว่างซี
      • การแก้ไขปัญหาความยากจนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
  • ข่าวการจัดงานในสื่อต่าง ๆ

กดเพื่อดาวน์โหลดวารสาร

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]