• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • เมื่อปริญญาตรีอาจไม่เพียงพอสำหรับตลาดงานในประเทศจีน ชาวจีนจึงพากันสอบเข้า ‘ปริญญ…

เมื่อปริญญาตรีอาจไม่เพียงพอสำหรับตลาดงานในประเทศจีน ชาวจีนจึงพากันสอบเข้า ‘ปริญญ…

เมื่อปริญญาตรีอาจไม่เพียงพอสำหรับตลาดงานในประเทศจีน ชาวจีนจึงพากันสอบเข้า ‘ปริญญาโท การเรียนระดับบัณฑิตศึกษา’ โดยหลายปีมานี้ จำนวนผู้เข้าสอบมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
.
สำหรับสนามสอบเข้าปริญญาโทระดับชาติ ที่สอบพร้อมกัน เพื่อชิงพื้นที่เรียนปริญญาโทในมหาวิทยาลัยต่างๆ ประจำปีการศึกษา 2021 (พ.ศ.2564) มีผู้เข้าสอบมากถึง 3.77 ล้านราย เพิ่มจากปีก่อนหน้า 10.6% หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2017 หรือ 3 ปีที่ผ่านมา มีผู้เข้าสอบเรียนต่อปริญญาโท เพียง 2 ล้านรายเท่านั้น
.
โดยจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาโท-บัณฑิตศึกษาที่ทุกมหาวิทยาลัยจีนเปิดรับ รวมทั้งหมดอยู่ที่ราว 7-8 แสนคน ต่อปี ซึ่ง 3 ปีมานี้ อัตราการสอบได้ ลดต่ำลงทุกปี (2017 สอบได้ 36% ; 2018 32% ; 2019 28%)
.

จากการดูผลการสำรวจในจีน – สื่อจีน – แหล่งข้อมูลต่างๆ และการสอบถามเพื่อนๆคนจีนของอ้ายจง รวมถึงประสบการณ์เรียนในจีน พอจะสรุปได้ว่า สาเหตุที่คนจีนต้องการเรียนระดับสูงกว่าปริญญาตรี เป็นเพราะ

1. เพิ่มโอกาสการมีงานทำ เพราะรู้สึกว่า หากจบเพียงปริญญาตรี จะแข่งกับคนอื่นได้ยาก

2. บริษัท-องค์กรในจีน กำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำด้วยวุฒิปริญญาโทมากขึ้น

3. ต้องการรายได้-เงินเดือนสูงขึ้น

4. ต้องการเปลี่ยนสายงาน เนื่องจากหลายสาขาที่จีน สามารถเรียนปริญญาโทได้ โดยไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรีตรงกับสายหรือสาขานั้น เช่น สาขา MBA สาขา การตลาด สาขาทางดิจิทัล
.
4 ข้อข้างต้น จะว่าไปแล้วก็คล้ายกับเมืองไทยบ้านเรานะครับ อย่างไรก็ตาม วุฒิการศึกษาไม่ใช่คำตอบทุกอย่างของการประกอบอาชีพ แต่เป็นเสมือนใบเบิกทาง ซึ่งบริษัทหลายแห่งของจีนยึดหลักประสบการณ์และความสามารถเฉพาะทางมาร่วมพิจารณาด้วย

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]