• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • กลยุทธ์ Blue Ocean น่านน้ำสีคราม กลยุทธ์ธุรกิจที่เจ้าของธุรกิจน้อยใหญ่ต่างถวิล…

กลยุทธ์ Blue Ocean น่านน้ำสีคราม กลยุทธ์ธุรกิจที่เจ้าของธุรกิจน้อยใหญ่ต่างถวิล…

กลยุทธ์ Blue Ocean น่านน้ำสีคราม กลยุทธ์ธุรกิจที่เจ้าของธุรกิจน้อยใหญ่ต่างถวิลหา และการนำมาประยุกต์ใช้กับการทำเพจ “อ้ายจง”

—–

เชื่อว่าพวกเราแทบทุกคนที่กำลังอ่านโพสต์นี้ เคยได้ยินได้รับและมีความฝันเกี่ยวกับ Blue Ocean เพราะไม่มีใครอยากทำธุรกิจอยู่ใน Red Ocean ทะเลสีเลือด ที่เต็มไปด้วยคู่แข่งรายเล็กรายใหญ่พร้อมวิ่งเข้ามาขย้ำเรา

.

ทางออกของทะเลแดง คือ ทะเลสีคราม ซึ่งคนส่วนใหญ่เชื่อว่า หากเราโชคดี เราจะเจอทะเลสีครามของเรา ดินแดนแสนสงบ ที่เราสามารถหาปลา เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้มากที่สุด เพราะมันคือพื้นที่ หรือตลาดใหม่ที่เราสร้างขึ้นมาเอง

.

เชื่อแบบนั้นก็หาผิดไม่ โดยตามทฤษฏีแล้ว กลยุทธ์ Blue Ocean เป็นแนวคิด การสร้าง Demand หรือความต้องการของลูกค้าให้มีต่อตัวสินค้าหรือบริการของเรา โดยฉีกออกจากตลาดเดิมแทบทั้งหมด ซึ่งโลกอุดมคติของ Blue ocean ในความคิดคนทั่วไป มีเขาผู้สร้างน่านน้ำสีครามเพียงผู้เดียว

.

แต่ในความเป็นจริง เราอาจใช้เวลานานชั่วชีวิต จนเรือธุรกิจของเราอัปปางก่อนจะเจอ หรือเจอแล้วแต่พบว่า มีเรือลำอื่นมุ่งหน้ามาน่านน้ำของเราภายหลังที่เราพบเพียงเวลาไม่นาน

.

ในฐานะของคนที่ริเริ่มดำเนินการธุรกิจสื่อออนไลน์และการตลาดจีนในยุคแรกๆ ย้อนไปเมื่อปี2011 เริ่มทำงานในบริษัทเอเจนซี่จีน ที่ในขณะนั้นผู้ประกอบการไทยยังไม่ค่อยได้ยินเรื่องการทำตลาดออนไลน์ในโซเชียลจีนด้วยซ้ำ ก็ทำให้ผมต่อเรือลำเล็กๆ ปักธงบนเรือให้คนรับทราบว่า “ผมคือFreelance การตลาดออนไลน์ในจีนสำหรับผู้ประกอบการในไทย” แล่นเข้ามาสู่น่านน้ำสีครามขนาดย่อมๆที่ผมเริ่มสร้าง

และขยายอาณาเขตไปเรื่อยๆ ดังเช่นปี2013 เริ่มก่อกำเนิดเพจ อ้ายจง สื่อออนไลน์ในไทยสื่อแรกๆที่เริ่มทำให้คนมาสนใจเรื่องจีนและช่องทางโอกาสทำธุรกิจในจีน

.

ผมเคยมีน่านน้ำสีครามของตนเอง เวลาคนคิดถึงสื่อออนไลน์เกี่ยวกับจีน หรือทำตลาดจีน ในยุคนั้น (ย้อนกลับไป 3-4ปี) มักนึกถึงเรา

แต่ในปัจจุบัน มีเรือลำน้อยใหญ่จำนวนมาก เข้ามาในน่านน้ำตรงนี้ บางเรือกลายเป็นลำใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วเพราะเขาก็ต่อยอดจากน่านน้ำนี้ ทำให้กลายเป็นน่านน้ำของเขาเองเช่นกัน จากนั้นเขาก็พบกับสถานการณ์ที่ผมเคยเจอ คือมีเรือจำนวนมากกำลังจะเข้าไปน่านน้ำเขาเช่นกัน

.

สิ่งที่เจ้าของเรืออย่างเราทำได้ คือตราบใดที่ยังมีแรงเดินเรือ “จงอย่าหยุดที่จะฟังเสียงของผู้คน ว่าเขามีความต้องการอะไร” ความต้องการของคนเราล้วนแปรเปลี่ยนตามกาลเวลา

.

จริงอยู่ หากเราวิ่งตามความเปลี่ยนแปลงของคนเพื่อสร้าง Blue Ocean ใหม่ๆขึ้นเสมอ คงไม่ใช่เรื่องดี แต่ถ้าเราหยุดนิ่ง โดยไม่พัฒนาตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ก็คงได้แต่รอวันอัปปางของเรือ

ดังนั้น ขอแค่เรามี 4 อย่า

– อย่าหลงในความสำเร็จก่อนหน้า

– อย่าจมกับความผิดพลาดนับล้านครั้งที่เจอ

– อย่าหยุดพัฒนา อย่าหยุดเรียนรู้

– อย่าหยุดที่จะฟังตลาดและความต้องการของผู้คน

.

จากนั้นทำตนให้เป็นนักค้นหา

หาสมดุล หาIdentity จุดเด่นให้กับเรือของเรา ให้คงอยู่ในน่านน้ำนั้นได้ แม้จะเจอพายุ เจอคู่แข่ง หรือเวลาแปรเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม (เงื่อนไขคือ ต้องมีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงบ้างนะ แต่ไม่เสียตัวตน) เราจะยังคงอยู่ได้

ถ้าหากวันนี้ ยังคงหา Blue Ocean ไม่เจอ ยังต้องฟันฝ่าไปใน ทะเลเลือด หรือเคยผ่านBlue Oceanมา แต่ตอนนี้กลายเป็นทะเลเลือดไปเรียบร้อย อย่าเพิ่งท้อถอย จงมุ่งหน้าต่อไป และบอกตนเองว่า “ดีที่สุดในจุดที่ยืน”

.

ขอขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบ และขอเชิญทุกคนมาดูความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่สำหรับเพจอ้ายจง ที่กำลังเริ่มต้นแล้ว ณ ขณะนี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเป็นไปภายใต้จุดยืนเดิม คือ “สะพานเชื่อมความรู้และทุกเรื่องราวไทย-จีนแบบทุกแง่มุม”

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]