• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • เมื่อChallengeบนโลกออนไลน์ไทย ทำให้หวนนึกถึง กลยุทธ์ของแจ็คหม่าที่เสก “เทศกาลช้อ…

เมื่อChallengeบนโลกออนไลน์ไทย ทำให้หวนนึกถึง กลยุทธ์ของแจ็คหม่าที่เสก “เทศกาลช้อ…

เมื่อChallengeบนโลกออนไลน์ไทย ทำให้หวนนึกถึง กลยุทธ์ของแจ็คหม่าที่เสก “เทศกาลช้อปแหลกวันคนโสดของจีน” กลายเป็น “Challengeท้าทายโลกออนไลน์จีน” ที่ทุกคนพร้อมใจเข้าร่วม แบบ “รับคำท้าโดยไม่ต้องท้า”

—–

ตอนนี้จะเห็นว่าบนโลกสังคมออนไลน์ มีการโพสต์ Challenge “รับคำท้าจากเพื่อน” ให้ทำอะไรบางอย่สงเต็มไปหมด

ช่วงนี้อ้ายจงเองก็ได้รับการเชิญชวนให้ร่วม Challenge ใน Blockdit แอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ที่น่าสนใจมากในตอนนี้ เป็น challenge ในเราเขียนเกี่ยวกับ “เพจที่อ่านประจำ” มันทำให้อ้ายจงนึกถึง Challengeแคมเปญทำนองนี้บนโลกโซเชียลจีน ที่ชาวโซเชียลจีนก็มีคิดออกมาตลอด

.

ไม่ว่าจะเริ่มต้นบนแพลทฟอร์มไหน Weibo, Tiktok, Xiaohongshu แต่ถ้าปัง ก็จะกลายเป็น Viralวงกว้าง ซึ่งก็มีทั้งแบบสาระสร้างสรรค์ และดูเกรียนๆบ้าง อย่างChallengeในจีน ที่อ้ายจงจำได้แม่นๆก็ ถ่ายSelfieอวดขนจักแร้ของสาวจีน เป็นกิจกรรมท้าทายที่เปิดโลกมากเลยตอนนั้น

.

แต่ Challengeในโลกโซเชียล-ออนไลน์ของจีน ที่มีอิทธิพลในวงกว้าง ที่ทุกคนไม่ว่าจะเพศไหนวัยไหน ล้วนมีส่วนร่วม และเป็นแบบ รับคำท้าโดยไม่ต้องท้าด้วยนะ (ไม่ใช่ชื่อเพลงใหม่ของ Getsunovaนะ :-p ) นั่นคือ “การซื้อของออนไลน์ในเทศกาลคนโสด 11เดือน11” ที่ริเริ่มโดย แจ็คหม่า แห่งอาลีบาบา และกระจายไปทั่วทั้งจีน

.

“ทำไมเทศกาลช้อปวันคนโสดที่ริเริ่มโดยแจ็ค หม่า กลายมาเป็น Challenge ที่แทบทุกคนในจีนและตอนนี้ลามไปถึงทั่วทุกมุมโลก ต่างเข้าร่วม”

.

จากแค่ช้อปปิ้ง กลายเป็น Challenge และสัญลักษณ์ของเทศกาลคนโสดของจีน

นับตั้งแต่ปี2009 ที่แจ็คหม่า ได้ริเริ่มเทศกาลช้อปแหลก โดยในครั้งนั้นมียอดซื้อขาย50ล้านหยวน เทศกาลช้อปแหลกของเขาได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลคนโสด 11.11 ที่ทุกคนต่างพากันซื้อสินค้าผ่านระบบของเครืออาลีบาบา

.

“ซื้อมากซื้อน้อยไม่รู้ ขอได้ซื้อไว้ก่อน” เพราะมันกลายเป็น Challenge เสมือนเป็นเกมของเทศกาลนี้ไปแล้ว

และทุกคนยังรู้สึกด้วยว่า การช่วยให้เทศกาลคนโสดทำลายสถิติยอดขายภายใน24ชั่วโมง ของทุกปี มันเป็นการมีส่วนร่วมที่สุดจะภูมิใจ แถมยังเอาไปพูดคุยกับเพื่อนๆได้ว่า “เนี่ย เราจ่ายไปเท่านั้นเท่านี้ ได้สินค้าชิ้นนี้มาด้วยนะ แย่งซื้อทันด้วย และเนี่ยปีนี้สถิติยอดขายถูกทำลายอีกแล้ว ในยอดนั้นมีเงินของเราเท่านี้ด้วยแหล่ะ”

.

ตัวอ้ายจง เคยถามเพื่อนคนจีนว่า “ทำไมถึงต้องซื้อของในเทศกาลคนโสดด้วย เริ่มมีข่าวออกมาก็เยอะนะว่า ของบางอย่างก็ไม่ได้ลดราคาจริงๆ”

เขาบอกว่า “เวลาเราแย่งซื้อทันก่อนที่จะของจะหมด มันเป็นอะไรที่ภูมิใจมากเลยนะ”

.

ทุกคนพอจะเห็น Keyword อะไรบางอย่างจากคำตอบของเพื่อนอ้ายจงไหมครับ ผมว่าเราน่าจะเห็นตรงกันนะ สิ่งนั้นคือ “ความท้าทาย” “ความภูมิใจ” และ “ความมีตัวตน” ที่ได้เข้าร่วมในกิจกรรมนั้น ในทางการตลาด ถ้าเราทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า คุ้มค่าและได้มากกว่าเสีย เขาจะยอมจ่ายให้กับเราและจ่ายต่อไปเรื่อยๆ

.

และ หนึ่งในกลยุทธ์ที่ทาง”อาลีบาบา” นำออกมาใช้เพื่อกระตุ้นให้คนเข้าร่วมChallengeนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ประมาณนี้

1. “มากกว่าช้อปปิ้ง คือความบันเทิงให้คลายเหงาในวันคนโสด ”

หากงานปีใหม่ของไทยนึกถึง Central World หรือสงกรานต์ต้องไปสีลมหรือถนนข้าวสาร งานรื่นเริงในช่วงเทศกาลคนโสดของจีน ก็คงต้องยกให้งานSingle day ของอาลีบาบา ในแต่ละปี แจ็คหม่า จะจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ และเชิญเหล่าคนดังระดับโลกมามากมาย คนดังทั้งจีนและต่างประเทศ ต่างเคยมางานนี้กันเพียบ ไม่ว่าจะ โคบี ไบรอันท์ ,เดวิดเบคแฮมก็มา , Scarlett Johansson

และในปี 2017 ก็เป็นหนึ่งในปีที่ทางอาลีบาบา ทำฮือฮาด้วยโปรเจคหนังกังฟูที่อำนวยการผลิตโดย เจ็ทลี และมี “แจ็คหม่า” ร่วมแสดงนำ พร้อมนักแสดงและคนดังมากมาย เป็นหนังสั้น 20 นาที ฉายวันโสด 11 เดือน 11

.

2. “Alibaba ทำให้เราพบว่า หันหน้าไปทางไหนก็เจอเทศกาลช้อปแหลกของอาลีบาบา ทั้งสังคมออนไลน์และสังคมจริง

อ้ายจงไม่แน่ใจว่า Alibaba ลงทุนในส่วนของโฆษณาและสื่อมากน้อยเพียงใด แต่ต้องบอกว่ามันคุ้มค่าทุกเม็ดเงินจริงๆ ตั้งแต่อยู่จีนครั้งแรกในปี2011 พอใกล้ช่วงเทศกาลคนโสด จะเห็นป้ายโฆษณาช้อปแหลกของTmall, Taobao อยู่ในทุกๆที่ ทั้งป้ายรถเมล์, รถไฟใต้ดิน, ออนไลน์ คือเข้าถึงหมด

และนับตั้งแต่โลกสังคมออนไลน์เป็นที่นิยม ก็กลายมาเป็นเครื่องมือหลักของอาลีบาบาในการโปรโมทเทศกาลนี้ ที่ในพักหลัง กลายเป็นผู้คนในสังคมออนไลน์เองที่เป็นกระบอกเสียงคอยโปรโมทให้ เพราะอย่างที่บอกในข้อ 1 มันกลายเป็นสัญลักษณ์ในเทศกาลคนโสดไปแล้ว

.

3.”ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อระบบอีคอมเมิร์ชของจีน”

ต้องยอมรับว่าระบบอีคอมเมิร์ชของเจ้าต่างๆในจีน มีความน่าเชื่อถือสูง อาจเป็นเพราะเขาพัฒนาเรื่อยๆ ลองผิดลองถูกกันมาหลายปี จนประชาชนมีความเชื่อมั่น ระบบโลจิสติกส์ ขนส่งสินค้าในจีน ถือเป็นน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่ากับอีคอมเมิร์ชจีนเลย โตมาด้วยกัน ต่างฝ่ายต่างเอื้อประโยชน์ให้แก่กัน

.

4. ไม่มีคำว่าหยุดนิ่งสำหรับ Alibaba”

ในเทศกาลคนโสด แต่ละปี Alibaba มักจะเปิดตัวเทคโนโลยี และฟีเจอร์ใหม่ๆ ใน แพลทฟอร์มของเขา สำหรับปี 2016 Alibaba เริ่มนำเทคโนโลยีVR (Virtual Reality) เข้ามาใช้ในการจับจ่ายใช้สอยบนโลกออนไลน์เป็นครั้งแรก

โดยเปิดให้นักช้อปสามารถซื้อ VR Cardboard ในราคาเพียง1หยวน เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าสู่โลกเสมือนจริงได้ เสมือนว่าเรากำลังช้อปปิ้งในห้าง เมื่อเจอสินค้าแบรนด์ใดน่าสนใจ ก็ดูและสามารถกดซื้อได้เดี๋ยวนั้นเลย เหมือนเราอยู่ ณ ที่นั้นจริงๆ

เท่านี้ยังไม่หมด Alibaba ยังทำ Live สด ให้กลายเป็นการซื้อสินค้าแบบเรียลไทม์เช่นกัน อย่าง งานแฟชั่นโชว์ “See Now, Buy Now” ที่จัดโดย Tmall.com ในเครือ Alibaba ที่เซี่ยงไฮ้ ผู้ชมสามารถชมได้สดๆผ่าน Livestream และสามารถเห็นสั่งซื้อสินค้าของแบรนด์ที่เดินแฟชั่นได้เลย

—–

ไม่ว่าคุณจะชอบอะไร ขอให้ไปให้สุด และสนุกที่ได้ทำ อย่าหยุดที่จะทำ – นี่เป็น Challengeชีวิต ที่ผมอยากให้ทุกคนได้ทำครับ “แค่ทำในสิ่งที่ตนเองชอบ”

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #การตลาดจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]