วิเคราะห์และสรุป โอกาสการลงทุนของนักลงทุนจีนในย่านอาเซียน หลังเหตุการณ์แพร่ระบาดCOVID-19
.
เมื่อเช้านี้ผมมีโอกาสได้อ่านบทความของ South China Morning Post สื่อชื่อดังของฮ่องกง เกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จีนต้องเผชิญอันมาจากการระบาดหนักของ COVID-19
โดยในบทความนั้นสรุปไว้ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจจีนในปี 2020 จะปรับลดลง โดยIMF คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตของจีนจะลดต่ำลงกว่า 5.6%
ในแง่ของ PMI ( Purchasing Managers’ Index) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นอีกหนึ่งดัชนีบ่งชี้สภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการ ซึ่งในจีน Caixin Media Company Ltd. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำดัชนี
เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Caixin เผยว่า PMIของจีนลดลงจาก 51.8% เดือนมกราคม เหลือ 26.5% เนื่องจากกำลังผลิตส่วนใหญ่ได้รับการผลกระทบโดยตรงจากCOVID-19 จึงมีการปิดโรงงาน โดยภาคบริการ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ก็ได้รับกระทบหนัก จากนโยบายจีนปิดเมือง เพื่อสู้ศึกCOVID-19
แต่ล่าสุดจีนได้อัพเดทสถานการณ์ในจีนต่อIMF โดยระบุว่า ณ ขณะนี้ กำลังการผลิตในจีนเริ่มเพิ่มขึ้นทะลุ 60% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 90% ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
แม้ว่าในภาพรวม เศรษฐกิจจีนจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดในครั้งนี้ แต่ภายใต้ วิกฤติ มีโอกาสซ่อนไว้อยู่เสมอ
อย่างในครั้งนี้ ที่เห็นชัด ได้แก่ เศรษฐกิจดิจิทัล – การขับเคลื่อนโดยการจับจ่ายใช้สอยออนไลน์ในขณะที่ประชาชนไม่ออกจากบ้าน
ตัวอย่างเช่น 9วันแรกของเทศกาลตรุษจีน (ตั้งแต่ 25 ม.ค. 63) ยอดสั่งซื้อสินค้าอาหารสดและข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำผ่านแพลทฟอร์ม JD.com มีการเติบโตถึง 215% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
ขณะที่ 每日优鲜 หรือ Miss Fresh สตาร์ทอัพ Food Deliveryที่มาแรงมากในจีน (มี Tencent Holdings เป็นแบ็กอัพในการลงทุน) ก็เติบโตอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงแรกของการระบาด ซึ่งจำนวนรายการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น 300% เลยทีเดียว
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากจีนเริ่มมีสถานการณ์ดีขึ้นและผ่อนปรนนโยบายปิดเมืองอู่ฮั่น :หลังจากร้านต่างๆเริ่มกลับมาเปิดให้บริการประมาณ57% เมื่อวันที่ 25 ก.พ.63 พบว่าแค่วันนั้นเพียงวันเดียว ก็มียอดสั่งอาหารออนไลน์ในเมืองอู่ฮั่น 130,000รายการ
ตัวอย่างนี้ก็เป็นตัวอย่างได้อย่างดีว่า แม้วิกฤติจะเริ่มผ่านพ้น แต่คนจีนทุกช่วงวัยได้คุ้นชินกับการใช้บริการออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
นี่คือเหตุผลที่ “จีนกำลังจะขยับขยายมาย่านอาเซียนมากขึ้น เนื่องด้วยเหตุผลการเติบโตของธุรกิจที่ปรับจากออฟไลน์มาสู่ออนไลน์”
ในช่วงเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้ว (2019) มีรายงานจาก GlobalTimesสื่อจีนว่า ย่านอาเซียน ASEAN กำลังเป็นย่านที่นักลงทุน Venture Capital จีน หอบเงินมาลงทุนมากที่สุด
3ปีมานี้ ที่Venture Capitalจีน เริ่มเข้ามาลงทุนในตลาดอาเซียน และมีแนวโน้มลงทุนเพิ่มขึ้นทุกปี อย่างในครึ่งแรกของปีนี้ 2019 ก็มีการลงทุนในภูมิภาคนี้ไปแล้วกว่่า 667ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า สูงถึง 350%
3ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนในธุรกิจ Startupภูมิภาคอาเซียน 2.6หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยครึ่งหนึ่ง มาจาก VCจีน
เหตุผลหลักที่ VCจีน หันมาลงทุนย่านอาเซียน เพราะมองเห็นโอกาสของตลาดอาเซียน โดยเฉพาะตลาดออนไลน์ที่มีจำนวนผู้ใช้งานออนไลน์กว่า 350ล้านคน จากประเทศกลุ่มอาเซียน อาทิ สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, ไทย และเวียดนาม โดยธุรกิจที่มีแรงดึงดูดกลุ่มทุนจีนมากที่สุด คือ กลุ่มเทคโนโลยีใหม่ (AI, FinTech, blockchain) และธุรกิจสุขภาพ-การแพทย์
จากการพูดคุยกับเพื่อนๆชาวจีนที่เป็นนักธุรกิจและนักลงทุน พบว่า นอกจากกลุ่มทุนจีนจะมาลงทุนในธุรกิจstartup ยังเลือกมาลงทุนในบริษัท-องค์กรที่ดำเนินธุรกิจมาสักระยะใหญ่ๆและมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดีในอนาคต อย่างบริษัทหลายแห่งในไทยโดยเฉพาะสายดิจิทัล-ออนไลน์ ก็มีกลุ่มทุนจีน-บริษัทยักษ์ใหญ่ในจีนมาร่วมลงทุน
.
อ้ายจงอ้างอิงจาก
– http://www.xinhuanet.com/english/2020-02/11/c_138774617.htm
– https://www.scmp.com/news/china/money-wealth/article/3065082/coronavirus-imf-again-cuts-2020-china-growth-forecast-covid
– GlobalTimes
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง