10 อันดับข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีนปี 2566

China's first deep-sea floating wind farm connected to power gridแพลตฟอร์มพลังงานลมแบบลอยน้ำกลางทะเลจีนส่งดาวเทียม 41 ดวง ด้วยจรวดลำเดียว
แพลตฟอร์มพลังงานลมแบบลอยน้ำกลางทะเลลึกแห่งแรกของจีน “ซีเอ็นโอโอซี กวนหลาน” (CNOOC Guanlan) ตั้งอยู่มณฑลไห่หนาน       มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารายปี 22 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ก่อสร้างโดยบริษัท China National Offshore Oil Corporation (CNOOC)จีนส่งจรวด Long March-2D บรรทุกดาวเทียมจำนวน 41 ดวง ขึ้นสู่วงโคจร นับเป็นสถิติใหม่สำหรับการส่งดาวเทียมขึ้นสู่ห้วงอวกาศ                  มากที่สุดในคราวเดียว
นักวิจัยจีนค้นพบกลไกการชะลอความชรา千眼天珠”建成,313部天线瞄准太阳-- 中国光学期刊网กล้องโทรทรรศน์พลังงานแสงอาทิตย์ต้าวเฉิง
นักวิจัยจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน      และสถาบันอื่น ๆ ประสบความสำเร็จใน           การอธิบายวัฏจักรชีวิตของไวรัส ERV ในลำดับจีโนมมนุษย์ พร้อมพัฒนาเทคโนโลยีแทรกแซงกระบวนการความชราหลายอย่างกล้องโทรทรรศน์วิทยุพลังงานแสงอาทิตย์ต้าวเฉิงเริ่มทดลองสังเกตการณ์ ถือเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุรับแสงสังเคราะห์ที่ใหญ่สุดที่ ในโลก มีเสาอากาศทรงพาราโบลากว้าง 6 เมตร จำนวน 313 เสา พัฒนาโดยศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
China's FAST telescope opened up to scientists from 14 countries last year  | South China Morning PostFAST พบคลื่นความโน้มถ่วงระดับนาโนเฮิรตซ์สถานีอวกาศจีนเข้าสู่ระยะประยุกต์ใช้งาน
นักวิจัยจากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนและสถาบันอื่น ๆ ตรวจพบหลักฐานสำคัญของการมีอยู่ของคลื่นความโน้มถ่วงระดับนาโนเฮิรตซ์ มีส่วนช่วยทำความเข้าใจการก่อตัวของโครงสร้างของเอกภพปี 2566 สถานีอวกาศเทียนกงได้เข้าสู่ระยะประยุกต์ใช้งานและพัฒนา โดยในปีนี้มีภารกิจขนส่งยานเทียนโจว-6 ยานเสินโจว-16 และ      ยานเสินโจว-17 ไปยังสถานีอวกาศเทียนกง
นักวิจัยจีนค้นพบยีนสำคัญที่ทนต่อดินเค็ม-ด่าง โทรศัพท์มือถือรองรับการโทรผ่านดาวเทียม
นักวิจัยจากสถาบันพันธุศาสตร์และชีววิทยาพัฒนาการ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนและสถาบันอื่นๆ ค้นพบ การใช้ยีน AT1 สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด และพืชผลอื่น ๆ ในพื้นที่ดินเค็ม-ด่างได้ หัวเว่ยเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่น Mate 60 Pro      สามารถรองรับการโทรออกและรับสายผ่านดาวเทียมโดยไม่มีสัญญาณเครือข่ายภาคพื้นดิน และรองรับการส่งข้อความผ่านดาวเทียมเป่ยโตว ถือเป็นสมาร์ทโฟนเครื่องแรกของโลกที่รองรับการโทรผ่านดาวเทียม
จีนขุดเจาะบ่อก๊าซบนบกที่ลึกที่สุดในประเทศ我国科学家发现了一种新矿物——铌包头矿_中国粉体网จีนค้นพบแร่ชนิดใหม่ “ไนโอเบียมเปาโถว”
บริษัท China National Petroleum Corporation (CNPC) เริ่มขุดเจาะบ่อ “ต้าเป่ย-401” ลึก 8,457 เมตร ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ถือเป็นแหล่งกำเนิดน้ำมันแห่งสำคัญของจีนนักวิจัยจาก Beijing Research Institute of Uranium Geology (BRIUG) ค้นพบแร่ชนิดใหม่ ชื่อ “ไนโอเบียมเปาโถว” เป็นแร่ซิลิเกตที่ประกอบด้วยแบเรียม ไนโอเบียม ไทเทเนียม เหล็กและคลอรีน เป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ การผลิตวัสดุตัวนำยิ่งยวด และโลหะผสมที่มีอุณหภูมิสูง
อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]