E-commerce 1ในเครื่องมือสำคัญ “แก้จน” ในเขตชนบทจีน
“เฉพาะแค่ปี 2018 ยอดขายปลีกบน E-commerceจากร้านค้าในเขตชนบทจีน พุ่งทะยานทะลุ 1.37 ล้านล้านหยวน เติบโต 30.4% เมืื่อเทียบรายปี โดยสินค้าหลักจากเขตชนบท ได้แก่ สินค้าทางการเกษตร 2.305 แสนล้านหยวน เติบโต 33.8%”
ย้อนไปเมื่อก่อน ภาพจำของเราเมื่อพูดถึง เขตชนบท พื้นที่ยากจนของจีน คงเป็นภาพของ พื้นที่ด้อยพัฒนา มีความเจริญค่อนข้างน้อย หากเราพูดว่า E-commerceแก้จนให้คนชนบท คงจะเป็นเรื่ิงน่าขันไม่น้อย เพราะดูขัดแย้งกัน ในเมื่อ ด้อยพัฒนา Internetก็ไม่น่าจะเข้าถึง เรื่องค้าขายออนไลน์น่ะหรือ ลืมไปได้เลย
แต่ ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของจีน ไม่ว่าจะเขตชนบท เขตภูเขาไกลปืนเที่ยง ดังนั้น”E-commerce เป็นยาแก้จนของคนชนบทจีน” จึงเป็นเรื่องที่ฟังแล้วต้องหยุดตั้งใจฟังให้ดีเพื่อเรียนรู้ ไม่ใช่ฟังแล้วหลุดหัวเราะเพราะเป็นเรื่องเพ้อฝัน อีกต่อไป
.
“เมื่อเม็ดเงินที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน มาจากดิจิตอลอันมีฐานในเขตชนบท!!!”
จากการรายงานของ People’s Daily สื่อทางการจีน ระบุ ข้อมูลล่าสุดเมื่อปี2018ที่ผ่านมา ขนาดของเศรษฐกิจดิจิตอลจีน มีมูลค่า 31ล้านล้านหยวน กินพื้นที่ 1ใน3 ของGDPจีน ซึ่งพื้นที่ชนบทของจีนมีการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิตอล อย่างก้้าวกระโดดสูงกว่า เมืองใหญ่ของจีนระดับเมืองหลัก (first tier) และเมืองรอง (second tier) บางเมือง ด้วยซ้ำ
222 ล้านคน หรือคิดเป็น 26.7% ของผู้ใช้งานInternetจีน เป็นผู้อาศัยในเขตชนบท เพิ่มขึ้น 6.2% จากปีก่อนหน้า
.
แหล่งที่มาสำคัญของเม็ดเงินเศรษฐกิจดิจิตอลจีน มาจาก E-commerce ธุรกิจซื้อขายสินค้าออนไลน์
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจีน ต่างมีส่วนร่วมในการพัฒนา E-commerceจีน โดยทางภาครัฐ สร้างInflastructure โครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เทคโนโลยีเข้าถึง ส่วนภาคเอกชน เช่น Alibaba สร้างแพลตฟอร์มและสนับสนุนให้คนเขตชนบทขายของออนไลน์เป็น
หมู่บ้าน Taobao (เถาเป่า) ของ Alibaba สร้างงานให้คนชนบท 28ล้านคน ในช่วงหลายปีมานี้ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่มณฑลเจ้อเจียง เจียงซู และฝูเจี้ยน
ในขณะที่ JD 1ในคู่แข่งสำคัญของ Alibaba ก็ไม่น้อยหน้า เมื่อระบบขนส่งสินค้าด้วย “โดรน” ทำให้การรับส่งสินค้าในพื้นที่ไกลเปืนเที่ยงเป็นเรื่องง่าย ต้นทุนลดลง
“ตัวอย่างE-commerce ความหวังใหม่ของคนจีนเขตชนบท-ยากจน”
หมู่บ้านบนเขตภูเขาของจีน ทำรายได้ในเทศกาลช้อปแหลกวันคนโสด ปี2017วันเดียว 5 ล้านหยวน ( ประมาณ 25 ล้านบาท) จากการขายผลิตภัณฑ์จักสาน ออนไลน์ (ปีที่แล้วทำได้ 3 ล้านหยวน หรือประมาณ 15 ล้านบาท)
หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านเขตภูเขาในอำเภอป๋อซิง มณฑลซานตง
ทั้งหมู่บ้าน มีร้านค้่าออนไลน์บนแพลทฟอร์มเถาเป่า Taobao (เครือ อาลีบาบา Alibaba) กว่า 800 ร้านค้า
ทั้งหมดที่เล่ามาคือตัวอย่างของประเทศจีน ที่ไม่แน่นะครับ E-commerceอาจจะมาเป็นฟันเฟืองสำคัญในการแก้จนของคนไทยด้วยก็ได้ หากทุกฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง