• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • นานาเหตุผลที่ สังคมไร้เงินสด เกิดได้จริงในจีน 1. สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลา โดยเ…

นานาเหตุผลที่ สังคมไร้เงินสด เกิดได้จริงในจีน 1. สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลา โดยเ…

นานาเหตุผลที่ สังคมไร้เงินสด เกิดได้จริงในจีน

1. สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลา โดยเฉพาะเงินย่อย ไม่ต้องมีมาอ้างนู่นนี่ว่า ไม่มีทอน คือสแกนคิวอาร์โค้ดปุ๊บ กรอกเงิน จ่ายปั๊บ ได้ทั้งแบบร้านค้า และ บุคคลทั่วไป

อยู่ที่ไหนก็จ่ายได้ บางทีแทบไม่ต้องออกจากห้องเลย ซื้อข้าว จองนู่นนี่ ตัดภาพมาที่อ้ายจง กลับมาไทย จองตั๋วรถทัวร์ ยังต้องไปจ่ายที่ 7-11 อยู่เลย
แฮร่ๆ

2. คนจีนค่อยๆคุ้นเคยการใช้เงินผ่านแอพ ค่อยๆเชื่อมั่น จากสิ่งที่เขาคุ้นเคยมานาน ก็คือ ร้านค้าออนไลน์ เถาเป่า จากแต่ก่อนถ้าจ่ายเงินออนไลน์ จะทำเรื่องที่ธนาคาร และธนาคารมีอุปกรณ์เสริมนุ่นนี่นั่น ยุ่งยาก แต่ภายหลังแจ็คหม่าผูก alipay เข้ามา จ่ายผ่านแอพ ชิลลลล ส่วนฝั่งวีแชท เพย์ ก็คือตัวแอพวีแชทน่ะ คนจีนใช้เป็นอันดับ1อยู่ล่ะในส่วนของแอพแชท เมื่อผูกวีแชทเพย์เข้ามา เริ่มจากส่งอั่งเปา ก็ทำให้คุ้นกันมากขึ้น

ในส่วนของ Alipay แจ็คหม่าผลักดันมาก ซึ่งเขาถือเป็นบุคคลที่ผลักดันสังคมไร้เงินสดในจีนเลย ยิ่งเป็นบุคคลทรงอิทธิพล ผลักดันอะไรก็ย่อมมีผลเห็นได้ชัด

3. เรื่องของความปลอดภัย แม้ว่าจะเคยมีข่าวการแฮคบัญชี Alipay, WeChat แต่จริงๆระบบจ่ายเงินผ่านแอพและออนไลน์ของจีนก็ยังถือว่าน่าเชื่อถือสูง

4. จ่ายผ่านแอพได้ส่วนลด โปรต่างๆ โดยเฉพาะใน Alipay

5. ปัญหาธนบัตรปลอม นี่ก็สำคัญครับ คือก่อนหน้านี้จีนประสบปัญหาธนบัตรปลอมระบาด แต่พอคนนิยมจ่ายเงินผ่านแอพ เหมือนปัญหานี้จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด และพวกธนบัตรเก่าๆขาดบ่อย ก็ด้วย แม้เอาที่ขาดไปแลกได้ แต่ไปธนาคารจีนทีไรแทบบ้า คิวเยอะคนแยะ

6. จับจ่ายได้แบบรู้ที่มาที่ไป มีประวัติบอกหมด ทั้งAlipay และ WeChat pay จริงๆตู้เอทีเอ็มธนาคารจีนบางเจ้าก็เช็คความเคลื่อนไหวได้ หรือถ้าสมัครส่ง sms ก็มีเตือนตลอด แต่คือบนแอพ มันบันทึกไว้ตลอด เราดูได้เลย สะดวกมาก

7. จะโอนเงินให้กัน ไม่ต้องยุ่งยากกรอกชื่อให้เป๊ะ ธนาคารสาขาให้แม่น คือแค่สแกน QRCode หรือส่ง ID ให้กัน ก็โอนได้เลย ไม่มีค่าธรรมเนียมแบบโอนเงินปกติ พอรับเงินผ่านแอพ อยากเก็บไว้ในธนาคาร ก็ถอนเข้าธนาคารได้เลย ค่าธรรมเนียมน้อยมาก

ใครจะยืมเงินกัน เดี๋ยวนี้สะดวกมาก ยืมผ่าน Alipay หรือ WeChat ได้เลย ฮ่า แต่ยืมแล้วคืนเพื่อนด้วยนะ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ดีนะ แฮร่

8. รัฐสนับสนุน รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ดูได้จากที่อ้ายจงเคยนำเสนอ คือตอนนี้ ธนาคารบางเจ้าบางสาขา ยกเลิกเมนูถอนเงินในตู้เอทีเอ็มล่ะ

หรืออย่างระบบขนส่งสาธารณะก็ผนวกการจ่ายเงินผ่านแอพเข้ามา

ภาคธุรกิจ ร้านค้า ก็ตบเท้าเอาด้วยหมด

9. Startup และธุรกิจอื่นๆ บนโลกออนไลน์ และบนแอพมือถือ โตขึ้น และแน่นอนก็ต้องมีฟีเจอร์จ่ายเงินผ่านแอพ ก็เลยใช้พวกนี้ ก็เลยยัง
คงโตต่อเนื่อง อย่าง แชร์จักรยาน แชร์นู่นแชร์นี่ หรือ เรียกแท็กซี่ เรียกเสร็จ ลงรถ ตัดเงินผ่านแอพ หรือ สั่งอาหารผ่านแอพ ก็จ่ายผ่านแอพด้วยAlipay, WeChat Payเช่นกัน

10. การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆอย่างไม่หยุด เช่นแอพกลุ่มสตาร์ทอัพต่างๆในข้อ 9 และการเข้าถึงของเทคโนโลยี ที่เข้าถึงทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่ม

เราอาจเคยได้ยินคนบอกว่า คนจีนกลัวการเปลี่ยนแปลง แต่ในความเป็นจริง ถ้าสิ่งไหนตอบโจทย์ สิ่งไหนเริ่มเป็นกระแส พวกเขาเริ่มคุ้นเคย (ในข้อ2) เขาก็ไม่กลัวที่จะใช้ นี่คือคำตอบว่า ทำไมแม้แต่ คนขับวินมอเตอร์ไซค์ หรือคุณยายขายผักแบบแบกะดินในตลาด ถึงยังรับเงินผ่านแอพ หรือถ้าเห็นได้ชัดเลยก็ ลุงขอทาน เพราะพวกเขาเหล่านี้รู้ว่า ตอนนี้กระแสมา และเป็นสิ่งที่ได้ประโยชน์

11. เข้าถึง Internet ได้ง่าย

แน่นอนว่า สิ่งสำคัญของแอพจ่ายเงิน
คือ ต้องเชื่อมต่อ Internet ซึ่งนอกจาก Internet มือถือแล้ว เดี๋ยวนี้ ตามเมืองต่างๆ Wifi ก็มีให้บริการทั่วไปอย่างทั่วถึง เช่น ตามห้างสรรพสินค้า ตามร้านต่างๆ แม้กระทั่งบนรถเมล์ รถไฟฟ้าใต้ดิน ก็เริ่มมีให้บริการ Wifi

12. แบตเตอรี่มือถือหมด คือจบ แต่ไม่จบง่ายๆ เพราะเริ่มมีคนรู้ถึงปัญหา ติดตั้งตู้ชาร์จแบตฟรี หรือจุดเสียบปลั๊กชาร์จแบตฟรีตามห้าง หรือแม้กระทั่งสตาร์ทอัพแบบใหม่ แชร์ที่ชาร์จสำรอง

แต่สำหรับตู้ชาร์จแบตฟรี มีข้อควรระวังเหมือนกัน คือเคยมีข่าวว่ามิจฉาชีพติดตั้งระบบแฮคข้อมูลเอาไว้

——————

สรุปแล้ว โดยรวมที่ทำให้จีน มีสังคมไร้เงินสดได้ ก็ด้วยคำเหล่านี้ “สะดวก” “เชื่อมั่น” “ความปลอดภัย” และ “พลังประชาชน แบบปากต่อปาก จนเป็นกระแส กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันสังคมจีน” นั่นล่ะครับ

ภาพจาก 视觉中国,China Daily

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #สังคมไร้เงินสด #cashlesssociety #จีน #china

————————————————

ติดต่อโฆษณา ลีลี่ 099-061-0008 , WeChat: lili-lilisoso, LINE:958758407, E-mail: [email protected]



ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]