• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • เปิดเหตุผล ทำไม!!! ไทยควรคิดให้ดี “หากไทยแก้กฎหมาย เปิดทางให้ชาวต่างชาติซื้อบ้าน…

เปิดเหตุผล ทำไม!!! ไทยควรคิดให้ดี “หากไทยแก้กฎหมาย เปิดทางให้ชาวต่างชาติซื้อบ้าน…

เปิดเหตุผล ทำไม!!! ไทยควรคิดให้ดี “หากไทยแก้กฎหมาย เปิดทางให้ชาวต่างชาติซื้อบ้านได้มากขึ้น ง่ายขึ้น โดยเฉพาะชาวจีน ที่ถือครองอสังหาในไทยจำนวนมากอยู่แล้ว”

—–

ช่วงนี้สื่อหลายสำนักต่างนำเสนอข่าวเกี่ยวกับ “ไทยอาจแก้กฎหมาย เปิดทางให้ชาวต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะบ้าน ได้มากขึ้น” โดยก่อนหน้านี้ชาวต่างชาติทั่วไปสามารถถือครองได้เฉพาะคอนโด ยกเว้นจะเข้าเงื่อนไขที่ทำให้ซื้อและถือครองบ้านแนวราบ
.
ตัวอย่างเงื่อนไข ก็เช่น

– เอาเงินมาลงทุนในประเทศไทย ไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท

– ถือครองในนามนิติบุคคล-บริษัทจีนที่มาตั้งบริษัท มาลงทุนในไทย
.
โดยตามข่าวที่ออกมาว่า คาดว่า อาจมีการแก้กฎหมายให้ต่างชาติซื้อบ้านเดี่ยวในราคา 10-15 ล้านได้ คือไม่จำเป็นต้องถึง 40 ล้าน ที่ตอนแรกเป็นเงื่อนไขเรื่องการนำเงินลงทุนในไทย และในส่วนของคอนโด ก็ขยายโควตาให้ต่างชาติ ซื้อได้มากถึง 80% ของโครงการคอนโดนั้น จากเดิมคือ ไม่เกิน 49%
.
การเช่าระยะยาว ก็เช่าได้ในระยะเพิ่มมากขึ้น มากกว่ากำหนดเดิมที่ไม่เกิน 30 ปี
.

ขอย้ำว่า อันนี้เป็นเพียงข่าวที่ออกมา คาดว่าจะมีการแก้กฎหมาย แต่ยังไม่มีการแก้ตอนนี้ครับ
.
แต่เอาจริงๆนะ ถ้าเป็นไปตามข่าวจริงๆ “จีน” ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่จะเข้ามาถือครองอสังหาบ้านเรามากที่สุด จากเดิมที่ตอนนี้ก็มากอยู่แล้ว
.
และต้องยอมรับอีกว่า มันมีช่องทางเทาๆ แบบที่ใช้คนไทยหรือบริษัทไทยที่เป็นเอเจนซีเป็นนอมินี-เป็นตัวแทนในการซื้อและถือครองบ้าน หรืออาจเป็นลักษณะเช่ายาวๆ มานานแล้ว
.
จากประสบการณ์ตรงของอ้ายจง ตอนนี้อยู่เชียงใหม่ มีบ้านที่นี่ หมู่บ้านที่อ้ายจงอยู่ มีคนจีนเยอะมาก เอาแค่เพื่อนบ้านอ้ายจง ทั้งซ้ายและขวา ก็เป็นคนจีนทั้งหมด
.
และคนจีนเหล่านี้ มักจะใช้บริการนายหน้าที่เป็นคนจีนและผู้รับเหมาชาวจีนเพื่อมาต่อเติมบ้าน เรียกได้ว่า “ครบทุกบริการด้วยคนจีนเพื่อคนจีน”
.

ดังนั้นจึงเกิดเป็นคำถาม สำหรับประเด็น “ถ้าแก้กฎหมายการซื้อและถือครองอสังหาจริงๆ” ประมาณนี้
.
1. ไทยได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์มากกว่ากัน เอาแค่ตัวคนไทยเรานะครับ เอาเท่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้ ก่อนที่จะเกิดโควิด มีหมู่บ้านหลายแห่งทำมาเพื่อจับตลาดคนจีนโดยเฉพาะ ราคาสูงกว่าปกติ และมันทำให้ราคาที่ทางละแวกนั้น ย่านนั้นสูงขึ้นตามไปด้วย โดยอาจสูงเกินกว่าความเป็นจริง
.
แน่นอนว่ามันอาจเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจบ้านเรา จากเม็ดเงินต่างชาติที่มีกำลังซื้อกว่าในประเทศ

แต่ถ้าจะทำ ก็คงต้องมีการกำหนดโควตา กำหนดสัดส่วนของแต่ละย่านให้ชัดเจนว่าต่างชาติได้กี่ % และต้องคุมราคาด้วย
.
2. ไทยเราเตรียมพร้อมสำหรับกฎหมายที่แข็งพอจะรักษาผลประโยชน์โดยรวมของคนในชาติ และดูแลให้เป็นไปในระเบียบเรียบร้อยจริงๆ หรือไม่ เพราะอย่างที่บอก ที่ผ่านมา มันก็มีกรณีเทาๆเยอะมาก อย่างการใช้นอมินี
.
เท่าที่ติดตามข่าวนี้มา ล่าสุดเหมือนว่า เหตุผลที่ภาครัฐอยากแก้กฎหมายให่ต่างชาติถือครองบ้านแนวราบได่ ก็เพราะต้องการ “ล้างระบบนมินี-ซื้อหรือถือครองผ่านตัวแทน” ซึ่งก็ถือว่าดีนะครับที่จะล้างระบบนี้ไป ทำให้ถูกกฎหมาย แต่ก็ต้องคำนึงถึงในข้อ 1. ด้วย เรื่องสัดส่วน การกำหนดโควตา และคุมราคา
.
และขอเน้นอีกนิด “เราต้องเตรียมกฎหมายให้แข็งและบังคับใช้ได้จริง”
.
จากประเด็นหลายประเด็นของเรื่องราว “จีนหลอกจีน” ที่ผ่านมา ที่ใช้สถานที่ในประเทศไทย เป็นแหล่งหลอกลวง ก็ชี้ให้เห็นถึงจุดบกพร่อง จุดบอดบางอย่างในไทย ที่คนต่างชาติ อย่างเช่นคนจีน เขามาอาศัย มาทำงาน มาทำธุรกิจ มาซื้อนู่นนี่นั่นได้ง่าย จนรู้สึกง่ายเกินไป ที่ว่าง่าย เพราะมีคนไทยบางกลุ่ม คอยอำนวยความสะดวกให้ ผ่านช่องโหว่ของกฎหมายนี่แหล่ะ
.
ประเทศไทยของเราจะดี จะแข็งแรงขึ้นได้ ควรเริ่มจากคนในประเทศ ให้คิดถึงประเทศจริงๆ ไม่ใช่แค่ผลประโยชน์ส่วนตัวนะครับ

—–

ตัวอย่างข่าวที่มีการพูดถึงประเด็นแก้กฎหมายอสังหาในไทยสำหรับต่างชาติ

ประชาชาติธุรกิจ https://www.prachachat.net/property/news-649676

ผู้จัดการ https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000035078

กรุงเทพธุรกิจ https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652356

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]