โครงการนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่แห่งอาเซียนของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ASEAN Talented Young Scientists Program (ATYSP)


“โครงการนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่แห่งอาเซียนของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง” มีจุดมุ่งหมายเพื่อดำเนินการตามข้อกำหนดใหม่ของรัฐบาลกลาง เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในยุคใหม่ให้ดำเนินงานอย่างทั่วถึง โดยยึดตามเจตนารมณ์ของสุนทรพจน์ที่สำคัญของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในพิธีเปิดงาน China-ASEAN Expo ครั้งที่ 17 และพิธีเปิดการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนจีน – อาเซียน เพื่อความร่วมมือเชิงลึกในเรื่องการรวบรวมและดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากทั่วโลกและการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โดยจะดึงดูดนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของอาเซียนที่มีความสามารถโดดเด่น ให้มาทำวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงกับต่างประเทศ และเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองในระดับภูมิภาค

สาธารณรัฐประชาชนจีน จะยังคงดำเนินการตามแผนปฏิบัติการนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อส่งเสริมมาตรการที่สำคัญ 4 ประการ คือ
(1) การแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(2) ห้องปฏิบัติการร่วม
(3) ความร่วมมือในอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
(4) การถ่ายทอดเทคโนโลยี

โดยจะดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนความสามารถเชิงนวัตกรรม และในอนาคตจะสนับสนุนผู้มีความสามารถเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของจีนและต่างประเทศจำนวน 5,000 คน เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยน การฝึกอบรมและการวิจัย แบบร่วมมือกันในอีก 5 ปีข้างหน้า


รายละเอียดโครงการนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่แห่งอาเซียนของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

หน่วยงานรับผิดชอบ : กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
หน่วยงานบริหารจัดการ : ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีกว่างซี– อาเซียน
หน่วยงานร่วมโครงการ : สถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นในกว่างซีตามกฎหมาย มหาวิทยาลัย และสถานประกอบการ

การสมัคร

สมัครผ่านทางออนไลน์ที่ http://talents.kjt.gxzf.gov.cn/c ได้ตลอดทั้งปี

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. เป็นผู้มีผลงานโดดเด่นด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการส่งเสริมนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในกว่างซีและประเทศในอาเซียน โดยจะต้องมีคุณสมบัติใน 3 ประเภทต่อไปนี้
    1.1 นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ของประเทศอาเซียนที่ทำงานในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยหรือบริษัทในกว่างซี โดยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาที่เกี่ยวข้อง หากยังไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ควรมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทและมีประสบการณ์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 5 ปี
    1.2 นักศึกษาปริญญาเอกในประเทศอาเซียนที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั้งในและนอกประเทศจีน
    1.3 เยาวชนสัญชาติประเทศอาเซียนหรือจากประเทศสมาชิก RCEP ประเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และสถาบันระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาที่เกี่ยวข้อง หากยังไม่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จะต้องมีวุฒิปริญญาโท และมีประสบการณ์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 5 ปี
  2. อายุต่ำกว่า 45 ปี( ณ วันที่สมัคร) ทั้งนี้หากผู้ที่มีความสามารถพิเศษ จะพิจารณาตามความเหมาะสม
  3. สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนได้ดี
  4. อื่น ๆ
    4.1 สามารถทำงานร่วมกัน / สร้างทีมวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องและดำเนินการความร่วมมือด้านนวัตกรรมในกว่างซีในช่วงระยะเวลาการรับทุน
    4.2 มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของจีนและกฎระเบียบและข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อยู่ในประเทศจีน

การรับทุน

  1. ระยะเวลาการรับทุน – 6 เดือนหรือ 12 เดือน
  2. เงินทุนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ค่าครองชีพและเงินช่วยเหลือด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
    2.1 ค่าครองชีพ : ในระหว่างการดำเนินโครงการฯ จะได้รับค่าครองชีพรายเดือนก่อนหักภาษีจำนวน 12,500 หยวน (หมายเหตุ: ตามกฎหมายและข้อบังคับของจีนที่เกี่ยวข้อง จะหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับโครงการตามกฎหมาย)
    2.2 เงินอุดหนุนสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์:
    • นักวิทยาศาสตร์จากอาเซียนที่อยู่ในกว่างซีเป็นเวลา 6 เดือน จะได้รับเงินอุดหนุนวิจัย 25,000 หยวน
    • นักวิทยาศาสตร์จากอาเซียนที่อยู่ในกว่างซีเป็นเวลา 12 เดือน จะได้รับเงินอุดหนุนวิจัย 50,000 หยวน
    โดยจะจัดสรรค่าครองชีพ 6 เดือนหรือ 12 เดือน (เช่น 75,000 หยวน หรือ 150,000 หยวน) และเงินทุนวิจัยทางวิทยาศาสตร์ (เช่น 25,000 หยวนหรือ 50,000 หยวน) ให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตั้งแต่ปี2018 เป็นต้นมา โครงการฯได้แนะนำนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จำนวน 46 คน ไปทำงานยังประเทศจีน เพื่อเข้าร่วมโครงการฯ

ที่มา : วารสาร “วิทย์ไมตรีไทย-จีน” ฉบับเดือนเมษายน 2564 “Gateway to ASEAN กว่างซี : ประตูเชื่อมจีน-อาเซียน”

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]