เส้นทางการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุน กรุงปักกิ่ง

1+1>2 : กลไกตลาด + บทบาทรัฐบาล

1) ถนนอิเล็กทรอนิกส์จงกวนชุน (1980-1988)
2) เขตนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ของปักกิ่ง (1988-1999)
3) อุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุน (2542-2552)
4) เขตสาธิตนวัตกรรมแห่งชาติจงกวนชุน (2009-)

1) ถนนอิเล็กทรอนิกส์จงกวนชุน (1980-1988)

  • การพัฒนาอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์ครั้งใหญ่ของโลกและคอมพิวเตอร์เริ่มเข้าสู่จีน
  • จงกวนชุนเริ่มรวมมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์เข้ากับการพัฒนาเศรษฐกิจ
  • บริษัทเทคโนโลยี 147 แห่งในจงกวนชุนดำเนินธุรกิจการนำเข้าคอมพิวเตอร์และการแผ่ขยายธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ในสิ้นปี 1987 มูลค่าการซื้อขายของบริษัทต่าง ๆ สูงถึง 400 ล้านหยวน
  • สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีนดำเนินนโยบาย “หนึ่งสถาบัน สองระบบ” โดยอนุญาตให้นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์
  • และเทคโนโลยีสามารถจัดตั้งองค์กรได้

2) เขตนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ปักกิ่ง (1988-1999)

  • ศูนย์กลางอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของจีน
  • แหล่งกำเนิดของบริษัทเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในจีน
  • ปี ค.ศ. 1985 จัดตั้งสวนอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่ที่เข้มข้นในด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา
  • ปี ค.ศ. 1988 จัดตั้งอุทยานไฮเทคแห่งแรกในจีน “เขตนำร่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีปักกิ่ง”

3) อุทยานวิทยาศาสตร์จงกวนชุน (1999-2009)

  • มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย การวิจัย (Industry-University-Research, IUR)
  • พันธมิตรอุตสาหกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ลงทุนและพัฒนาอุทยานเฉพาะทาง Software Park, Life Science Park และ Yongfeng Base เป็นต้น

4) เขตสาธิตนวัตกรรมแห่งชาติจงกวนชุน (2009-)

  • สร้างระบบนิเวศน์ของการเกิดผู้ประกอบการที่คล้ายคลึงกับ Silicon Valley
  • จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะประเภทต่าง ๆ
  • แหล่งกำเนิดของอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ในประเทศจีน
  • จุดศูนย์กลางของยูนิคอร์นในประเทศจีน
  • แผนห้าปีฉบับที่ 14 ระบุ ปักกิ่งควรสร้างพื้นที่ศูนย์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระดับนานาชาติ

ที่มา : วารสาร “วิทย์ไมตรีไทย-จีน” ฉบับเดือนเมษายน 2564 “Gateway to ASEAN กว่างซี : ประตูเชื่อมจีน-อาเซียน”

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]