• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • #สถานีอวกาศจีน #โมดูลหลักเทียนเหอ #สถานีอวกาศนานาชาติ วันที่ 17 มิถุนายน เว็บไซต…

#สถานีอวกาศจีน #โมดูลหลักเทียนเหอ #สถานีอวกาศนานาชาติ วันที่ 17 มิถุนายน เว็บไซต…

#สถานีอวกาศจีน #โมดูลหลักเทียนเหอ #สถานีอวกาศนานาชาติ
วันที่ 17 มิถุนายน เว็บไซต์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือนาซา (NASA) แสดงความยินดีที่นักบินอวกาศจีนเข้าสถานีอวกาศของจีนเป็นครั้งแรก ขณะเดียวกัน นายบิลล์ เนลสัน(Bill Nelson)ผู้อำนวยการนาซาคนใหม่ก็กล่าวเตือนว่า “ Watch the Chinese” แปลว่า “จับตามองจีนอย่างใกล้ชิด” เพราะจีนกำลังท้าทายการบินอวกาศของสหรัฐอเมริกา

ปี 2011 สหรัฐอเมริกาออกกฎหมายเดอะวูล์ฟ อะเมนด์เม้นท์ (The Wolf Amendment- Wolf Act) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ห้ามจีนเข้าร่วมโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ แต่ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่ไร้สาระ เพราะจีนพิสูจน์ให้เห็นว่าจีนมีความสามารถดำเนินการเองได้และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้น

อาทิ กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นสูงกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของสหรัฐฯถึง 300 เท่า เครื่องผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น การเชื่อมต่อกันของยานอวกาศที่เร็วยิ่งขึ้น ระบบการบำบัดน้ำที่ทันสมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าไอออนที่ทนทานยิ่งขึ้น เป็นต้น

วันที่ 18 มิถุนายน นักบินอวกาศจีนเริ่มติดตั้งระบบ WiFi ในโมดูลหลักเทียนเหอ (เทียนเหอ “天和 ”ภาษาจีนกลาง “天和 ”แปลว่าท้องฟ้าสันติภาพ) วิศวกรได้ออกแบบแยกช่องเสียงส่วนตัว เพื่อให้นักบินอวกาศคุยเรื่องเบาๆ กับสมาชิกครอบครัวได้อย่างสะดวก ขณะเดียวกัน WiFi นี้จะช่วยให้นักบินอวกาศสามารถสื่อสารกับแคปซูลต่างๆ ได้อย่างอย่างชัดเจน และถ้ามีปัญหาที่ไม่เข้าใจก็สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีในห้องควบคุมภาคพื้นดินได้ตลอด 24 ชั่วโมง

สถานีอวกาศจีนยังเป็นบ้านอัจฉริยะ นักบินอวกาศทั้ง 3นายล้วนมีเทอร์มินัลชนิดพกพา ซึ่งมีการติดตั้ง APP ที่สามารถควบคุมแสงไฟตามรูปแบบการใช้งานทั้งการนอน การทำงานและการออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนแสงไฟที่ต่างกันภายในโมดูล จะช่วยบรรเทาความเบื่อหน่ายจากการอยู่ในอวกาศเป็นเวลานาน

โมดูลหลักเทียนเหอยังมีช่องเชื่อมต่อเผื่อไว้สำหรับการเชื่อมต่อกับแคปซูลจากประเทศอื่นๆ อย่างเช่น แคปซูลแรกที่ร่วมกันผลิตโดยสำนักงานการบินอวกาศจีน – ยุโรป แคปซูลที่ 2 ที่ร่วมกันผลิตโดยบราซิล ปากีสถาน อินเดียและญี่ปุ่น และแคปซูลที่ 3 เป็นของรัสเซีย

จนถึงขณะนี้ จีนได้รับคำร้องขอจาก 17 ประเทศที่ขอเข้าประจำการเพื่อดำเนินการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในสถานีอวกาศจีน หลังจากสถานีอากาศจีนสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2022 แต่รายชื่อนี้ประเทศที่ขอเข้าร่วมสถานีอวกาศจีนนั้นไม่มีสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐอเมริกามีกฎหมายห้ามดำเนินความร่วมมือด้านการบินอวกาศกับจีน

วันที่ 18 มิถุนายน นายโทมัส เปสเควต์ (Thomas Pesquet) นักบินอวกาศชาวฝรั่งเศสที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในสถานีอวกาศนานาชาติ ได้ทวีตข้อความแสดงความยินดีต้อนรับนักบินอวกาศจีน

เขากล่าวว่า “พร้อมกับการที่จีนส่งนักบินอวกาศ 3 คนมายังสถานีอวกาศของจีนเอง ทำให้จำนวนประชากรบนอวกาศในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้น 43% การบินอวกาศทั้งหมดล้วนเป็นผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ผมสามารถจินตนาการได้ถึงสภาพที่พวกเขา 3 คนชมวิวกรุงปักกิ่งและนครเทียนจินบนวงโคจรโลก”

ปัจจุบัน บนสถานีอวกาศนานาชาติมีนักบินอวกาศทั้งหมด 7 คน นอกจากนายโทมาส เปสเควต์ ยังมีชาวสหรัฐฯ 3 คน รัสเซีย 2 คน และญี่ปุ่น 1 คน









ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
ลึกชัดกับผิงผิง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]