นโยบายลูกสามคนของจีน (Three-child policy)

ปี 1979 จีนเริ่มนโยบายลูกคนเดียว เพื่อแก้ปัญหาเรื่องจำนวนประชากรที่มีเกิน 800 ล้านคน ในปี 1970 ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของชาวจีน นโยบายดังกล่าวบังคับให้หนึ่งครอบครัวมีลูกได้หนึ่งคน และคนในชนบทมีลูกได้สองคนในบางกรณี ยกเว้นชนกลุ่มน้อย ทิเบต ซินเจียง และจ้วง

นโยบายลูกคนเดียว ที่ดำเนินการระหว่างปี 1979-2013 นับว่าประสบความสำเร็จ สามารถลดอัตราการเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ชาวจีนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง บรรเทาปัญหาการขาดแคลนอาหารที่เรื้อรัง ลดจำนวนคนยากจน ที่พักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก ส่งผลให้จีนก้าวสู่ “สังคมพอมีพอกิน”

ผลจากการดำเนินนโยบายลูกคนเดียวกว่า 35 ปี ส่งผลให้จีนมีจำนวนประชากรจีนเพิ่มขึ้นค่อนข้างน้อยจาก 1,270 ล้านคนในปี 2000 เป็น 1,340 ล้านคนในปี 2011 นำไปสู่การลดลงของจำนวนวัยรุ่นและทำงาน

ปี 2016 จีนได้ยกเลิกนโยบายลูกคนเดียว และดำเนินนโยบายลูก 2 คน ส่งผลให้มีลูกคนที่สองเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ล้านคนทั่วประเทศ แต่ไม่ได้ช่วยให้อัตราการเกิดเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลสำมะโนประชากรปี 2563 ซึ่ง สนง. สถิติแห่งชาติเผยใน เดือน เม.ย. 2564 พบว่าจีนมีประชากรเกิดใหม่เพียง 12 ล้านคน และมีอัตราเจริญพันธุ์ (fertility rate) อยู่ที่ 1.3 ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับของประเทศที่เป็นสังคมสูงวัยอย่างประเทศญี่ปุ่น

นโยบายลูกสามคน (Three-child policy) ถือเป็นการตอบสนองการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและการวางแผนครอบครัวที่เริ่มมีการประกาศในประเทศจีนเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2021 คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน จัดประชุมชี้แจงถึงการปรับนโยบายการให้กำเนิดบุตรอย่างเหมาะสม โดยครอบครัวหนึ่งสามารถมีลูกสามคน พร้อมด้วยมาตราการสนับสนุนต่าง ๆ


ประกาศนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหา

สังคมผู้สูงอายุ และความได้เปรียบด้านทรัพยากรบุคคลของประเทศจีน

นโยบายลูก 2 คน สู่ ลูก 3 คน

แสตมป์ปีนักษัตรกุน

ไปรษณีย์จีน ออกแสตมป์ปีหมู “การรวมตัวของโชคลาภทั้งห้า” ของเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2019 เป็นภาพหมูตัวใหญ่สองตัวและหมูตัวเล็กสามตัว ซึ่งเป็นครั้งแรกที่แนวคิดของ “ภาพแห่งครอบครัว” ได้รับการรวบรวมอย่างสมบูรณ์ในตราประทับของจักรราศี

หมูตัวใหญ่สองตัวและหมูน้อยสามตัวปรากฏตัวพร้อมกันและพวกเขาก็มีความสุขและฝากคำอวยพรอันเป็นสุขของการรวมตัวของครอบครัวและพร 5 ประการในเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ

สื่อต่างประเทศคาดการณ์ว่า แสตมป์รูปหมู 5 ตัว เป็นการ “บอกอย่างอ้อม ๆ” ก่อนการประกาศนโยบายลูกสามคน

มาตรการสนับสนุน

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2021 ทางคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดประชุมเพื่อทบทวน “การการปรับนโยบายการให้กำเนิดบุตรอย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประชากรในระยะยาวและสมดุล” สรุปได้ดังนี้

  • ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศได้ปรับปรุงนโยบายการให้กำเนิดบุตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาประชากร และตอบสนองต่ออัตราการเกิดที่ลดลงและประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • การพัฒนาประชากรเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชาติจีน และการปรับปรุงนโยบายการกำเนิดของบุตรส่งผลกระทบต่อครัวเรือนหลายล้านครัวเรือน
  • ข้อมูลสำมะโนแห่งชาติครั้งที่ 7 ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2021
    • สัดส่วนของเด็กอายุ 0-14 ปีเพิ่มขึ้นจาก 16.6% ในปี 2010 เป็น 17.95% ในปี 2020 เนื่องด้วยการปรับนโยบาย มีเด็กมากกว่า 10 ล้านคนที่เกิดทั่วประเทศ
    • สัดส่วนของลูกคนที่สองในประชากรที่เกิดเพิ่มขึ้นจากประมาณ 30% ในปี 2013 เป็นประมาณ 50% ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
    • การเลื่อนอายุของการสมรสและคลอดบุตร ส่งผลให้สตรีมีบุตรน้อยลงในช่วงปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2016 อายุเฉลี่ยของการแต่งงานครั้งแรกและการคลอดบุตรครั้งแรก ถูกเลื่อนจาก 23.6 ปี 24.3 ปี เป็น 26.3 ปีและ 26.9 ปีตามลำดับ
    • สัดส่วนของสตรีอายุ 20-34 ปี แต่งงานลดลงจาก 75.0% เป็น 67.3%
    • จำนวนการแต่งงานที่จดทะเบียนทั่วประเทศลดลงติดต่อกันเจ็ดปี จาก 13.47 ล้านคู่ ในปี 2013 เป็น 8.13 ล้านในปี 2563 ลดลง 40%
      • นโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษา ที่อยู่อาศัย การจ้างงาน ฯลฯ ได้กลายเป็นกุญแจสำคัญในการตัดสินใจเรื่องการให้กำเนิดบุตรของครอบครัว
      • สาเหตุสำคัญของการไม่มีลูก คือ
        1. เพิ่มภาระทางการเงิน โดยเฉพาะมีแรงกดดันสูงด้านการศึกษาและด้านที่อยู่อาศัย
        2. ขาดคนช่วยดูแลบุตร
        3. ยากที่จะหาจุดสมดุลระหว่างครอบครัวและการทำงาน
        4. การระบาดของโรค COVID-19 เพิ่มความไม่แน่นอนของการจ้างงานและรายได้ ซึ่งทำให้ชาวจีนบางส่วนยกเลิกหรือเลื่อนแผนการมีบุตรออกไป
  • การดำเนินการตามนโยบายลูก 3 คน มีมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ที่จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างประชากรของจีนควบคู่ไปด้วย เช่น (1) การลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสำหรับครอบครัว และ (2) เพิ่มการสนับสนุนด้านภาษีและที่อยู่อาศัย เพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างอายุของประชากรในระยะยาว ขยายการจัดหาแรงงานใหม่ ลดอัตราส่วนการพึ่งพาของประชากรผู้สูงอายุ บรรเทาความขัดแย้งระหว่างรุ่น เพิ่มความมีชีวิตชีวาโดยรวมของสังคม และลดอัตราของสังคมผู้สูงอายุ

ที่มา วารสาร “วิทย์ไมตรีไทย-จีน” ฉบับเดือนพฤษภาคม 2564 “การสำรวจสำมะโนประชากรระดับชาติครั้งที่ 7 (2011-2020)” และ “แผนพัฒนาประชากรแห่งชาติจีน (2016-2030)”

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]