ความร่วมมือด้านอวกาศจีน – ไทย | Thailand STI and Higher Education Day 2021

ความร่วมมือด้านอวกาศจีน – ไทย
ดร.มานพ อ้อพิมาย
ผู้อำนวยการฝ่ายการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการจัดการโครงการ องค์การความร่วมมือทางด้านอวกาศระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิค Asia Pacific Space Cooperation Organization (APSCO)


องค์การความร่วมมือทางด้านอวกาศระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิค (APSCO)

จีนและไทย มีความร่วมมือด้านอวกาศภายใต้องค์การความร่วมมือทางด้านอวกาศระหว่างประเทศในเอเชียแปซิฟิค หรือ Asia Pacific Space Cooperation Organization (APSCO) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2008 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ และการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านอวกาศภายใต้ APSCO ยังเป็นการใช้ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรทางปัญญา รวมถึงโอกาสในการเข้าร่วมโครงการด้านอวกาศที่สำคัญของจีน

APSCO มีสมาชิก 11 ประเทศ

ประกอบด้วย จีน ไทย อิหร่าน เปรู บังคลาเทศ ปากีสถาน มองโกเลีย และตุรกี เป็นประเทศสมาชิก โดยมีอียิปต์เป็นประเทศสมาชิกสมทบ อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ลงนามที่ยังไม่ได้ยื่นสัตยาบัน และเม็กซิโกเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์

หน่วยงานของไทยที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามการดำเนินงานของ APSCO คือ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

กิจกรรมของ APSCO ที่ประเทศไทยเข้าร่วม ประกอบด้วย

การพัฒนาบุคลากรทางด้านอวกาศของประเทศสมาชิก

การศึกษาทางด้านอวกาศหลักสูตรปริญญาโท ปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านอวกาศ ได้แก่ Beihang University Harbin Institute of Technology และ Northwestern Polytechnical University

ประเทศไทยส่งบุคลากรมาศึกษาด้านอวกาศ ณ ประเทศจีน ภายใต้โครงการของ APSCO ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท 26 คน ปริญญาเอก 14 คน

การบ่มเพาะบุคลากรด้านอวกาศรุ่นใหม่ เช่น โครงการพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กโดยนักศึกษา (Student Small Satellite (SSS)) ร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัย ในประเทศสมาชิก รวม 19 แห่ง โดยประเทศจีนจะนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กทั้ง 3 ดวงในโครงการนี้ขึ้นไปวงโคจรให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ประเทศไทยโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เข้าร่วมในโครงการนี้ในส่วนของการพัฒนาดาวเทียม SSS-2B

การเข้าร่วมและเป็นผู้นำโครงการที่ได้รับทุนสนันสนุนจาก APSCO

นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือระดับทวิภาคีระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยภาคีความร่วมมือเทคโนโลยีอวกาศไทย” (Thai Space Consortium : TSC) กับ Chinese Academy of Sciences ในโครงการ Sino-Thai TSC-Pathfinder Satellite เพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและจัดสร้างดาวเทียมในวงโคจรต่ำ (Low-Earth Orbit)

ที่มา วารสาร “วิทย์ไมตรีไทย-จีน” ฉบับเดือนมิถุนายน 2564
Thailand STI and Higher Education Day 2021
วันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการอุดมศึกษาไทย ณ กรุงปักกิ่ง พ.ศ. 2564

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]