เศรษฐกิจ 3 ไตรมาสแรกของนครฉงชิ่งฟื้นตัวดี

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 สำนักงานสถิตินครฉงชิ่ง เปิดเผยข้อมูลด้านเศรษฐกิจของนครฉงชิ่งในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564 ดั้งนี้

  1. GDP ของนครฉงชิ่งมีมูลค่าสูงถึง 1,995,189 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564
  1. ปี 2564 นครฉงชิ่งได้นำรูปแบบการพัฒนารูปแบบใหม่มาใช้ โดยมุ่งมั่นที่จะป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของนครฉงชิ่งที่ยังคงมีแนวโน้มการพัฒนาและฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ
  1. ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564 มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมปฐมภูมิอยู่ที่ 133,242 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมทุติยภูมิอยู่ที่ 788,834 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7  มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมตติยภูมิอยู่ที่ 1,073.113 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563

ศุลกากรนครฉงชิ่ง เปิดเผยว่า ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564 มูลค่าการค้ากับต่างประเทศของนครฉงชิ่งอยู่ที่ 577,030 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 365,620 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.7 มูลค่าการนำเข้า 211,410 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563

ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของนครฉงชิ่งในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564

ลำดับ ประเภท รายการ จำนวนรวม เพิ่มขึ้น/ลดลง ร้อยละ

(เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563)

1 เกษตรกรรม จำนวนการเก็บเกี่ยวพืชในฤดูร้อน 1.211 ล้านตัน +1.2
จำนวนสุกร 12.534 ล้านตัว +35
2 การบริการ รายได้จากการดำเนินงานของบริษัทธุรกิจบริการขนาดใหญ่ฯ (มกราคมถึงสิงหาคม) 323,364 ล้านหยวน +25
3 การบริโภค ยอดขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภครวม 1,030,206 ล้านหยวน +23.7
4 รายได้ของประชาชน รายได้สุทธิส่วนบุคคล 26,133 หยวน +11
อัตราส่วนความแตกต่างของรายได้ประชาชนชาวเมือง-ชนบทลดลง
5 อสังหาริมทรัพย์ ภาพรวมมีเสถียรภาพ ยอดขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ยังทรงตัว
6 ด้านการลงทุน มูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร +8.4
มูลค่าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน +11.8
มูลค่าการลงทุนภาคอุตสาหกรรม +12.3
7 อุตสาหกรรม มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 20 ล้านหยวน +14.2
8 ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI เท่ากับช่วงเดียวกันของปี 2563 +0
ราคาเสื้อผ้า +1.9
ราคาที่อยู่อาศัย +0.1
สิ่งจำเป็นและบริการในชีวิตประจำวัน +0.6
ค่าใช้จ่ายด้านการคมนาคมและการสื่อสาร +4.2
ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา วัฒนธรรม และความบันเทิง +1.5
ราคาอาหาร -2.6
ค่ารักษาพยาบาล -0.2
สินค้าและบริการอื่น ๆ -3.3

 

ตัวเลขสถิติข้างต้นสะท้อนความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านการค้าและการลงทุน การบริการและอุตสาหกรรมของนครฉงชิ่ง ที่ยังคงรักษาการเติบโตแม้โลกกำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงอาจจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจลงทุนหรือทำธุรกิจในภูมิภาคตะวันตกของจีน โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงเศรษฐกิจของนครฉงชิ่งที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นฐานการผลิตรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีน

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:  เว็บไซต์ cqnews

(เข้าถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564)

http://cq.cqnews.net/html/2021-10/21/content_51767630.html

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]