• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • การเติบโตทางเศรษฐกิจของมณฑลซานตงในปี 2564 – ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในจีน (Thailand Business Information Center in China)

การเติบโตทางเศรษฐกิจของมณฑลซานตงในปี 2564 – ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในจีน (Thailand Business Information Center in China)

ในโอกาสต้อนรับตรุษจีน ปี 2565 ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปีจันทรคติของจีน ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองชิงต่าว ขอนำเสนอภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจของมณฑลซานตงในปีที่ผ่านมา และพัฒนาการรายสาขาที่น่าสนใจ โดยหยิบยกมาจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานด้านเศรษฐกิจของมณฑลซานตง ประจำปี 2564 ของสำนักงานสถิติมณฑลซานตง (Shandong Provincial Bureau of Statistics) ดังนี้

      ภาพรวมเศรษฐกิจ

ตลอดปี 2564 เศรษฐกิจภายในมณฑลซานตงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ ส่งผลให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในภาพรวมของมณฑลซานตงฉายแววอนาคตที่สดใส ดังจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของมณฑลซานตงในปี 2564 ที่มีมูลค่ารวม 8,309,590 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยมีอัตราการเติบโตแบ่งตามขั้นอุตสาหกรรม 3 ประเภท ดังนี้

ประเภทอุตสาหกรรม

มูลค่าเพิ่ม
(ล้านหยวน)
สัดส่วนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563
(คิดเป็นร้อยละ)

1. อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ

602,903

7.5

2. อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ

3,318,716

7.2

3. อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ

4,387,971

9.2

  1. ภาคเกษตรกรรม

ผลผลิตในภาคเกษตรกรรมโดยรวมของมณฑลซานตงเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง โดยเฉพาะผลผลิตประเภทผักที่มีปริมาณการผลิตสูงที่สุดในประเทศจีน สรุปได้ ดังนี้

ประเภทผลผลิต

มูลค่า (ตัน) เพิ่มขึ้น (ตัน)
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563
สัดส่วนการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563
(คิดเป็นร้อยละ)

1. ธัญญาหาร

55,007,000 539,000

1

2. ผัก

88,011,000 3,664,000

3. เนื้อสัตว์

8,151,000 933,000

12.9

  1. ภาคอุตสาหกรรม

จากความพยายามของมณฑลซานตงในการส่งเสริมอุตสาหกรรมดั้งเดิมด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ตลอดจนการปรับเปลี่ยนและการยกระดับทางด้านอุตสาหกรรมได้รับผลตอบรับที่ดีในปี 2564 ทำให้ในปี 2564 กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการผลิตมากกว่า 20 ล้านหยวนต่อปี (Industrial Enterprises above Designated Size) ของมณฑลซานตง ขยายตัวร้อยละ 9.6 แบ่งเป็น 4 ภาค อุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีอัตราส่วนการขยายตัวลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 0.1 (2) อุตสาหกรรมการผลิต ขยายตัวร้อยละ 10.1 (3) อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า ความร้อน ก๊าซ และน้ำ ขยายตัวร้อยละ 11.7 และ (4) อุตสาหกรรมการผลิตที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง ขยายตัวร้อยละ 18.5

แยกตามประเภททางเศรษฐกิจ ได้แก่ (1) บริษัทที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้น ขยายตัวร้อยละ 5.7 (2) บริษัทร่วมทุน ขยายตัวร้อยละ 10.6 (3) บริษัทที่ถือหุ้นหรือลงทุนโดยชาวต่างชาติ รวมถึงฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน ขยายตัวร้อยละ 5.2 และ (4) บริษัทเอกชน ขยายตัวร้อยละ 11.7

โดยในช่วงมกราคม – พฤศจิกายน 2564 มีผลกำไรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการผลิตมากกว่า 20 ล้านหยวนต่อปี (Industrial Enterprises above Designated Size) ของมณฑลซานตงทั้งหมดรวม 514,660 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563

ประเภท

สัดส่วนการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563
(คิดเป็นร้อยละ)

1. สินค้าทางด้านอุตสาหกรรม

– หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

– เซนเซอร์ (Sensor)

– อุปกรณ์ Opto-electronics และอื่น ๆ

 

38.7

22.7

73.1

2. เศรษฐกิจ

 – บริษัทที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้น

– บริษัทร่วมทุน

– บริษัทที่ถือหุ้นหรือลงทุนโดยชาวต่างชาติ รวมถึงฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน

– บริษัทเอกชน

 

5.7

10.6

5.2

11.7

  1. ภาคบริการ

ภาคบริการที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงหรือระดับ high-end ของมณฑลซานตงกำลังเฟื่องฟู โดยตลอดปี 2564 ภาคบริการของมณฑลซานตง มีส่วนกระตุ้นการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจได้ร้อยละ 59.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563

ในช่วงมกราคม – พฤศจิกายน 2564 ภาคบริการขนาดใหญ่ (Service Enterprises above Designated Size) ของมณฑลซานตง ทำเงินรายได้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้รวม 1,032,380 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 26.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยมี 30 ประเภท จาก 32 ประเภทหลักของภาคบริการ ที่มีอัตราการเติบโตของเงินรายได้ร้อยละ 93.8 และสำหรับภาคบริการที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งกำลังขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ทำเงินรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 อาทิ ภาคบริการในธุรกิจ E-Commerce ภาคบริการที่ต่อยอดจากผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคบริการเกี่ยวกับวิจัยและการออกแบบ ภาคบริการที่ใช้เทคนิคและความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เป็นต้น

  1. รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค

รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคมีมูลค่ารวม 3,371,450 ล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แบ่งเป็น 1) อาหารและเครื่องดื่ม 382,820 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 และ 2) สินค้าปลีก 2,988,630 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ประเภทการใช้จ่าย

มูลค่ารวม
(ล้านหยวน)

สัดส่วนการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (คิดเป็นร้อยละ)

1. อาหารและเครื่องดื่ม

382,820

22.4

2. สินค้าปลีก

– อุปกรณ์กีฬาและความบันเทิง

– อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร

– รถยนต์พลังงานใหม่

2,988,630

14.4

61.5

54.3

92

3. สินค้าออนไลน์

540,910

17.8

  1. การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

มณฑลซานตงมุ่งเน้นส่งเสริมการลงทุนที่ตรงตามเป้าหมายและมีศักยภาพ โดยในภาพรวม การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แบ่งเป็น (1) การลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ ลดลงร้อยละ 14.9 (2) การลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และ (3) การลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5

ทั้งนี้ เมื่อแยกตามประเภทของสาขาการลงทุน แบ่งเป็น (1) การลงทุนในภาคการผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 (2) การลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 มีอัตราการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการซื้อขายบ้านในหน่วยตารางเมตร ร้อยละ 7.5 และมูลค่าการซื้อขายโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 (3) การลงทุนภาคเอกชน (Private Investment) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.2 ของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรทั้งหมด และ (4) การลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทค เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในสาขาใหม่ ๆ ที่มีอัตราการขยายตัวน่าสนใจ อาทิ การลงทุนในธุรกิจด้านสาธารณสุข ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 การลงทุนในธุรกิจการศึกษา ขยายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ฯลฯ

  1. การค้าระหว่างประเทศ

มูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวม 2.93 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แบ่งเป็น (1) มูลค่าส่งออก 1.76 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.8 (2) มูลค่านำเข้า 1.17 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29

– มูลค่าการนำเข้าและส่งออกกับกลุ่มประเทศ Belt and Road Initiative (BRI) รวม 937,600 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 คิดเป็นร้อยละ 32 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของมณฑลซานตง

– มูลค่าการนำเข้าและส่งออกกับกลุ่มประเทศความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) รวม 1.03 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9 โดยมูลค่าการนำเข้าและส่งออกระหว่างมณฑลซานตงกับประเทศไทยรวม 68,170 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.5 แบ่งเป็น 1) มูลค่าส่งออก 37,220 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 มูลค่านำเข้า 30,950 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27

  1. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดภาวะเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 ซึ่งชะลอตัวลงร้อยละ 1.6 ลดลงอย่างมากจากปี 2563 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8

ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนสินค้าที่หน้าประตูโรงงาน ปรับตัวขึ้นร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563

สำหรับราคาสินค้าหมวดอาหารของมณฑลซานตง มีความผันผวนเล็กน้อยในห้วงปลายปี โดยในเดือนพฤศจิกายน 2564 ราคาสินค้าหมวดอาหารถีบตัวสูงขึ้นมากที่สุด ส่งผลให้ CPI ขยายตัวขึ้นร้อยละ 2.6 และลดลงในเดือนธันวาคมร้อยละ 1.5 ทั้งนี้ ภาวะความผันผวนของราคาดังกล่าวมีสาเหตุสำคัญมาจากผลกระทบของสภาพอากาศ ที่ส่งผลให้ราคาผักผลไม้ตามฤดูกาลสูงขึ้น และราคาเนื้อหมูที่ลดลง ส่งผลให้ CPI ของสินค้าหมวดอาหารปรับตัวลดลงสุทธิร้อยละ 0.2

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า CPI โดยรวมของมณฑลซานตงในปี 2565 จะมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยประเมินจากอุปทานของสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญในมณฑลซานตง ณ ขณะปัจจุบันซึ่งมีความเพียงพอ กอปรกับราคาเนื้อหมูซึ่งลงลงตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ และราคาด้านบริการซึ่งค่อนข้างคงที่ ทั้งนี้ แม้ว่าราคาสินค้าสินค้าและบริการหลักฯ จากต้นน้ำจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อส่งไปยังปลายน้ำ แต่ก็อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้

  1. รายได้ประชากรและอัตราการจ้างงาน

รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรมณฑลซานตงในปี 2564 อยู่ที่ 35,705 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในเขตชนบทเติบโตมากกว่าเขตเมืองร้อยละ 2.26 โดยประชากรในเขตชนบทมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 20,794 หยวน เติบโตร้อยละ 10.9 และประชากรในเขตเมืองมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 40,066 หยวน เติบโตร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563

รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยต่อหัวของประชากรในมณฑลซานตงอยู่ที่ 22,821 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 แบ่งเป็น (1) ประชากรในเขตเมือง 29,314 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 (2) ประชากรในเขตชนบท 14,299 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 โดยรายจ่ายของสินค้าและบริการหลัก ๆ จำนวน 8 ประเภทมีการเพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ที่

รายการ รายจ่ายเฉลี่ยต่อหัว
(หยวน)

สัดส่วนการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 (คิดเป็นร้อยละ)

1

อาหาร ยาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

6,196

7.6

2

เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม

1,530

6.4

3

ที่พักอาศัย

4,683

5.5

4

สินค้าและบริการในชีวิตประจำวัน

1,716

9.3

5

การขนส่งสาธารณะ และโทรคมนาคม

3,496

16.4

6

การศึกษา ศิลปะ และความบันเทิง

2,729

15

7

การแพทย์ และสาธารณสุข

2,016

5.3

8

อื่น ๆ

456

2.4

ในปี 2564 มณฑลซานตงได้เพิ่มความพยายามในการรักษาเสถียรภาพของอัตราการจ้างงานและเพิ่มอัตรารายได้เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยจำนวนผู้มีงานทำในเขตเมืองทั้งหมดของมณฑลซานตง คือ 1,242,000 คน ซึ่งมากกว่าตัวเลขที่รัฐบาลมณฑลซานตงคาดการณ์ไว้ที่ 1,100,000 คน นอกจากนี้ มีอัตราการว่างงานในเขตเมืองที่ได้มีการขึ้นทะเบียนเพียงร้อยละ 2.94 ลดลงร้อยละ 0.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563

โดยสรุป อัตราการเติบโตของ GDP ภายในมณฑลซานตงที่ได้กล่าวไปข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงความสมดุลทางเศรษฐกิจและบรรยากาศทางธุรกิจภายในมณฑลที่ยังคงเป็นไปอย่างคึกคักและมีเสถียรภาพ แม้ว่าธุรกิจและอุตสาหกรรมหลายประเภทภายในมณฑลจะต้องประสบกับผลกระทบทางอ้อมจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม

ทั้งนี้ ในปี 2565 รัฐบาลมณฑลซานตงได้ตั้งเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของ GDP ให้เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 5.5 โดยต้องการให้การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและยอดขายปลีกรวมของสินค้าอุปโภคบริโภคภายในมณฑลขยายตัวขึ้นประมาณร้อยละ 6 นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา Four New Economy” (เทคโนโลยีใหม่ รูปแบบธุรกิจใหม่ โหมดการพัฒนาใหม่ และอุตสาหกรรมใหม่) เพื่อรักษาและขยายระดับการพัฒนาคุณภาพสูงในภูมิภาค โดยคาดว่าสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของ GDP ที่ได้จาก “Four New Economy” ดังกล่าว จะเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 2 ในปี 2565

 

 

 

 

 

แหล่งอ้างอิง:
1. เว็บไซต์ทางการของสำนักงานสถิติมณฑลซานตง (Shandong Provincial Bureau of Statistics) http://tjj.shandong.gov.cn/
2. https://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2022/0119/5046383.shtml (วันที่ 19 มกราคม 2565)
3. https://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2022/0119/5046516.shtml (วันที่ 19 มกราคม 2565)
4. http://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2022/0119/5046248.shtml (วันที่ 19 มกราคม 2565)
5. http://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2022/0119/5046081.shtml (วันที่ 19 มกราคม 2565)
6. http://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2022/0119/5046073.shtml (วันที่ 19 มกราคม 2565)
7. https://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2022/0119/5046382.shtml (วันที่ 19 มกราคม 2565)
8. https://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2022/0119/5046401.shtml (วันที่ 19 มกราคม 2565)
9. http://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2022/0119/5046067.shtml (วันที่ 19 มกราคม 2565)
10. https://shandong.chinadaily.com.cn/2022-01/20/c_700348.htm (วันที่ 20 มกราคม 2565)
11. https://baijiahao.baidu.com/s?id=1722440331342961017&wfr=spider&for=pc (วันที่ 20 มกราคม 2565)
12. https://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2022/0120/5046728.shtml (วันที่ 20 มกราคม 2565)
13. https://news.iqilu.com/shandong/yaowen/2022/0121/5047689.shtml (วันที่ 21 มกราคม 2565)
14. https://shandong.chinadaily.com.cn/2022-01/25/c_702692.htm (วันที่ 25 มกราคม 2565)
15. https://sd.dzwww.com/sdnews/202201/t20220125_9740143.htm (วันที่ 25 มกราคม 2565)
16. https://sd.dzwww.com/sdnews/202201/t20220126_9749111.htm (วันที่ 26 มกราคม 2565)

ที่มา : https://thaibizchina.com/

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]