ศศิชา ดัมพ์ธนสาร – นักศึกษาวิชาภาษาจีนหลักสูตรระยะยาวมหาวิทยาลัยหัวเฉียว (Huaqiao University)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
โครงการประกวดเขียนเรียงความภายใต้หัวข้อ “我与中国的故事” จัดโดยมหาวิทยาลัยหัวเฉียว สาธารณรัฐประชาชนจีน


เรื่องราวความเป็นจีนในตัวฉัน

ฉันซึ่งเป็นลูกหลานคนไทยเชื้อสายจีนคนหนึ่ง มักมีโอกาสได้รวมตัวพร้อมหน้าพร้อมตากันกับญาติ ๆ ในวันเทศกาลสำคัญ ๆ ของจีนอยู่เสมอ มีการพูดคุยกันไปทำอาหารทานกันไป มันเป็นช่วงเวลาที่เหล่าเด็ก ๆ อย่างเรามักจะได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ จากผู้ใหญ่ ทั้งเรื่องราวประวัติความเป็นมาของครอบครัวว่าเกิดที่ใด อาศัยอยู่กันอย่างไร ทำไมจึงต้องย้ายถิ่นฐานมายังเมืองไทย และมีความลำบากเพียงใดในการเดินทาง ซึ่งในทุกครั้งที่เล่าบนใบหน้าของท่านอาวุโสเหล่านี้ก็จะปรากฏถึงความภาคภูมิใจและความเบิกบานใจอยู่เสมอ ตัวฉันเองก็รับรู้ได้ถึงความรู้สึกของพวกท่าน ความมีใจรักในประเทศชาติ พวกท่านยังปลูกฝังให้เด็ก ๆ ไม่ลืมรากเหง้าของตน ต้องรู้จักเคารพผู้อื่น รักและสามัคคีกันในครอบครัว รวมถึงการเล่าวัฒนธรรมประเพณีจีนอันหลากหลายที่น่าสนใจให้ฟัง ฉันตระหนักรู้ผ่านการมองเห็นและรับฟังจนเข้าใจถึงอารยธรรมจีน เช่นพิธีแต่งงาน การทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่เพื่อต้อนรับปีใหม่ การทำความสะอาดสุสานในวันเช็งเม้ง ประวัติความเป็นมาของเทศกาลวันไหว้พระจันทร์ การใช้ตะเกียบในรับประทานอาหาร การดูงิ้ว เป็นต้น คนรอบกายฉันมักถามฉันว่า เคยไปประเทศจีนรึยัง หรือไม่ก็บอกฉันว่า ประเทศจีนเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ หลาย ๆ เมืองเจริญมากแล้ว แต่ละเมืองล้วนสวยงาม การคมนาคมสะดวกสบาย ถ้ามีโอกาสก็ควรไปสักครั้งหนึ่ง ฉันได้ฟังเรื่องทำนองนี้บ่อย ๆ แต่ด้วยความที่ฉันยังเด็กจึงยังไม่ได้ใส่ใจนัก

จนกระทั่งฉันได้เข้ารับการศึกษาที่มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ การเรียนการสอนที่นี่ทำให้ฉันรู้สึกได้ว่า สิ่งที่ฉันได้รับฟังในวัยเด็กมานั้นมันคือเรื่องจริง เพราะฉันได้เห็นหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของจีนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอาคารสูง การออกแบบภายใน การออกแบบสวนสาธารณะ ล้วนแต่เป็นการออกแบบที่สวยงามอลังการมาก และยังได้รับรางวัลการออกแบบมากมาย แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวและแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตชาวจีนได้อย่างชัดเจน เช่น “ศูนย์ศิลปะอานาญา” กำแพงสีขาวที่สร้างริมทะเลสะท้อนทะเล กิจกรรมศิลปะที่หลากหลายของที่นี่ดึงดูดความสนใจคนหนุ่มสาวด้วยบุคลิกเฉพาะตัว พวกเขาพบกันเพราะศิลปะ รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่เรียบง่ายของอานาญาซ่อนจิตวิญญาณที่น่าสนใจเอาไว้และ “ห้องสมุดเทียนจิน ปินไห่” ซึ่งเป็นหนึ่งในอาคารสาธารณะในโครงการศูนย์วัฒนธรรมเทียนจินปินไห่ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับชีวิตของประชาชนมากที่สุด ซึ่งในอาคารมีที่นั่งสำหรับผู้อ่าน 1200 ที่นั่งบนชั้นอาคาร เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนและให้ความบันเทิงกับคนในท้องถิ่นในช่วงสุดสัปดาห์ นอกจากนี้ ฉันยังหวังว่าจะใช้เวลาช่วงสุดสัปดาห์ที่นั่นและอื่น ๆ ตอนนั้นฉันยังไม่ได้เรียนภาษาจีนและไม่เข้าใจตัวอักษรจีน ฉันได้แต่ดูมันผ่านรูปภาพและสัญลักษณ์เท่านั้น ฉันคิดว่าถ้าวันหนึ่งฉันได้เรียนภาษาจีนจนสามารถใช้ตัวอักษรจีนเข้าใจสิ่งที่เห็นและได้สัมผัสกับประเทศจีนด้วยตัวเอง นั่นคือความปรารถนาของฉัน

แม้ว่าตอนนี้ฉันจะยังไม่มีโอกาสได้ไปศึกษาภาษาจีนในประเทศจีน แต่ฉันก็มีความสุขเสมอที่ได้เรียนออนไลน์ การบรรยายในห้องเรียนของอาจารย์และสื่อการสอนต่าง ๆ รวมทั้งชั้นเรียนภาคปฏิบัติ ชั้นเรียนวัฒนธรรม ฯลฯ ราวกับว่าฉันได้ย้อนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ฉันกลับไปฟังเรื่องราวในอดีต ฉันได้เรียนรู้ในสิ่งที่ฉันไม่เคยรู้ และเรื่องที่เคยรับรู้ก็ได้รับรู้ในรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างลึกซึ้ง จนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าผู้อาวุโสไม่ได้อยู่กับฉันแล้ว แต่ฉันยังคงจำเรื่องราวเหล่านั้นได้ดี ตอนนี้ฉันเข้าใจแล้วว่าทำไมบนใบหน้าของผู้เฒ่าผู้แก่ถึงเต็มไปด้วยความภาคภูมิใจและความสุขทุกครั้งเมื่อพูดถึงประเทศจีน

ศศิชา ดัมพ์ธนสาร


我与中国的故

  作为一个泰国华裔,在重要的节日,一定会与亲戚们聚在一起边烧饭边聊天。这样的时候,孩子们总会听长辈们讲很多关于中国的故事与家族的历史,还有很多关于他们出生在哪里,日常生活怎么样,为什么移民泰国以及移居泰国有多难等方面的情况。每次他们讲这些故事时,长辈们脸上都露出了自豪和开心的表情。我可以感受到他们的情感,他们感恩中国的水土,他们爱中国。并且经常向所有孩子灌输不要忘记自己的起源,尊重别人,在家庭里要和睦相处的思想,也会告诉孩子们很多丰富有趣的习俗。我耳濡目染,了解中国文化。比如中式婚礼、过年大扫除、清明节去扫墓、中秋节的历史、吃饭时必须用筷子、看京剧等等。 我周围的人总是问我 “你去过中国了吗?”, 或者对我说 “中国是伟大的国家,中国的很多城市越来越发达了,每个城市都非常漂亮,交通便利,如果你有机会,你应该去一次 ”。 我经常听到这些话,但是那时我太小没有注意他们说的话。

    直到我进入大学建筑学院时,我的整个学习过程,让我觉得从小听过的话是真实的。因为我看过的很多中国的建筑设计书,无论是高层建筑的设计、房子的内部设计、各种各样的公园,每一个设计作品都相当宏伟,它们获得了许多奖项。每个建筑都有自己的独特性,并精确地展示了中国人生活的方方面面,比如说《阿那亚艺术中心》,临海而建,白色墙体与海面呼应,在这里丰富的艺术活动吸引了具有独特个性的年轻人,他们因为艺术相聚,使得阿那亚简单的建筑外表下藏着有趣的灵魂,还有《天津滨海图书馆》,这是天津滨海文化中心项目中与市民生活关系最紧密的公共建筑之一,其中建筑楼层读者座位1200个,为当地居民提供周末休闲娱乐的场所,我也希望去那里度过周末啊等等。 那个时候,我没学中文看不懂汉字,我只看通过图片和符号来了解中国。 我想如果有一天我要学中文直到能使用汉字去理解我看到的那些内容,能够亲自体验中国,那就是我的愿望。

   虽然现在我还没有机会去中国学习汉语,但是我在网络上学习总是很开心。 老师讲课,给我看到各种教材,包括实践课,文化课等等,仿佛回到了小时候,回到了听故事的过程中。 我知道了我从来不知道的事情,感知到了已知事实中的更多细节。直到今天,长辈们不再和我在一起了, 但我仍然记得那些故事。 现在我明白了在谈论中国时为什么老人们脸上总是充满了自豪和开心。

陈玲玲