1. ตู้ทดลองทางวิทยาศาสตร์บนสถานีอวกาศจีน

25 ก.ค. 65 – จีนส่ง “โมดูลทำการทดลอง-เวิ่นเทียน” ขึ้นสู่อวกาศ ณ สนามบินอวกาศเหวินชาง มณฑลไห่หนาน ด้วยจรวดขนส่ง “ฉางเจิง 5บี” เมื่อวันที่ 24 ก.ค. นอกจากโมดูลทำการทดลอง“เวิ่นเทียน” ที่แปลว่า “ถามฟ้า” แล้ว จีนยังส่งตู้ทดลองทางวิทยาศาสตร์จำนวน 4 ตู้ขึ้นไปพร้อมกัน เพื่อเตรียมทดลองทางวิทยาศาสตร์ 4 ตู้ คือ ตู้ทดลองนิเวศวิทยาชีวิต ตู้ทดลองเทคโนโลยีชีวภาพ กล่องถุงมือวิทยาศาสตร์และตู้ควบคุมอุณหภูมิสำหรับห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยในการศึกษาผลกระทบของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อการเจริญเติบโต การพัฒนา และการเผาผลาญของพืชและสัตว์ในพื้นที่น้อยในสภาวะเกือบไร้น้ำหนัก เช่น ต้นอะราบิดอพซิส ไส้เดือนฝอย แมลงวันผลไม้ ปลาม้าลาย ฯลฯ รวมถึงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตในอวกาศและเทคโนโลยีชีวภาพ ฟิสิกส์พื้นฐานของสภาวะไร้น้ำหนัก ทั้งนี้ เมื่อสถานีอวกาศจีนสร้างเสร็จสมบูรณ์จะกลายเป็นห้องปฏิบัติการอวกาศ และแพลตฟอร์มการทดลองในอวกาศใหญ่ที่สุดและยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การบินและอวกาศของจีน เป็นการเปิดหน้าใหม่แห่งการวิจัยและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ทางอวกาศของจีน

2. เบื้องหลังการสร้างสถานีอวกาศ

25 ก.ค. 65 – “โมดูลทำการทดลอง – เวิ่นเทียน(ถามฟ้า)” จะเชื่อมต่อกับพอร์ตด้านหน้าของห้องโดยสารหลักของเทียนเหอ (Tianhe) กระบวนการดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 13 ชั่วโมง ต่อมาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 นักบินอวกาศภารกิจเสินโจว 14 ได้เปิดประตูและเข้าไปในโมดูลทำการทดลองเวิ่นเทียนได้อย่างราบรื่น นี่คือ ภาระหน้าที่ครั้งที่ 24 ของโครงการการบินพร้อมมนุษย์จีน โมดูลทำการทดลอง “เวิ่นเทียน”ที่ถูกส่งขึ้นไป เป็นโมดูลที่ 2 ของสถานีอวกาศของจีน และนับเป็นโมดูลทดลองวิทยาศาสตร์แห่งแรก โมดูลทำการทดลอง “เวิ่นเทียน”ประกอบขึ้นด้วยส่วนปฏิบัติงาน แอร์ล็อค และเก็บวางข้าวของ โดยจะเป็นสถานที่พำนัก ทำภารกิจนอกยาน และทดลองด้านวิทยาศาสตร์อวกาศเป็นหลัก นอกจากนั้น ยังเป็นส่วนสำรองของโมดูลหลัก “เทียนเหอ”โดยสามารถควบคุมสถานีอวกาศได้ด้วย

3. “Zhai Model” ช่วยรถไฟความเร็วสูงของจีนเร่งความเร็ว

26 ก.ค. 65 – นักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences: CAS) สามารถพัฒนารถไฟที่วิ่งได้บนรางทุกขนาด (variable-gauge) ทั้งรางมาตรฐาน รางแคบ และรางกว้าง และมีความเร็วในการออกแบบสูงสุด 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยระบบทฤษฎีใหม่ หรือ “Zhai Model” ซึ่งนายไจ๋ หว่านหมิง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมการรถไฟและเป็นผู้วางแนวทางการพัฒนารถไฟความเร็วสูงใหม่ที่มีความเร็วสูงนี้ขึ้น กลายเป็นวิธีการพื้นฐานสำหรับการวิจัยพลวัตของระบบรางในประเทศและต่างประเทศ และยังเป็นการสนับสนุนทางทฤษฎีที่สำคัญสำหรับการพัฒนาความเร็วรถไฟความเร็วสูงของจีนอย่างต่อเนื่อง โดยได้ทดสอบกับรถไฟความเร็วสูงระหว่างเมืองปักกิ่ง – เทียนจิน ปักกิ่ง – เซี่ยงไฮ้ และเฉิงตู – ฉงชิ่งเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ รถไฟรุ่นใหม่นี้จะยังช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเดินทางข้ามทวีปอีกด้วย

4. โครงการ “รถไฟสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” เริ่มแล้ว

27 ก.ค. 65 – เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เปิดตัวโครงการ”รถไฟสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเมืองเหอฉื่อ (Science and Technology Train in Hechi) ” เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 โดยมีผู้เชี่ยวชาญกว่า 100 คนในด้านการเกษตร ป่าไม้ อุตสาหกรรม การแพทย์ การเผยแพร่วิทยาศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ให้บริการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเพื่อส่งเสริมให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลายเป็นที่นิยมและเพิ่มพูนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในหมู่ประชาชน ส่งเสริมการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสนับสนุนพลังทางสังคมเพื่อส่งเสริมการรวบรวมและขยายความสำเร็จของการบรรเทาความยากจนและส่งเสริมการฟื้นฟูชนบทอย่างครอบคลุม

5. การก่อสร้างอัจฉริยะของรถไฟความเร็วสูงสายจี่หนาน-เจิ้งโจว

27 ก.ค. 65 – บริษัท การรถไฟแห่งประเทศจีน สาขาเจิ้งโจว จำกัด ทดสอบการวิ่งของรถไฟความเร็วสูงวิ่งระหว่างเมืองเจิ้งโจว-ผูหยาง ในมณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน ซึ่งใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างอัจฉริยะของทางรถไฟสายจี่หนาน-เจิ้งโจว ซึ่งความยาวรวม 380 กิโลเมตร และความเร็วออกแบบ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามรายงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างอัจฉริยะ เมื่อเทียบกับวิธีการก่อสร้างแบบดั้งเดิมแล้ว สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้มากกว่า 30% และสามารถลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ได้มากขึ้นกว่า 40% และได้ส่งเสริมการพัฒนาการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เพิ่มความหลากหลายของการก่อสร้างสะพานรถไฟ สร้างการเดินทางที่ปลอดภัย สะดวกสบาย และเป็นมิตรกับผู้โดยสารยิ่งขึ้น และเหมาะสมกับพื้นที่ในเมืองมากขึ้น เช่น การก่อสร้างที่รวดเร็ว การปกป้องสิ่งแวดล้อม และเสียงรบกวนต่ำ เป็นต้น

  • http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-07/25/content_539111.htm?div=-1
  • https://news.cctv.com/2022/07/25/ARTIA91hvRs1rwFP2BNr8erM220725.shtml?spm=C94212.PGZDd8bkBJCZ.E850fz1ryIUd.34
  • http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-07/26/content_539137.htm?div=-1
  • http://k.sina.com.cn/article_1784473157_6a5ce64502002kg01.html
  • http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-07/27/content_539207.htm?div=-1