Science Technology Innovation Weekly No.33/2565

1. นักวิทย์จีนคว้ารางวัล Future Science Prize 2022

22 ส.ค. 65 – ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลด้านวิทยาศาสตร์ประจำปี 2022 เมื่อวันที่ 21 สค. 65 มีนักวิทยาศาสตร์จีน 3 คน ได้รับรางวัล คือ (1) นายลี่ เวินฮุย จากสถาบันวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตแห่งปักกิ่งและสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยชิงหวา สาขาชีววิทยาศาสตร์ (2) นายหยาง เสวี่ยหมิง จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน (USTC) และสถาบันฟิสิกส์เคมีต้าเหลียนแห่งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) สาขาวัสดุศาสตร์ และ (3) นายโม่ อี้หมิง จากมหาวิทยาลัยฮ่องกง สาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ รางวัลที่ได้รับมีมูลค่า 6.75 ล้านหยวน หรือ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยพิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน

2. การประชุมวิชาการจงกวนซุน 2022 กำลังจะจัดขึ้นในเดือนหน้า

23 ส.ค. 65 – งานประชุมวิชาการจงกวนซุน 2022 โดยการสนับสนุนจาก ก.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ ก.อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการกำกับและบริหารทรัพย์สินของรัฐของสภาแห่งรัฐ สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน สถาบันวิศวกรรมแห่งประเทศจีน สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน และรัฐบาลเทศบาลกรุงปักกิ่ง กำหนดจัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่าง 22-27 ก.ย. 65 ประกอบด้วย งานประชุมวิชาการ นิทรรศการ พิธีมอบรางวัล กิจกรรมประกวดนวัตกรรมและกิจกรรมอื่น ๆ มากกว่า 130 กิจกรรม ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก สถาบันวิจัยชั้นนำ รวมถึงหน่วยงานด้านนวัตกรรมและผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงมาร่วมในหัวข้อที่สำคัญได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ สุขภาพทางการแพทย์ ความมั่นคงด้านพลังงาน และความเป็นกลางของคาร์บอน เป็นต้น

3. นักวิทย์จีนประสบความสำเร็จจำแนกอารมณ์จากเสียงพูด

24 ส.ค. 65 – ทีมวิจัยจีนนำโดย นายหลิว รุ่ย ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมองโกเลียใน ร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น และทีมวิจัยจากสถาบันวิจัยอุตสาหกรรม ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาชุดจำแนกอารมณ์จากเสียงพูด (Voice Conversion Via Source-Filter Networks) ที่สามารถการวิเคราะห์และตีความอารมณ์จากเสียงพูดได้ ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น บริการระบบ Call Center ประเมินอารมณ์ลูกค้าที่โทรศัพท์เข้ามารับบริการ สร้างระบบ AI ที่สามารถแสดงอารมณ์ขณะสื่อสารกับผู้ใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น ผลงานดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ใน “วารสารการประมวลผลเสียง คำพูด และภาษา (IEEE/ACM)” ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำด้านการประมวลผลสัญญาณระหว่างประเทศ

4. สถานีอวกาศเทียนกงรักษาอุณหภูมิเหมือนฤดูใบไม้ผลิอย่างไร?

24 ส.ค. 65 – สถานีอวกาศเทียนกงอยู่ห่างจากโลก 400 กม. ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสภาพแสงและเงา เมื่ออยู่ในที่ร่ม อุณหภูมิภายนอกจะลดลงถึง -150°C เมื่ออยู่ในแสงแดด อุณหภูมิจะสูงขึ้นถึง 150°C แต่ภายในสถานีอวกาศ มีระบบรักษาอุณหภูมิที่คงที่ที่ 23°C ด้วยเครื่องปรับอากาศส่วนกลางที่ติดตั้งภายในโมดูลสถานีอวกาศหลักเทียนเหอและโมดูลเหวินเทียน และสารเคลือบควบคุมความร้อน ซึ่งสามารถรักษาอุณหภูมิ 18-26°C ได้นาน 6 เดือน พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีอวกาศจีน ถูกนำไปใช้ครั้งแรกในยานอวกาศเสินโจว-13 ซึ่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ ต.ค. 2021 และยานอวกาศเสินโจว-14 ซึ่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ มิ.ย. 2022 นอกจากนี้ จีนยังพัฒนาชุดนักบินอวกาศที่สามารถระบายความร้อนและควบคุมความชื้นได้ดีอีกด้วย

5. โมดูลเวิ่นเทียนอยู่ในวงโคจรครบ 1 เดือน

25 ส.ค. 65 – เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 65 โมดูลเวิ่นเทียน( Wentian) หรือห้องปฏิบัติการแห่งแรกของสถานีอวกาศเทียนกงของจีน ได้ปฏิบัติงานในวงโคจรครบ 1 เดือนแล้ว ทำหน้าที่เป็นทั้งส่วนสำรองของโมดูลหลักและเป็นแพลตฟอร์มการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีสมรรถภาพสูง โดยนักบินอวกาศยานเสินโจว 14 ทั้ง 3 คน ได้ดำเนินการทดสอบระบบตั้งค่าที่จำเป็น และอยู่ระหว่างฝึกฝนและเตรียมพร้อมสำหรับการทำกิจกรรมนอกยานอวกาศ โดยนายหลัว เหวินซาง หัวหน้าผู้ออกแบบโมดูลเวิ่นเทียน กล่าวว่า กิจกรรมนอกยานครั้งนี้ได้ทดสอบการทำงานและประสิทธิภาพห้องปรับแรงดันอากาศ (airlock cabin) ชุดปฏิบัติกิจกรรมนอกยาน และแขนกล รวมถึงประเมินเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมนอกยาน การประสานงานจากภายในและภายนอกสถานีอวกาศของนักบินอวกาศจีน และการประสานงานระหว่างอวกาศกับพื้นโลก เพื่อรับรองความปลอดภัยแก่นักบินอวกาศยานเสินโจว 14 ในสภาพแวดล้อมที่มีรังสีสูง

  • https://www.zghy.org.cn/item/582218703710408704
  • https://news.cctv.com/2022/08/23/ARTImYxxf6a9wMCuKXaZpnTS220823.shtml?spm=C94212.PGZDd8bkBJCZ.EeCXS9523EQ2.4
  • http://digitalpaper.stdaily.com/http_www.kjrb.com/kjrb/html/2022-08/24/content_540607.htm?div=-1
  • https://news.cctv.com/2022/08/24/ARTIGjbysiwx15CbMDrJynIJ220824.shtml?spm=C94212.PGZDd8bkBJCZ.E850fz1ryIUd.16
  • https://news.cctv.com/2022/08/25/ARTIhpzsFomXcvgtme7FAFFm220825.shtml?spm=C94212.PGZDd8bkBJCZ.E850fz1ryIUd.25
อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]