• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • ฝึกภาษาจีนครั้งแรก หัวเราะทั้งน้ำตา!!! รู้ซึ้งกับคำว่า “555” เลข5มีน้ำตาซ่อนอยู…

ฝึกภาษาจีนครั้งแรก หัวเราะทั้งน้ำตา!!! รู้ซึ้งกับคำว่า “555” เลข5มีน้ำตาซ่อนอยู…

ฝึกภาษาจีนครั้งแรก หัวเราะทั้งน้ำตา!!!
รู้ซึ้งกับคำว่า “555” เลข5มีน้ำตาซ่อนอยู่ มีจริงใน (ภาษา)จีน

—–

ย้อนไปเมื่อปี2011 สมัยที่ไปใช้ชีวิตในประเทศจีนแรกๆ ผมไม่รู้ภาษาจีนเลยนอกจากคำว่า
你好 (หนีห่าว) สวัสดี และ 我爱你 (หว่ออ้ายหนี่) ผมรักคุณ ดังนั้นผมจึงต้องเรียนภาษาจีนควบคู่ไปกับการเรียนปริญญาโท เพื่อให้ใช้ชีวิตในจีนได้

ตอนเริ่มเรียนภาษาจีนผ่านไปสักระยะหนึ่ง เหล่าซือ (อาจารย์) ที่สอน แนะนำว่าให้ลองหาเพื่อนคนจีนทางอินเทอร์เน็ต ด้วยโปรแกรมฮอตฮิตของจีน อย่าง QQ และ WeChat จะมัวรอช้าอยู่ใย สาวหมวย เอ้ย ภาษาจีน รออยู่ ผมรีบสมัครทั้ง2แอพ และหาเพื่อนคนจีนเพื่อลองวิชาที่เพิ่งเรียนมาเสียหน่อย

“ปรากฏว่าได้เรื่องตั้งแต่คนแรกที่คุยด้วยเลย”

จำได้ว่าเป็นคนจีนที่เขาสนใจภาษาไทย อยากคุยกับคนไทย เลยคุยกันได้ยาว คุยจีนบ้างสลับอังกฤษบ้าง แบบงูๆปลาๆ

ณ ตอนนั้น จุดไคลแมกซ์อยู่ที่ ผมพิมพ์ “ 555 ” เพื่อที่จะสื่อว่าเรื่องที่คุยกันอยู่ตลกดีนะ และตอนนั้นผมลืมตัว ลืมคิดไปว่า การพิมพ์แบบนี้จะเข้าใจเฉพาะคนไทยด้วยกันเองเท่านั้น

พอพิมพ์ไปแบบนั้น คนจีนที่กำลังคุยด้วย เกิดอาการงองูสองตัวมาประกบกัน แล้วถามผมแบบที่พอเข้าใจได้ว่า

“เศร้าอะไรหรอ ร้องไห้ทำไม”

ทีนี้ถึงคราวงองูสองตัวมาอยู่ทางฝั่งผมบ้าง เพราะผมเพิ่งจะ พิมพ์ “ 555 ” อันหมายถึงอาการหัวเราะ ที่เราคุ้นเคย ทำไมเขาถึงคิดว่าผมเศร้าละ

คุยไปคุยมาจนรู้เรื่องว่า ภาษาจีน เลข 5 ออกเสียงว่า อู่ (五) ดังนั้น “ 555 ” ของเขา จึงออกเสียงว่า อู่อู่อู่ ซึ่งไปผ้องเสียงกับ อูอูอู (呜呜呜) ที่คล้ายเสียงคนร้องไห้สะอึกสะอื้น

“ 555 ” ในภาษาจีน จึงมีความหมายทางแสลงโดยเฉพาะศัพท์ที่ใช้กันบนโลกOnline ว่า ร้องไห้ นั่นเอง เหมือนกับ “ 555 ” ของเรา ที่เลียนเสียงเลขห้า กับ ฮ่า จึงมีความหมายว่า หัวเราะ

เป็นไงบ้างครับ กับประสบการณ์ฝึกภาษาจีนครั้งแรกของผม กะจะเอาฮา แต่ลงท้ายด้วย ร้องไห้ ซะงั้น ซึ่งไม่เฉพาะแค่คุยกับคนจีนนะครับ คุยกับคนชาติอื่นเช่นกัน อย่าไปเผลอพิมพ์ “ 555 ” ใส่เขานะ ถ้าเขาไม่รู้ภาษาไทยนี่แย่เลย พิมพ์ hahaha ปลอดภัยสุด ซึ่งคนจีน ก็เข้าใจอยู่ครับถ้าพิมพ์ภาษาอังกฤษแบบนี้

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]