??? อว. สรุปคนไทยติดโควิด-19 รวมแล้ว 10,000 คนใน 363 วันหลังพบผู้ติดเชื้อรายแรก ???
➡️(9 มกราคม 2564) ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รายงานผลการประมวลข้อมูลว่า “ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 รวมแล้วถึง 10,000 รายเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2564 ซึ่งนับเป็นระยะเวลา 363 วันหลังจากที่มีการพบผู้ติดเชื้อรายแรก”
➡️หลังจากที่มีการรายงานพบโรคระบาดใหม่ที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2562 ประเทศไทยได้เริ่มคัดกรองหาผู้ติดเชื้อตั้งแต่ต้นปี 2563 และพบผู้ติดเชื้อรายแรกซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 ภายในเวลาเพียงสองสัปดาห์หลังจากรายงานการระบาด ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อในช่วงแรกที่พบเป็นผู้เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ แล้วจึงค่อยๆ พบผู้ติดเชื้อชาวไทยในเวลาต่อมา โดยการระบาดระลอกแรกนั้นอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2563 จนสามารถควบคุมได้ในเวลาประมาณสองเดือน แล้วจึงไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศโดยผู้ติดเชื้อที่พบหลังจากนั้นเป็นผู้ที่เดินทางเข้าประเทศและได้รับการดูแลในสถานที่กักกันของรัฐ (State Quarantine) เป็นหลัก และไม่พบการติดเชื้อภายในประเทศนานกว่า 100 วัน
➡️ปัจจุบันอยู่ในการติดเชื้อระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2563 เริ่มจากกลุ่มแรงงานชาวต่างชาติที่จังหวัดสมุทรสาคร ต่อมาได้พบการติดเชื้อภายในประเทศหลายจุด โดยเฉพาะในจังหวัดสมุทรสาครและทางภาคตะวันออก
??วันนี้ (9 มกราคม 2564) ประเทศไทยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมทะลุ 10,000 ราย อว. จึงขอสรุปสถิติสำคัญ ดังนี้
1. ผู้ติดเชื้อสะสม 10,053 ราย
– หายแล้ว 55.17%
– ยังรักษาอยู่ 44.16%
– เสียชีวิต 0.67%
2. ที่มาของการติดเชื้อ
– ติดเชื้อในประเทศ 71%
– เดินทางกลับจากต่างประเทศ 29%
3. เพศ
-หญิง 41%
-ชาย 37%
-ยังไม่ระบุ 22%
4. อายุ
-มากที่สุด 97 ปี
-น้อยที่สุด 1 เดือน
5. ช่วงอายุ
– 0-10 ปี 2.48%
– 11-20 ปี 5.73%
– 21-30 ปี 26.24% (มากที่สุด)
– 31-40 ปี 23.24%
– 41-50 ปี 19.07%
– 51-60 ปี 13.87%
– 61-70 ปี 6.84%
– 71-80 ปี 2.05%
– มากกว่า 80 ปี 0.48%
6. สัญชาติ
– ไทย 65.4%
– พม่า 12.2%
– กัมพูชา 1.5%
– อินเดีย 0.9%
– สหรัฐอเมริกา 0.5%
– ฝรั่งเศส 0.5%
– สหราชอาณาจักร 0.5%
– ญี่ปุ่น 0.4%
– จีน 0.4%
– รัสเซีย 0.4%
7. วันที่พบผู้ป่วยในรอบสำคัญ
– รายแรก เมื่อวันที่ 12 ม.ค.63
– รายที่ 100 เมื่อวันที่ 15 มี.ค.63
– รายที่ 500 เมื่อวันที่ 22 มี.ค.63
– รายที่ 1,000 เมื่อวันที่ 26 มี.ค.63
– รายที่ 2,000 เมื่อวันที่ 4 เม.ย.63
– รายที่ 3,000 เมื่อวันที่ 8 พ.ค.63 (สิ้นสุดการระบาดระลอกแรก)
– รายที่ 4,000 เมื่อวันที่ 30 พ.ย.63
– รายที่ 5,000 เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.63
– รายที่ 10,000 เมื่อวันที่ 9 ม.ค.64
8. จำนวนวัน
– 1-100 คน ใช้เวลา 63 วัน
– 100-1,000 คน ใช้เวลา 11 วัน
– 1-1,000 คน ใช้เวลา 74 วัน
– 1,000-2,000 คน ใช้เวลา 9 วัน
– 2,000-3,000 คน ใช้เวลา 34 วัน
– 3,000-4,000 คน ใช้เวลา 206 วัน
– 4,000-5,000 คน ใช้เวลา 21 วัน
แล้ว
– 5,000-10,000 คน ใช้เวลาเพียง 19 วัน
9. สิบจังหวัดแรกที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด
– กรุงเทพมหานคร
– สมุทรสาคร
– ชลบุรี
– สมุทรปราการ
– ระยอง
– นนทบุรี
– จันทบุรี
– ภูเก็ต
– ยะลา
– สงขลา
10. ผู้ติดเชื้อแยกตามรายภาค
– ภาคกลาง 59.32%
– กทม. และนนทบุรี 28.99%
– ภาคใต้ 7.76%
– ภาคเหนือ 2.41%
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.52%
?แหล่งข้อมูล กรมควบคุมโรค และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
?ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ที่มา https://www.facebook.com/184257161601372/posts/4229687880391593/?d=n
#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาตร์วิจัยและนวัตกรรม