กรมศุลกากรนครฉงชิ่ง เปิดเผยข้อมูลสถิติการค้าเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 ว่า นครฉงชิ่งมีมูลค่าการนำเข้าส่งออก 116,170 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.3 แบ่งเป็นมูลค่าการนำเข้า 43,910 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.6 มูลค่าการส่งออก 72,260 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.8 โดยมีรายละเอียดแบ่ง ดังนี้
มูลค่าการนำเข้าส่งออกแบ่งตามประเภทสินค้า
ประเภทสินค้า |
มูลค่าการนำเข้าส่งออก (ล้านหยวน) |
เพิ่มขึ้น (ร้อยละ) |
สินค้าทั่วไป | 41,400 | 35.6 |
สินค้าแปรรูป | 51,200 | 65.9 |
สินค้าปลอดภาษี | 23,110 | 35.7 |
มูลค่าการนำเข้าส่งออกผ่านบริษัทประเภทต่าง ๆ
ประเภทของบริษัท |
มูลค่าการนำเข้าส่งออก (ล้านหยวน) |
เพิ่มขึ้น (ร้อยละ) |
บริษัทจากต่างประเทศ | 57,180 | 53.7 |
บริษัทเอกชน | 48,760 | 42 |
รัฐวิสาหกิจ | 10,110 | 32.4 |
มูลค่าการนำเข้าส่งออกแบ่งตามพื้นที่
สหภาพ/สมาคม/ประเทศ |
มูลค่าการนำเข้าส่งออก (ล้านหยวน) |
เพิ่มขึ้น |
ประเทศตามเส้นทาง BRI | 31,580 | ร้อยละ 52.6 |
อาเซียน | 18,820 | ร้อยละ 37.8 |
สหภาพยุโรป | 17,760 | ร้อยละ 80.5 |
สหรัฐอเมริกา | 16,470 | 1.2 เท่า |
ไต้หวัน | 10,340 | 1.1 เท่า |
สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด
ประเภทสินค้า |
มูลค่าการส่งออก (ล้านหยวน) |
เพิ่มขึ้น |
คอมพิวเตอร์ |
28,210 |
1.2 เท่า |
โทรศัพท์ |
4,410 |
6.2 เท่า |
มอเตอร์ไซค์ |
2,410 |
ร้อยละ 58 |
รถยนต์ |
1,430 |
ร้อยละ 29.9 |
ประเภทสินค้าที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด
ประเภทสินค้า |
มูลค่าการนำเข้าส่งออก (ล้านหยวน) |
เพิ่มขึ้น |
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ |
17,540 |
(ร้อยละ) 23.8 |
แร่โลหะ |
3,830 |
1.3 เท่า |
อุปกรณ์ (Semiconductor) |
2,780 |
76.2 เท่า |
กรมศุลกากรนครฉงชิ่งวิเคราะห์ว่ามูลค่าการนำเข้าส่งออกมีอัตราการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจาก (1) การฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยใน 2 เดือนแรกของปี 2564 มูลค่าการส่งออกไปสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.5 และ 1.5 เท่าตามลำดับ (2) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ตัวเลขมูลค่าการนำเข้าส่งออกในเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 ลดลงร้อยละ 18.3 ส่งผลให้ปี 2564 ตัวเลขมูลค่าการนำเข้าส่งออกสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด
เมื่อปี 2563 นครฉงชิ่งมีมูลค่า GDP รวม 2.5 ล้านล้านหยวน จัดเป็นนคร/เมืองที่มีมูลค่า GDP สูงเป็นอันดับที่ 5 ของจีนรองจากนครเซี่ยงไฮ้ กรุงปักกิ่ง เมืองเซินเจิ้น และนครกว่างโจว อีกทั้งยังได้รับการรับรองจากธนาคารโลกด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของนครฉงชิ่งนับเป็นโอกาสดีสำหรับนักลงทุนและผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะธุรกิจการนำเข้าส่งออก โดยอาศัยความได้เปรียบด้านโลจิสติกส์ของนครฉงชิ่ง ซึ่งใกล้ไทยและมีเส้นทางการขนส่งทั้งทางอากาศ ทางเรือ และทางบก
แหล่งที่มา Chongqing Customs District P.R.CHINA (17 มี.ค. 2564)
http://xiamen.customs.gov.cn/chongqing_customs/515855/515856/3580294/index.html
webmaster
เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครเฉิงตู