• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • ย้อนรอย คนคิดบวกที่แท้จริง แม้ผลตรวจเลือดจะออกมาบวก-ได้รับเชื้อHIV : กรณีตัวอย่า…

ย้อนรอย คนคิดบวกที่แท้จริง แม้ผลตรวจเลือดจะออกมาบวก-ได้รับเชื้อHIV : กรณีตัวอย่า…

ย้อนรอย คนคิดบวกที่แท้จริง แม้ผลตรวจเลือดจะออกมาบวก-ได้รับเชื้อHIV : กรณีตัวอย่างของการต่อสู้เพื่อกระตุ้นให้สังคมจีนตื่นตัวและรับรู้ “คนติดเชื้อHIVก็สามารถทำงานและใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ” / เรื่องราวการป้องกันHIVและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในจีน

.

ย้อนไปเมื่อปี2561 มีข่าวดังในหน้าสื่อจีน เช่น People’s Dailyที่อ้ายจงอ่านเจอเรื่องนี้

Xie Ping ชายชาวจีนคนหนึ่งโดนยกเลิกการจ้างงาน เนื่องจากตรวจพบเชื้อ HIV ซึ่งทางบริษัทได้บังคับให้ตรวจอันเป็นหนึ่งในกระบวนการตรวจร่างกายของบริษัท หลังจากบริษัททราบผลเลือดของเขา ก็ให้เขาอยู่บ้านไม่ให้มาทำงาน และจ่ายเงินให้ 3,000หยวน (ราว 13,000บาท) พร้อมยกเลิกสัญญาจ้างงาน

แต่ทาง Xie Peng เห็นว่า “ไม่เป็นธรรม” และต้องการเรียกร้องสิทธิเพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างของผู้ที่ได้รับเชื้อHIV ก็สามารถทำงานและใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ

เขาได้ศึกษาข้อมูลจนทราบว่า ” ตามข้อบังคับของประเทศจีนว่าด้วยการป้องกันโรคเอดส์ ไม่มีบริษัทหรือสถาบันใดบังคับให้พนักงานต้องตรวจเชื้อเอชไอวี ในขณะที่บทบัญญัติการส่งเสริมการจ้างงานของประเทศจีน ก็กำหนดไว้ว่านายจ้างจะต้องไม่ปฏิเสธการรับสมัครผู้ที่ติดเชื้อHIV”

เมื่อเขาทราบดังนั้น จึงยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติกับแรงงานในท้องถิ่นและสถาบันอนุญาโตตุลาการเมื่อปลายปี 2560 ก่อนที่เขาจะตัดสินใจยื่นเรื่องต่อศาลในมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) จนในที่สุดศาลก็มีคำสั่งให้ Xie Pengชนะ และทางนายจ้างไม่มีสิทธิยกเลิกสัญญาจ้าง โดยศาลมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนให้เขา สองเท่าของเงินเดือน ราวๆ63,000หยวน คิดย้อนหลังไปตั้งแต่เดือนมิถุนายน2560 ถึงเดือนมีนาคม2561

เขาเผยว่าการต่อสู้ของเขา ไม่ได้เป็นการต่อสู้เพื่อตัวเขาคนเดียว แต่ยังเป็นการต่อสู้เพื่อผู้ติดเชื้อคนอื่น ๆ ที่บริษัทเลือกปฏิบัติต่อพนักงานผู้ติดเชื้อและบริษัทควรจะรับผู้ติดเชื้อเข้าทำงานได้อย่างปกติ ตามสิทธิที่ทุกคนมี

“ผมรักงานนี้และรู้ดีว่าเชื้อ HIV ไม่สามารถติดต่อกันได้ในที่ทำงาน และหวังว่าผมจะกลับไปทำงานแทนที่จะนั่งรออยู่ที่บ้าน

“และในที่สุดผมก็ได้กลับไปทำงาน รู้สึกเซอร์ไพรส์และดีใจมาก เมื่อทุกคนในบริษัทเห็นด้วยที่จะทำงานร่วมกับผม” เขากล่าว

.

เมื่อพูดถึงประเด็นการติดเชื้อ HIV ทำให้อ้ายจงนึกถึงบทความที่เคยอ่านเมื่อปี2560 เป็นบทความในหน้าสื่อจีนรวมถึงมีปรากฎในสื่อต่างประเทศ (https://www.chinadaily.com.cn/china/2017-07/11/content_30064251.htm)

โดยนำเสนอว่าประเทศไทยเป็นประเทศอันดับต้นๆที่เป็นจุดหมายปลายทางของคู่รักเพศเดียวกันชาวจีน ที่มักจะมาเที่ยวมาใช้ชีวิต เพราะไทยเปิดกว้างสำหรับเรื่องนี้ และที่สำคัญที่เขาไฮไลท์ในข่าวเลยคือ

คู่รักเพศเดียวกันชาวจีนแห่มาซื้อยาป้องกันการติดเชื้อ HIV หรือยาเพร็พ PrEP ที่ไทย ซึ่งจริงๆในจีนก็มีขาย แต่ถ้าเป็นยี่ห้อดังน่าเชื่อถือ ค่อนข้างแพง บางแบรนด์ราคาสูงถึง 2,000 หยวน แต่ถ้าทั่วๆไปก็ถูกสุดราวๆ 300 หยวน ใช้ได้ 1 เดือน

.

โดยจีนจะให้ความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อHIVและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในรูปแบบอื่น เช่น การใช้ถุงยางอนามัย และการใช้เครื่องตรวจHIVที่สามารถตรวจได้ในเบื้องต้น รวมถึงการส่งต่อความรู้และอุปกรณ์ป้องกันอย่างถูกต้องให้เข้าถึงกลุ่มเสี่ยง -กลุ่มวัยรุ่น-นักเรียน

ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยจีนหลายแห่ง เริ่มขายชุดตรวจเชื้อ HIV ในรูปแบบเดียวกับตู้ขายขนม-มาม่าหยอดเหรียญ หลังพบผู้ตรวจเชื้อในวัยมหาวิทยาลัยมากขึ้น

อย่างในมหาวิทยาลัยปิโตรเลียมตะวันตกเฉียงใต้ เมืองเฉิงตู มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ได้ติดตั้งเครื่องจำหน่ายชุดตรวจ HIV ผ่านตู้หยอดเหรียญในมหาวิทยาลัย ที่ถ้าหากใครไม่ทันสังเกต คงจะคิดว่าเป็นขนมในตู้หยอดเหรียญทั่วไป

ขณะที่ไปทางอีสานของจีน ราวปี2560 ใครที่ผ่านไปใต้ตึกหอสมุดมหาวิทยาลัยการแพทย์ฮาร์บิน ก็คงได้เห็นชุดตรวจ HIV ในตู้หยอดเหรียญเช่นกัน โดยจำหน่ายในราคา 30 หยวน (ประมาณ 150 บาท) เท่ากับที่เสฉวน

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในจีนเริ่มตื่นตัวในการจำหน่ายชุดตรวจ HIV และถุงยาง-สิ่งป้องกันโรคทางเพศ ในมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น ตามการรายงานของสำนักข่าวซินฮว๋าในจีน

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน




ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]