#เรื่องเล่ายามดึก เกร็ดภาษาจีนบนหน้าปฏิทิน
ปฏิทินนี้ดูเผินๆก็เป็นปฏิทินทั่วไปที่เราเห็นกันตั้งแต่เด็ก แต่ถ้าลองมองดูที่ “ภาษาจีน” คนที่รู้ภาษาจีนคงจะงงอยู้แป๊บหนึ่งว่าจะอ่านอย่างไร แปลอย่างไรดี เพราะถ้าเอาที่คุ้นชิน ก็คงจะอ่านจากซ้ายไปขวา แต่ก็อาจจะสตั๊นอีกว่าแล่วควรจะอ่านบนลงล่างด้วยไหม? เอ๊ะอย่างไรดี?
.
ก่อนจะงงไปมากกว่านี้ สรุปเลยแล้วกันว่า “การเขียนภาษาจีนในภาพนี้ เป็นแบบจีนโบราณครับ คือ บนลงล่าง ขวาไปซ้าย” ดังนั้นภาษาจีนบนปฏิทินนี้จึงอ่านว่า恭贺新禧 ที่มีความหมายอวยพรสวัสดีปีใหม่ นั่นเอง
.
เมื่อพูดถึงการเขียนภาษาจีนโบราณ ก็ทำให้นึกถึงเรื่องราวสุดคลาสสิค “คำเรียกภาษาจีนของแพนด้า” ที่มีการเล่าต่อๆมาอย่างกว้างขวาง
.
แพนด้า หรือภาษาจีนเรียกว่า 熊猫 สวงมาว 熊 สวง =หมี, 猫 มาว =แมว
ดังนั้น มาวสวง จึงแปลเป็นไทยแบบตรงตัวว่า แมวหมี (คำหน้าเป็นคำขยาย) แต่หารู้ไม่ว่าคำนี้เป็นคำที่คนจีนใช้กันอย่างผิดๆมานาน
.
เนื่องจากแพนด้าเป็นสัตว์ชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบเมื่อ100กว่าปีที่ผ่านมา สมัยที่ค้นพบแรกๆ มีการตกลงกันแล้วว่าจะใช้คำว่า 猫熊 มาวสวง = หมีแมว เพราะแพนด้ามีลักษณะเป็นหมี เพียงแต่มีลักษณะคล้ายแมว
.
แต่มีอยู่วันหนึ่ง มีการจัดแสดงแพนด้าสู่สายตาชาวโลก ณ ขณะนั้น ที่เมืองฉงชิ่ง แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะติดป้ายไว้แล้วว่า มาวสวง (หมีแมว)
.
คนจีนกลับอ่านผิดว่า สวงมาว เนื่องจาก ณ ตอนนั้นแม้จีนจะเริ่มเปลี่ยนระบบการเขียนตัวอักษร จากขวา–>ซ้าย เป็น ซ้าย->ขวา
.
แต่เจ้าหน้าที่ ณ ขณะนั้น ยังใช้ระบบการเขียนคำ แบบเรียงอักษร ขวา ไปซ้าย ดังนั้นตอนนั้นจึงเขียนว่า 熊猫 แต่เวลาอ่านก็ต้องอ่านว่า 熊猫 มาวสวง…(ขวาไปซ้าย) แต่ (หลายแต่เหลือเกิน..วุ้ย 55) คนจีนเริ่มคุ้นเคยกับการอ่านจากซ้ายไปขวา ซึ่งเป็นแบบใหม่แล้ว จึงเกิดอาการเมาแพนด้าขึ้นมา เลยเรียกว่า สวงเมา จนกระทั่งปัจจุบัน มีเพียงแต่ไต้หวัน ที่ยังคงยึดหลักอย่างถูกต้องว่า 猫熊 มาวสวง ) ทั้งนี้ทั้งนั้นจะใช้คำไหนก็ได้ ถือว่าเข้าใจว่าหมายถึงแพนด้า เหมือนกันหมด
.
และนี่คือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเรื่องจีน ที่อ้ายจงอยากเล่าให้ฟัง แล้วเจอกันใหม่ในโพสต์ต่อไปครับ
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง