• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • #เรื่องเล่ายามดึก เวลาเห็นวันเดือนปีที่ระบุบนผลิตภัณฑ์จีน “อย่าเพิ่งทิ้งลงถังขย…

#เรื่องเล่ายามดึก เวลาเห็นวันเดือนปีที่ระบุบนผลิตภัณฑ์จีน “อย่าเพิ่งทิ้งลงถังขย…

#เรื่องเล่ายามดึก เวลาเห็นวันเดือนปีที่ระบุบนผลิตภัณฑ์จีน “อย่าเพิ่งทิ้งลงถังขยะ เพราะแค่เห็นวันเดือนปีแล้วคิดว่า มันหมดอายุแล้ว” ลองอ่านโพสต์นี้ก่อนแล้วการซื้หรือบริโภคของในจีนจะง่ายขึ้นเยอะ

หลายครั้งเลยครับที่ อ้ายจง ได้รับข้อความจากเพื่อนๆหรือคนที่รู้จักหรือแม้แต่แฟนเพจอ้ายจงเอง ส่งเข้ามาถามว่า ขนมอันนี้ หรือเครื่องดื่มอันนั้นที่ซื้อมาจากจีน ยังสามารถกินหรือดื่มได้ไหม เพราะ “วันที่ระบุบนผลิตภัณฑ์มันเกิดขึ้นก่อนวันที่ปัจจุบัน แบบนี้มันหมดอายุไปแล้วหรือเปล่า?”

โดยส่วนใหญ่ร้อยละ95ของสินค้าจีนที่วางขาย จะระบุวันที่หมดอายุ ในรูปแบบต่างกันจากไทยครับ กล่าวคือ จะระบุ “วันที่ผลิต” ไม่ใช่ “วันที่หมดอายุ” (ที่เหลือร้อยละ5 อันนี้อ้ายจงประมาณเอาเองนะ คือเริ่มจะใช้ระบบสากลแล้ว คือระบุวันหมดอายุมาเลย ไม่ต้องเข้าใจยาก)

อ้าว? แล้วแบบนี้จะรู้ได้อย่างไรว่า มันเก็บได้กี่วัน ,กี่เดือน หรือกี่ปี

คือเมื่อเราเจอวันที่แบบรูปแรก 生产日期 (วันที่ผลิต) ให้เรากวาดสายตามองหาแบบรูปที่2ครับ คือจะระบุว่า เก็บได้ระยะเวลานานเท่าใด หลังจากวันผลิต

ไม่ต้องไปซีเรียสกับภาษาจีน แค่มองหาตัวเลขก็พอครับ โดยหน่วยของมัน ก็จะมีแค่ 3แบบ โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ 天 จำนวนวัน,月จำนวนเดือน และ 年จำนวนปี ซึ่งถ้ายังหาไม่เจอ ก็ลองมองจากภาษาจีน ซึ่งจะเขียนว่า 保质期 ระยะเวลาที่ยังคงคุณภาพได้อยู่ หรือ self life

อย่างในรูปตัวอย่างที่อ้ายจงนำมาฝาก มาจากพี่สาวอ้ายจงไปเซี่ยงไฮ้ แล้วซื้อพายไส้สัปปะรดกลับมา แต่ไม่กล้ากิน เพราะคิดว่าหมดอายุแล้ว เนื่องจากเห็นวันที่ 6 เดือนสิงหาคม ปีค.ศ.2019 ซึ่งคือวันผลิตครับ (年 ปี ,月เดือน,日วันที่) พอดูต่อไป ก็จะเจอระบุเอาไว้ว่า เก็บได้ 10个月 10เดือนนั่นเอง

เป็นไงบ้างครับ ชีวิตง่ายขึ้นเยอะเลยเนอะ พอรู้แบบนี้ ใครมีคำถามอะไรเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในจีน ไปเที่ยวจีน หรือทุกอย่างที่เกี่ยวกับจีน ส่งเข้ามาถามได้นะครับ เพราะเราคือ #อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน


ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]