วิเคราะห์กระแส บุพเพสันนิวาส ในโลกโซเชียลจีน Weibo ด้วย Big Data Ep.2 เมื่อละครด…

วิเคราะห์กระแส บุพเพสันนิวาส ในโลกโซเชียลจีน Weibo ด้วย Big Data Ep.2 เมื่อละครดัง… “อยุธยา” ก็ถูกพูดถึงเพิ่มมากขึ้นด้วย

อ้ายจงขอนำข้อมูลวิเคราะห์กระแสบุพเพสันนิวาส ด้วยข้อมูล Big Data จาก Weibo ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มาฝากครับ คือในฐานะที่ทำงานสายการตลาดออนไลน์จีน ก็ต้องยุ่งเกี่ยวกับ Data พวกนี้ทุกวันอยู่แล้ว วันนี้เลยขอตามกระแสบุพเพสันนิวาสกันหน่อย แต่ Ep.2 คราวนี้จะพูดถึงในแง่ของ อยุธยา หรือ 阿瑜陀耶 ในภาษาจีน (อยุธยาในภาษาจีน ยังมีคำอื่นที่ใช้ได้อีก เช่น 阿育他耶 , 阿育陀耶 หรือ 大城府 – จังหวัดอยุธยา แต่คำ 阿瑜陀耶 มีการใช้และค้นหามากที่สุดในโลกออนไลน์จีน ซึ่งจริงๆจะหมายถึง กรุงศรีอยุธยาในสมัยโบราณ)

1. (รูปที่1,2) ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา คำว่า 阿瑜陀耶 (อ่านว่า อาหยีวถัวเหย ขออภัยหากเขียนคำอ่านภาษาไทยไม่ถูกต้องนัก) ที่แปลว่าอยุธยา หรือกรุงศรีอยุธยา มีการพูดถึงในโลกออนไลน์จีน โดยเฉพาะบน Weibo โซเชียลจีน มากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ คำว่า 泰剧天生一对 ละครบุพเพสันนิวาส, 在古代 สมัยโบราณ, 王朝 ราชวงศ์กษัตริย์ไทย(สมัยอยุธยา), 古装 ชุดไทยโบราณ, 集中 ละคร EP ต่างๆที่มีซับจีน หรือแม้กระทั่ง 巴育 พลเอกประยุทธ์ และ rapper อันหมายถึง พี่ขุนโป๊ป มีการพูดแร็พต่อว่าแม่หญิงการะเกดในละคร โดยคลิปที่ทีมงานละครบุพเพสันนิวาสเข้าพบพลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีไทย และนายกให้โป๊ปพูดแร็พใส่ มีการนำเสนอในจีนและได้รับความสนใจมากทีเดียว

2. เมืองที่มีการพูดถึง อยุธยา ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ในโลกออนไลน์จีนมากที่สุด ได้แก่ ปักกิ่ง,กว่างตง(กว่างโจว), เจียงซู (หนานจิง) ตามลำดับ โดยสามารถดูทั้ง 10 อันดับ ได้ในรูปที่ 3

3. จากการตรวจสอบในโลกโซเชียลจีน พบว่า ตั้งแต่ละครบุพเพสันนิวาสได้รับความนิยมจากคนจีน ทำให้อยุธยา หรือกรุงศรีอยุธยา 阿瑜陀耶 ถูกโพสต์ใน Weibo , WeChat และตามเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งดูได้จากใน Baidu มากยิ่งขึ้น

คนจีนมีการพูดถึงอยุธยา ทั้งแชร์ข่าว แชร์ละครบุพเพสันนิวาส และไปเที่ยวเมืองเก่าอยุธยา โดยแท็กถึงละครบุพเพสันนิวาส

4. เมื่อค้นหาและวิเคราะห์ลงลึกไปอีก พบว่า ก่อนหน้าที่บุพเพสันนิวาสจะออนแอร์ ซีรี่ย์ชุด ศรีอโยธยา ช่อง True ก็ถูกพูดถึงในโลกออนไลน์จีน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบละครไทย ทำให้ กรุงศรีอยุธยา 阿瑜陀耶 ถูกพูดถึงมากพอสมควรตั้งแต่ตอนนั้น

ก่อนจะไปต่อที่ข้อ 5 โพสต์นี้เป็นโพสต์ที่เพจอ้ายจงเขียนขึ้นเอง ดังนั้นผู้ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อ ขอให้ติดต่อเพื่อขออนุญาตจากทางอ้ายจงก่อน แต่ถ้าแชร์ทางFacebook สามารถกดแชร์ได้เลยฮะ

5.คนจีนมีการค้นหาคำว่า 阿瑜陀耶 อยุธยา/กรุงศรีอยุธยา ใน Baidu ประมาณ 510 ครั้งต่อวัน โดยเป็นลักษณะของคำค้นหาม้ามืด(มีการค้นหามากขึ้นแบบม้ามืด ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา) ค้นหามากในตอนกลางคืน และวันหยุดเสาร์อาทิตย์

6. จากข้อ 5 คนจีนยังค้นหาคำว่า 阿瑜陀耶王朝 ราชวงศ์สมัยอยุธยา ประมาณ 200 ครั้งต่อวัน

7. คำค้นหาอื่นๆที่หมายถึง อยุธยา เช่น 阿育他耶 , 阿育陀耶 มีการค้นหาที่น้อยมากไม่ถึง 10 ครั้งต่อวัน ขณะที่ 大城府 – จังหวัดอยุธยา มีการค้นหาประมาณ 60 ครั้งต่อวัน ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา 大城府 – จังหวัดอยุธยา ยังมีสถิติการค้นหาต่อวันที่ต่ำกว่านี้

8. สรุปแล้ว บุพเพสันนิวาส มีผลต่อการรับรู้เรื่องราว อยุธยา ของคนจีน ที่เพิ่มมากขึ้น แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นทำให้ อยุธยา กลายเป็น ฟีเวอร์ เท่าตอนกระแสหนังจีน Lost in Thailand ที่ทำให้เชียงใหม่กลายเป็นฟีเวอร์ จุดมุ่งหมายยอดฮิตของคนจีนจนถึงทุกวันนี้ แต่บอกเลยว่ามีแนวโน้มที่ดี ถ้าการท่องเที่ยวไทยมีการประชาสัมพันธ์ที่เจาะนักท่องเที่ยวจีนมากขึ้น จำนวนนักท่่องเที่ยวจีนที่มาอยุธยา รวมถึงเมืองเก่าอื่นๆของไทย จะมากขึ้นแน่นอน โดยตอนนี้ก็มีหลายสื่อในจีนที่นำเสนอข่าวว่า คนไทยเที่ยวอยุธยามากขึ้นตามกระแสออเจ้า รวมถึงข่าวหน่วยงานรัฐและเอกชนของไทยร่วมสนับสนุนท่องเที่ยวอยุธยา

ล่าสุด อ้ายจงเห็นหน่วยงานรัฐของไทยในจีน อย่างการท่องเที่ยวไทยสาขาเซี่ยงไฮ้ มีโพสต์เชิญชวนเที่ยวอยุธยา ตามกระแสละครบุพเพสันนิวาส ใน Weibo ถือเป็นเรื่องที่ดีมากเลย

9. ในโลกโซเชียลจีนตอนนี้ เพจที่นำเสนอเกี่ยวกับบันเทิงและละครไทย เริ่มมีพูดถึง ละครหนึ่งด้าวฟ้าเดียว (นำแสดงโดย เจมส์จิ และ แต้ว)ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ กรุงศรีอยุธยาเช่นกัน ซึ่งได้รับการตอบรับพอควร มีแนวโน้มว่าอาจจะปังในโซเชียลจีน เหมือน บุพเพสันนิวาส ก็เป็นได้ ถ้าปังขึ้นมา อยุธยาก็น่าจะถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่องยาวๆ

โพสต์นี้เป็นโพสต์ที่เพจอ้ายจงเขียนขึ้นเอง ดังนั้นผู้ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อ ขอให้ติดต่อเพื่อขออนุญาตจากทางอ้ายจงก่อน แต่ถ้าแชร์ทางFacebook สามารถกดแชร์ได้เลยฮะ

#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #กระแสไทยในจีน #บุพเพสันนิวาส #อยุธยา





ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
แฟนเพจอ้ายจง

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]