นักวิทย์จีน ‘โคลนนิงหมู’ ลดความเสี่ยงจากไข้หวัดหมูแอฟริกัน | XinhuaThai

(แฟ้มภาพซินหัว : หมูในฟาร์มหมูแห่งหนึ่ง ในอำเภอเน่ยเซียง มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน วันที่ 27 พ.ย. 2019)

หนานจิง, 2 เม.ย. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์จากเมืองไท่ชาง มณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีน ประสบความสำเร็จในการทดลองโคลนเซลล์ร่างกาย (somatic cell) ของหมูสายพันธุ์ท้องถิ่นของจีน ซึ่งมีขนสีดำและเท้าสีขาว โดยได้ให้กำเนิดลูกหมูจากการโคลนนิงจำนวน 5 ตัว ถือเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของโรคไข้หวัดหมูแอฟริกันที่มีต่อการเพาะเลี้ยงสุกร

กงอวี้ชิง นักวิจัยกล่าวว่าหากฟาร์มเพาะเลี้ยงหมูเสี่ยงเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดหมูแอฟริกัน การแพร่ระบาดนั้นจะก่อความเสี่ยงต่อพันธุกรรมของหมู เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงทางชีวภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้เพื่อเสริมสร้างการป้องกันความเสี่ยงนี้

อนึ่ง โรคไข้หวัดหมูแอฟริกันเป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นกับหมูเท่านั้น และยังไม่เคยพบว่ามีการติดต่อสู่มนุษย์หรือสัตว์สายพันธุ์อื่น

จีนรายงานพบหมูติดเชื้อโรคไข้หวัดหมูแอฟริกันตัวแรกในเดือนสิงหาคม 2018 ในมณฑลเหลียวหนิงทางตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นโรคไข้หวัดหมูแอฟริกันจึงแพร่ระบาดไปยังมณฑลอื่น

กงกล่าวว่าทีมนักวิทยาศาสตร์เก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อหูของหมูท้องถิ่น 6 สายพันธุ์ และรักษาสภาพเซลล์ร่างกายจำนวน 1,217 หลอดด้วยความเย็น ตั้งแต่ปีที่แล้ว

อู๋เซิ่นหลง สมาชิกทีมวิจัย กล่าวว่าการใช้เซลล์ร่างกายเพื่อโคลนหมูนั้นสามารถให้กำเนิดหมูที่มีพันธุกรรมที่สมบูรณ์ครบถ้วน และเทคโนโลยีโคลนนิงเช่นนี้สามารถให้กำเนิดหมูสายพันธุ์ท้องถิ่นที่มีสุขภาพดีได้จำนวนมาก

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :

Xinhua

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]