• คลังความรู้
  • /
  • บทความ
  • /
  • ชีวิต Ph.D. ในแดนมังกรตอนที่ 19 หยี อรชร แซ่จาง Candidate สาขา Public Administration มหาวิทยาลัย Zhejiang University – Thai Ph.D. in China

ชีวิต Ph.D. ในแดนมังกรตอนที่ 19 หยี อรชร แซ่จาง Candidate สาขา Public Administration มหาวิทยาลัย Zhejiang University – Thai Ph.D. in China

Ayee3

สวัสดีค่ะ คอลัมน์ชีวิต Ph.D. ในแดนมังกรสัปดาห์นี้ แอดมินจะขอพาไปทำความรู้จักกับประเทศจีนผ่านมุมมองของหยีนักศึกษาปริญญาเอกสาขา Public Administration ที่ Zhejiang University ที่จะมาเล่าเรื่องราวชีวิตการเรียนของเธอ และมุมมองด้านนโยบายสาธารณะ และภาพรวมกว้างๆของสังคมจีนที่จะทำให้เราเห็นสังคมจีนในอีกมุมหนึ่ง มาทำความรู้จักกับเธอไปพร้อมๆกับบทสัมภาษณ์นี้กันเลยค่ะ

 

Admin: สวัสดีค่ะหยี

หยี: สวัสดีค่ะจี

Admin: แนะนำตัวด้วยค่ะ

หยี: ค่ะ ชื่อ อรชร แซ่จางค่ะ ตอนนี้เรียนปริญญาเอกสาขา Public Administration อยู่ที่ Zhejiang Universityค่ะ

Admin: จุดสนใจที่ทำให้มาเรียนด้านนี้?

หยี: ตอนป.ตรีเรียนมนุษย์อิ้งที่มช.ค่ะ ส่วนภาษาจีนนี่คือได้มาจากที่บ้าน พอจบตรีก็ไปทำงานหลายที่ ตอนนั้นได้ทำงานที่ Huawei ก็เป็นก้าวแรกที่เราได้รู้จักกับคนจีน ซึ่งเราอยู่ไทยก็ต้องประสานกับ HQ หรือติดต่อกับจีนมากขึ้น ก็เห็นว่าคนจีนนี่มีการพัฒนาตัวเองอยู่นะ ก็ทำมา 3 ปีเราก็รู้สึกว่าเราเรียนภาษามา ระบบความคิดหรือ Logic อะไรในหัวเราหลายๆอย่างอาจจะยังไม่มาก ก็เลยรู้สึกอยากพัฒนาตัวเอง ตอนนั้นคิดว่าถ้าเรียนต่อในสายภาษาอาจจะไม่ได้มีความแตกต่างอะไรมาก ก็เลยหาทุนมาเรียนต่อ ที่จริงตอนป.โททีแรกสมัครด้าน International Business ไปค่ะ แล้วอาจารย์ที่ม.นี้ก็แนะนำสาขานี้มาค่ะ ก็เลยสนใจลองสมัครดู ตอนป.โทหยีได้ทุน Asian Future Leader 亚洲未来领袖 ค่ะ ได้รับการสนับสนุนจากฮ่องกง

Admin: ค่ะ แล้วหลังจากเรียนแล้วเป็นยังไงบ้างคะ

หยี: ก็รู้สึกว่าได้เปิดโลกกว้างขึ้น ได้เห็นว่าจีนเป็นประเทศที่มีอะไรซับซ้อน และก็อยู่ในกลุ่มกำลังพัฒนา ดังนั้นเราจึงควรที่จะรู้จักกับจีนให้มากขึ้น ให้มันมีความรู้ในหลายๆด้าน แล้วพอเราจบโทก็ยังรู้สึกว่า ตัวเรายังรู้อะไรไม่เยอะ เลยคิดว่าต้องต่อเอกอีกใบค่ะ

Admin: แสดงว่าอันนี้ก็ต่อเนื่องจากปริญญาโทเลย?

หยี: ใช่ค่ะ?

Admin: แล้วตอนป.โทหยีทำเกี่ยวกับเรื่องอะไรคะ?

หยี: ทำเกี่ยวกับเรื่อง Social Capital กับ Political Attitude ค่ะ

Admin: ค่ะ กลับมาที่ป.เอกอีกรอบหนึ่ง อันนี้มีเรียนกี่หน่วยกิตคะ?

หยี: 12 หน่วยค่ะ แต่ว่าถ้าข้ามสายมาต้องเพิ่มอีก 8 หน่วย แต่ถ้ามาสายตรงแบบนี้เลยก็ไม่ต้อง เพราะว่าในสาย Public Ad นี้ก็ยังมีอะไรอย่างอื่นให้เรียนอีกเช่นพวก IR หรือ Social Studyหรืออื่นๆค่ะ

Ayee

Admin: เล่าถึงสาขา Public Ad ของ ZJU?

หยี: Public Ad ของที่ ZJU นี้ถือว่าดีเลยนะ ตั้งมาได้ประมาณ 10 ปีแล้ว ระยะหลังนี้ก็เปิดรับนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น แนวการสอนที่นี่ก็อิงตามแบบตะวันตกนะคะ แต่ในตัวหลักสูตรอาจจะยังไม่ค่อยอินเตอร์เท่าไหร่ คือยังไงก็ต้องรู้ภาษาจีน แต่ในส่วนของอาจารย์ที่นี่ก็มีความหลากหลายอยู่พอสมควรค่ะ อย่างอาจารย์บางท่านที่จบมาจากอเมริกาท่านก็จะเปิดกว้างหน่อย เวลาเรียนก็จะมีวิจารณ์พวกเหตุการณ์อย่าง 1989 หรือเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม แต่อาจารย์บางท่านที่จบในจีนก็อาจจะไม่ค่อยพูดถึงเรื่องนี้ เป็นพูดในมุมกว้างๆแทนค่ะ แล้วในสายนี้อาจารย์ในสายนี้จะเชี่ยวชาญเรื่อง Local Government มาก การเรียนการวิจารณ์นโยบายพวกนี้จะเยอะ อะไรได้ อะไรไม่ได้ อะไรจริงจัง อะไรไม่ชัดเจน คืออาจารย์จะสอนให้เรารู้จักคิดวิเคราะห์ และทำให้เราเห็นภาพเหล่านี้มากขึ้น แต่ในส่วนของพรรคหรือส่วนกลางนี้เขาจะไม่แตะเท่าไหร่

Admin: ขอถามนอกรอบหน่อยนึง จีนเขาวิจารณ์รัฐได้ด้วยหรอคะ?

หยี: ได้ค่ะ ถ้าเป็นท้องถิ่นไม่เกี่ยวกับรัฐบาลกลางนี้ทำได้

Admin: การแสดงออกในการวิจารณ์ เขาลงหนังสือพิมพ์หรือออกสื่อได้ด้วยหรอ?

หยี: ได้ค่ะ อันนี้สามารถแสดงออกได้ Public Ad เป็นเรื่องที่จับต้องได้ อย่างพวก Innovation หรือ Public Bus เราก็จะเอามาเป็นกรณีศึกษาดูว่ามันใช้ได้จริงไหม มันเกิดประโยชน์อะไรอย่างไร ซึ่งเวลาเรียนเราก็มีไปลงพื้นที่ด้วยค่ะ ก็จะได้เห็นของจริง จากเรื่องจริง อย่างที่ ZJU นี้ก็จะเด่นเรื่อง Local Government ซึ่งอันนี้ก็อาจจะแตกต่างจากที่อื่นๆด้วย

Admin: Scope งานวิจัย Public Ad ของที่ ZJU นี้ครอบคลุมทั่วประเทศไหมคะ?

หยี: พื้นศึกษาวิจัยจะเน้นที่ฝั่ง East มากกว่าค่ะ ซึ่งถ้ามองว่าเป็นข้อจำกัดก็มองได้เหมือนกัน แต่หยีคิดว่าส่วนหนึ่งคือน่าจะเป็นเพราะลักษณะ Political Thinking, Economic แล้วก็ Culture ของแต่ละเมืองมันไม่เหมือนกัน อย่างเราจะเอาข้อสรุปจากนโยบายหรือปัญหาของที่ Zhejiang ไปใช้กับ Guangdong หรือที่เมืองอื่นก็อาจจะไม่ได้ มันไม่สามารถ Apply to all ได้เพราะด้วยปัจจัยความแตกต่างที่กล่าวไป แล้วก็ยังมีความแตกต่างเรื่องของภาษาถิ่นด้วย เวลาเราลงพื้นที่ถ้าไปต่างถิ่นไปเมืองอื่นๆ ผู้ให้ข้อมูลก็จะใช้ภาษาถิ่นที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ถือเป็นข้อจำกัดในการวิจัยด้วยเช่นกัน แต่อันที่จริงเวลาเราศึกษาวิจัยเราก็สามารถอ่านข้อมูลจากพื้นที่อื่นๆประกอบ เพื่อศึกษาดูเป็นกรณีได้ค่ะ

Admin: แล้วแบบนี้ที่เราศึกษามา ไทยกับจีนเองก็เปรียบเทียบกันได้ไหมคะ?

หยี: ในส่วนของ Public Ad นะเราคิดว่าไม่ได้ ไม่น่าจะได้เลย เพราะตั้งแต่โครงสร้างลงมาเลยมันก็ไม่เหมือนกันค่ะ ส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น การอนุมัติงบประมาณ การจัดเก็บภาษี มันก็ไม่เหมือนกัน ยิ่งถ้าเทียบกับขนาดพื้นที่ Local Government เขาอาจเทียบกับประเทศเราทั้งประเทศ แต่ถ้าเป็นในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน (政商关系)หรือรัฐกับสังคม(政社关系)ตัวนี้น่าจะศึกษาเทียบเคียงได้

Admin: จริงเนอะ มณฑลเดียวนี่ก็มีประชากรเข้าไปกี่พันล้านแล้ว?

หยี: ใช่ค่ะ แต่อันที่จริงเราคิดว่าเรื่องการท่องเที่ยวนี่ จีนน่าจะมาเรียนรู้จากเราไปบ้างนะ เรื่อง management หรือการจัดการ การฝึกคนอะไรแบบนี้

Admin: ใช่ค่ะ

หยี: แต่ถ้าเป็นเรื่องธุรกิจ เรื่องเงินนี่คิดว่าไทยควรจะศึกษาจีนให้มากขึ้น

Admin: จริงค่ะ

Ayee2

หยี: ใช่ แล้วปีหลังๆมานี้จีนเองก็ให้ความสำคัญกับภาคสังคมมากขึ้น จะเห็นได้จากการประชุมพรรคใหญ่ช่วงหลังที่ผ่านมาที่เขาจะเริ่มมีการพูดถึงการจัดการสังคมมากขึ้น ถ้าเราสังเกตให้ดีก็จะเห็นว่าจีนเป็นประเทศที่กล้าคิดกล้าทดลอง เขาจะทดลองทำอะไรไปเรื่อยๆ เช่นการเปิดทดลองเขตเศรษฐกิจพิเศษในหลายๆพื้นที่ ก็เป็นการทดลองอย่างหนึ่ง แล้วที่สำคัญคือจีนเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการทำวิจัย จะเห็นได้ว่าเขาให้งบประมาณและให้ความสำคัญกับการทำ research ค่อนข้างมาก ซึ่งมันก็ได้วนกลับมาพัฒนาประเทศเขา เขาจะมีการทบทวนข้อมูลเสมอ จีนเก่งด้านเศรษฐกิจมากเกินไปจนด้านสังคมมันตามไม่ทัน พอตอนนี้ก็เลยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางสังคม อย่างเรื่อง Pollution ที่จีนตระหนักและให้ความสำคัญในเราอาจจะเห็นว่าเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่จริงๆมันก็สอดคล้องและเป็นผลโดยตรงกับสังคม

Admin: จริงค่ะ อย่างตอนนี้จีนให้ความสำคัญกับภาคสังคมมากขึ้น แต่ในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลภาครัฐของประชาชนนี้ถือว่าทั่วถึงไหม?

หยี: อันนี้ถ้าว่ากันตามตรง ข้อมูลบางส่วนก็เข้าถึงได้ยากหรือไม่ได้เลยจริงๆนะ

Admin: แล้วความรู้สึกของภาคประชาชนที่มีต่อรัฐ?

หยี: คนจีนให้ความสำคัญและเคารพพรรคหรือส่วนกลางมากนะ ถ้าถามเขาเขาก็จะเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาลมากเลย

Admin: แสดงว่าภาพที่คนนอกมองเข้ามาอาจจะเห็นว่าจีนมีอะไรหลายอย่างที่อาจจะไม่ดี อาจจะไม่ชัดเจน ดูแล้วยังเป็นปัญหา แต่ถ้ามองจากคนภายในประเทศที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายนี้ ประชาชนเขาค่อนข้างพอใจและเชื่อมั่นในการดำเนินงานของรัฐพอสมควร

หยี: ใช่ค่ะ คือคนภายนอกอาจจะยังติดภาพว่าจีนเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นเผด็จการ คือต้องบอกว่านั่นมันเมื่อนานมาแล้ว แต่ปัจจุบันจีนเปิดกว้างมากกว่านั้นแล้ว อย่างจีนเขากล้าที่จะไปศึกษาชาติอื่น ไปศึกษาเรื่องนั้นทั้งระบบเลย แล้วก็ดูว่าอันไหนใช้ได้อันไหนใช้ไม่ได้ แล้วก็จะนำมาปรับใช้กับการพัฒนาของเขาเองค่ะ

Admin: ค่ะ แล้วกิจกรรมยามว่างนี้ หยีทำอะไร?

หยี: Taobao ค่ะ

Admin: 555555

หยี:  ยิ่งได้ภาษาจีนด้วยยิ่งสนุกใหญ่เลยค่ะ

Admin: จริงค่ะ นี่ก็ถือเป็นการสังเกตและสำรวจตลาดอย่างหนึ่งด้วย

หยี: 555 ใช่ค่ะ

Admin: วันนี้ขอบคุณหยีมากๆเลยค่ะ ที่สละเวลามาให้สัมภาษณ์กับเรา

หยี: ยินดีค่ะ

Ayee4

จบไปแล้วกับบทสัมภาษณ์ในสัปดาห์นี้นะคะ สัปดาห์หน้าเราจะพาไปพบกับ Candidate คนไหน ติดตามเรื่องราวของพวกเขาเหล่านั้นได้ที่นี่ วันนี้สวัสดีค่ะ

 

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย: Admin G 走遍江湖 ผู้ท่องไปในยุทธภพ

ขอบคุณที่มาของข้อมูล :
Thai Ph.D. in China

อัพเดทล่าสุด

Facebook

ติดตามเราบน Facebook

Youtube

ติดตามเราบน Youtube

ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เลขที่ 21 ถนนกวงหวา เขตฉาวหยาง กรุงปักกิ่ง 100600 สาธารณรัฐประชาชนจีน อีเมล : [email protected]

© 2020-2024 Science and Technology Section, Royal Thai Embassy in Beijing Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 21 Guanghua Road, Chaoyang District, Beijing 100600 P.R.C. E-mail: [email protected]