การขนส่งทางรถไฟในเมืองจีน หรือ รถไฟใต้ดิน (China’s Urban Rail Transit) หมายถึง ระบบขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในเมืองที่ใช้การดำเนินการตามเส้นทางพิเศษภายในอาณาเขตของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงระบบรถไฟใต้ดิน ระบบรางเบา ระบบรางเดี่ยว รถรางสมัยใหม่ ระบบรถไฟระบบพื้นผิวแม่เหล็ก หรือ Maglev ระบบรางอัตโนมัติ และระบบรางด่วนในเมือง

ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 มีจำนวน 51 เมืองในจีน เปิดระบบขนส่งทางรถไฟในเขตเมือง ประกอบด้วย 45 เมืองในจีนแผ่นดินใหญ่ และ 6 เมือง ในฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน

ข้อมูล ณ สิ้นปี ค.ศ. 2019 ความยาวรวมของเส้นทางรถไฟในเมืองที่เปิดในจีนแผ่นดินใหญ่ คือ 6730.27 กิโลเมตร


ประวัติการพัฒนา

เดือนกันยายน ค.ศ. 1953 ในรายงาน “ประเด็นสำคัญของโครงร่างแผนฟื้นฟูและการขยายตัวของปักกิ่ง” ระบุไว้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกว่า เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในเมืองมีวิธีการเดินทางที่สะดวกและประหยัดที่สุด และเพื่อตอบสนองความต้องการของการป้องกันประเทศ การก่อสร้างรถไฟใต้ดินจะต้องมีการวางแผนโดยเร็วที่สุด

พิธีวางศิลาฤกษ์รถไฟใต้ดินปักกิ่ง ซื่อซีจื้อ / ผู้ก่อตั้งรถไฟใต้ดินปักกิ่ง

1 กรกฎาคม ค.ศ. 1965 โครงการในช่วงแรกของรถไฟใต้ดินสายปักกิ่งได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ และได้รับการออกแบบตามนโยบาย “เน้นความพร้อมต่อการสู้รบและคำนึงถึงการจราจร”

1 ตุลาคม ค.ศ. 1969 รถไฟใต้ดินปักกิ่งสร้างเสร็จและเปิดใช้งาน ทำให้กรุงปักกิ่งก็กลายเป็นเมืองแรกในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีรถไฟใต้ดิน

มกราคม ค.ศ. 1976 มีการดำเนินการทดลองส่วนจากถนนซินฮัว ไปยัง ไห่กวนซื่อในเมืองเทียนจิน โดยในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟใต้ดินเทียนจินสาย 1

28 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 รถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้สาย 1 (สวนสาธารณะจินเจียงถึงซูเจียหุย) ได้สร้างเสร็จและเปิดใช้งาน

28 มิถุนายน ค.ศ. 1997 มีการเปิดให้บริการของรถไฟใต้ดินกวางโจวสาย 1 (ซีหลงไปหวงซา)

30 ตุลาคม ค.ศ. 2002 โครงการในระยะแรกของการคมนาคมขนส่งทางรถไฟใต้ดินสาย 3 ของเมืองฉางชุน (สถานีฉางชุนไปยังถนนเว่ยกวง) และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

4 มกราคม ค.ศ. 2003 รถไฟ maglev ขบวนแรกของโลกที่ร่วมกันพัฒนาโดยจีนและเยอรมนี ดำเนินการสาธิตรถไฟ maglev ที่เซี่ยงไฮ้ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ

รถไฟรางเดี่ยวเมืองฉงซิ่ง

มิถุนายน ค.ศ. 2005 รถไฟรางเดี่ยวเมืองฉงซิ่ง สาย 2 (จากสถานีเจียวซื่อถึงสถานีสวนสัตร์) ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

6 ธันวาคม ค.ศ. 2006 เปิดให้บริการรถรางในเขตใหม่ของเมืองเทียนจินบิ่นไฮ่

8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เปิดให้บริการรถไฟใต้ดินของเมืองกวางโจว ประเภทรถไฟไร้คนขับ หรือ APM (Automated People Mover)

26 ตุลาคม ค.ศ. 2014 เปิดให้บริการรถรางไฮเทคสาย 1 ของเมืองซูโจว

6 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 เปิดทดลองใช้งานรถไฟแม็กเลฟ เอ็กซ์เพรส ของเมืองฉางซา (Changsha Maglev Express)

30 ธันวาคม ค.ศ. 2017 เปิดให้บริการรถไฟใต้ดินสายหยานฟางของเมืองปักกิ่ง

23 มกราคม ค.ศ. 2019 เปิดให้บริการ รถไฟใต้ดินสาย S1ของเมืองเวิ่นโจว (Wenzhou Rail Transit Line S1)

30 ธันวาคม ค.ศ. 2019 เปิดให้บริการรถรางพลังงานไฮโดรเจน


ขั้นตอนการก่อสร้าง

กันยายน ค.ศ. 2003 สำนักงานสภาแห่งรัฐได้ออก “ประกาศสำนักงานทั่วไปของสภาแห่งรัฐว่าด้วยการเสริมสร้างการจัดการการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงในเมือง”

มกราคม ค.ศ. 2015 “ประกาศของคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติว่าด้วยการเสริมสร้างการจัดการการวางแผนและการก่อสร้างระบบรางขนส่งในเมือง” ที่ออกโดยคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ออกข้อกำหนดใหม่ สำหรับการวางแผนการก่อสร้างเมืองที่จัดตั้งขึ้น

เริ่มตั้งแต่มิถุนายน ค.ศ. 2018 ระบบขนส่งทางรถไฟในเมือง ยกเว้นรถราง จะรวมอยู่ในแผนการก่อสร้างระบบขนส่งทางรถไฟในเขตเมือง และต้องอยู่ภายใต้ขั้นตอนการอนุมัติ และกำหนดให้รถไฟใต้ดินส่วนใหญ่ให้บริการใจกลางเมืองและพื้นที่สำคัญ


อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก

1) ประเภทรถไฟ
การขนส่งทางรถไฟในเขตเมืองของจีนส่วนใหญ่ประกอบด้วย รถไฟใต้ดิน (ประเภท A, As, B, C และLB)รถไฟรางเบา (ประเภท C และ LC) รางเดี่ยว (รางเดี่ยวแบบคร่อมรางและรางเดี่ยวแบบแขวนลอย) รถรางสมัยใหม่ (ประเภทรางเดี่ยวหรือบานพับ และล้อราง) รถไฟระบบพื้นผิวแม่เหล็ก หรือ Maglev (ประเภทความเร็วปานกลางและความเร็วต่ำ และประเภทความเร็วสูง) ระบบรางอัตโนมัติและระบบรางด่วนในเมือง (รถไฟใต้ดินหรือยานพาหนะพิเศษ ส่วนใหญ่เป็นประเภท D)

ยานพาหนะประเภท D (สายเวิ่นโจว S1) / รถรางพลังงานไฮโดรเจน / รถรางนำทางอัตโนมัติ (สายเซี่ยงไฮ้ ฝู่เจียง)

2) สถานีขนส่งรถไฟในเมือง
บนเส้นทางขนส่งทางรถไฟในเขตเมือง สิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร และสถานที่ที่จัดการการดำเนินงานและให้บริการแก่ผู้โดยสาร ซึ่งอาจรวมถึง : สถานีต้นทาง (สถานีเริ่มต้น สำหรับรถไฟขนส่งทางรถไฟในเมือง) สถานีกลาง (สถานีที่รถไฟขนส่งมวลชนในเมืองวิ่งผ่าน) สถานีขนส่ง (ทางแยกของเส้นทางขนส่งทางรถไฟในเมือง ซึ่งสามารถโอนจากสายหนึ่งไปยังสถานีอื่นด้วยฟังก์ชั่นของสาย) และสถานีปลายทาง (สถานีสุดท้ายของรถไฟขนส่งทางรถไฟในเมือง)

นีรถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้ สถานีซวี่เจียฮุ้ย

3) โรงจอดรถ
โรงจอดรถไฟ โดยทั่วไปมีการติดตั้งเส้นเข้าและออก (ลาน) เส้นจอดรถ เส้นทดสอบ ทางแยกหรือทางเชื่อมอู่ล้างรถ สถานบำรุงรักษา สำนักงานและที่อยู่อาศัย

ที่จอดรถรถไฟฟ้าใต้ดินกวางโจว

4) บัตรโดยสาร
ค่าโดยสารของระบบขนส่งทางรถไฟในเขตเมืองของจีน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยระบบขนส่งบัตรโดยสารใบเดียว สำหรับแต่ละสาย (บัตรโดยสาร หนึ่งใบ สำหรับสายเดียว และซื้อบัตรโดยสาร ซ้ำ เพื่อเปลี่ยนสายไปสายอื่น) การแบ่งส่วนระยะทาง (กำหนดราคาเริ่มต้นและไมล์สะสม โดยผ่านการอัพเกรดไมล์ เพื่อเพิ่มราคา) และส่วนการกำหนดราคา (กำหนดค่าโดยสารตามระยะทาง พื้นที่ในแต่ละส่วนของสถานี)
ประเภทบัตรโดยสาร ประกอบด้วย บัตรโดยสารเที่ยวเดียว บัตรโดยสารมูลค่าสะสม บัตรโดยสารที่ระลึก บัตรโดยสาร ตามตาราง และบัตรโดยสาร สัญญาใช้เงิน (บัตรโดยสาร วันเดียว บัตรโดยสาร รายเดือน บัตรโดยสาร รายปี ฯลฯ) โดยทั่วไป ผู้โดยสารสามารถอยู่ในพื้นที่ชำระเงินได้นานถึง 180 นาที ในการเดินทางรถไฟใต้ดินครั้งเดียว

5) สถานที่จำหน่ายบัตรโดยสาร

การออกบัตรโดยสารอัตโนมัติ / การออกบัตรโดยสารโดยเจ้าหน้าที่

ข้อมูลการดำเนินงาน

ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 ระบบขนส่งทางรถไฟในเขตเมือง มีในทั้งหมด 47 เมืองในจีนแผ่นดินใหญ่ และ 6 เมืองในฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน

ข้อมูล ณ สิ้นปี ค.ศ. 2019 ในจีนแผ่นดินใหญ่ มีสถานีขนส่งทางรถไฟในเขตเมืองทั้งหมด 3,982 แห่ง (แต่ละสถานีในเครือข่ายจะถูกนับเพียงครั้งเดียว และไม่นับสถานีขนส่งซ้ำ 2 ครั้ง) โดย 354 แห่ง ที่มีการถ่ายโอนสถานี มี 28 เมืองที่มีสถานีถูกเปลี่ยนเส้นทาง จากสถิติมีการเปิดให้บริการคลังเก็บสินค้าและที่จอดรถทั้งหมด 317 แห่ง

ข้อมูล ณ สิ้นปี ค.ศ. 2019 มีการเปิดเส้นทางเดินรถไฟในเมือง 208 เส้นทางในจีนแผ่นดินใหญ่ โดยมีความยาวรวม 6670.27 กิโลเมตร รวมถึงรถไฟใต้ดิน 5187.02 กิโลเมตร รถไฟฟ้ารางเบา 255.40 กิโลเมตร รถไฟรางเดี่ยว 98.50 กิโลเมตร รถไฟด่วนในเมือง 715.61 กิโลเมตร และรถรางสมัยใหม่ 405.64 กิโลเมตร การขนส่งรถไฟระบบพื้นผิวแม่เหล็ก 57.90 กิโลเมตร รถไฟฟ้า APM 10.20 กิโลเมตร ตามวิธีการวางสาย โดยแบ่งออกเป็นสายรถไฟใต้ดิน 4366.5 กิโลเมตร สายรถไฟบนพื้นดิน(Ground line) 920.3 กิโลเมตร และสายรถไฟระบบจ่ายไฟเหนือหัว (Overhead Catenary System) 1449.4 กิโลเมตร

สถิติประจำปี

ที่มา วารสารวิทย์ไมตรีไทย-จีน ฉบับเดือนสิงหาคม 2564 “รถไฟความเร็วสูงจีน (China Railway High-speed: CRH)”